ผู้ประกาศข่าวชายของ Thai PBS กล่าวว่า “ข้อเท็จจริงคือสหภาพยุโรปคว่ำบาตรการซื้อขายอาวุธกับจีนมานานแล้ว ตั้งแต่เหตุการณ์ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อปี พ.ศ.2532 (34 ปีมาแล้ว)
- บังเอิญผมโพสต์เอาไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่แล้ว จะขอนำกลับมาเป็นข้อมูลให้น้องๆ และประชาชน
มีสื่อเสนอข่าวว่า สหภาพยุโรป(อียู) ห้ามส่งออกสินค้ายุทโธปกรณ์ให้กับจีนตั้งแต่ปี 1989 (พ.ศ.2532) แต่ความจริงตามที่หัวหน้าสำนักข่าว The Wall Street Journal ประจำภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รายงาน ก็คือ เยอรมันขายเครื่อง MTU ให้กับจีน (China Defense Industry) มาตลอดนับตั้งแต่ปี 1989 (พ.ศ.2532)
- ทำไมไทยไม่รู้และยังไปสั่งต่อเรือดำน้ำเครื่องยนต์เยอรมันอยู่อีก
- โดยมีข้อมูล จาก Stockholm International Peace Research Institute institute ว่า มีการใช้เครื่องยนต์ MTU ของเยอรมัน ประมาณ 56 เครื่อง ในเรือดำน้ำรุ่นซ่งของจีน และ มีเครื่องยนต์ของเยอรมันอย่างน้อย 26 เครื่อง ในเรือพิฆาตของจีน
Stockholm International Peace Research Institute institute estimates that 56 MTU Diesel engines have been transferred to China since 1989 for Song-class attack submarines. The database also shows that at least 26 MTU engines were used in Chinese destroyers.
การห้ามการส่งออกเครื่องยนต์ไปยังจีน ก็ไม่ใช่การห้ามทั้งหมด หลายประเทศใน EU มีการตีความต่างกัน ทำให้การส่งออกเครื่องยนต์ไปยังจีน ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องยนต์ที่มีการใช้ ประโยชน์ทั้งด้านพลเรือนและด้านทหาร (Dual Use) ในบางครั้ง ก็สามารถส่งออกได้ ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลของเยอรมันถูกจัดอยู่ในหมวดนี้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
But the embargo has never operated as all-out ban. EU’s Nations’ differing interpretations have made rooms for certain exports to continue. Items that have both civilian and military uses, for examples, are sometimes allowed. For a time, German – made Diesel engines fell into that category, said Simeon Wezeman, a senior researcher with the arm-transfer program of the Stockholm International Peace Research Institute.
MTU เองก็บอกว่า ในอดีต บริษัทได้ขายเครื่องยนต์ให้กับเรือดำน้ำชั้นซ่งของจีนหลายลำ โดยได้รับการอนุมัติจาก ผู้มีอำนาจของประเทศเยอรมัน แต่ในตอนหลัง มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในการอนุมัติ ทางบริษัทจึงหยุดขายเครื่องยนต์ให้แก่เรือดำน้ำของจีน
MTU said last year, responding to a report by German television broadcaster ARD and newspaper Welt am Sonntag, that in the past it had delivered engines for Song-class submarines — sales it said were approved by German authorities. But since then there had been change in the regulations, the company (MTU) said in the statement it shared with The Wall Street Journal.
ทั้ง MTU และ กระทรวงต่างประเทศของเยอรมัน ไม่ตอบคำถามว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่
อ้างอิง:
รายงานข่าวของ Niharika Mandhana ซึ่งเป็น Southeast Asia Bureau Chief หัวหน้าสำนักข่าว The Wall Street Journal ประจำภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งข่าวกองทัพเรือ ยืนยันว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน ที่มีเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมัน เป็น G-to-G และทำตามขั้นตอนตามกฎหมาย เช่นเดียวกับการซื้อเรือลำอื่นๆ ที่ผ่านมา
……………………………………………………………………..
- กองทัพเรือไทย มีเรือที่ผลิตจากจีน ซึ่งใช้เครื่องยนต์เยอรมันประจำการอยู่แล้วหลายลำ ต่อเนื่องตั้งแต่หลังปี 2532 ที่ข่าวอ้างว่า เยอรมันไม่ขายอาวุธให้จีนมานานแล้ว ทำไมไทยไม่รู้และยังไปสั่งต่อเรือดำน้ำเครื่องยนต์เยอรมันอยู่อีก
เรือที่ผลิตจากจีน ซึ่งใช้เครื่องยนต์เยอรมัน ได้แก่
1) เรือหลวงเจ้าพระยา
สร้างโดย บริษัท China State Shipbuilding Corporation (CSSC) สาธารณรัฐประชาชนจีน
ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 30 V 1163 TB 83 และ MTU 6V 396 TB53 ของเยอรมัน
ขึ้นระวางประจำการ 27 เม.ย. 2534
2) เรือหลวงบางปะกง
สร้างโดย บริษัท HUDONG SHIPYARD สาธารณรัฐประชาชนจีน
ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 30 V 1163 TB 83 และ MTU 6V 396 TB53 ของเยอรมัน
วางกระดูกงูปี 2532 ลงน้ำปี 2533 ขึ้นระวางประจำการปี 2534
3) เรือหลวงกระบุรี
สร้างโดย บริษัท HUDONG SHIPYARD สาธารณรัฐประชาชนจีน
ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 30 V 1163 TB 83 และ MTU 6V 396 TB53 ของเยอรมัน
ขึ้นระวางประจำการ 16 ม.ค. 2535
4) เรือหลวงสายบุรี
สร้างโดย บริษัท HUDONG SHIPYARD สาธารณรัฐประชาชนจีน
ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 30 V 1163 TB 83 และ MTU 6V 396 TB53 ของเยอรมัน
ปล่อยเรือลงน้ำ 27 ส.ค.2534 ขึ้นระวางประจำการ 4 ส.ค.2535
5) เรือหลวงนเรศวร
สร้างโดยอู่จงหัว เมืองเซียงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 20V1163 TB83 ของเยอรมัน
วางกระดูกงูปี 2534 ปล่อยเรือลงน้ำปี 2536 ขึ้นระวางประจำการปี 2537
6) เรือหลวงตากสิน
สร้างโดย อู่จงหัว เมืองเซียงไฮ้ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 20V1163 TB83 ของเยอรมัน
วางกระดูกงูปี 2534 ปล่อยเรือลงน้ำปี 2536 ขึ้นระวางประจำการปี 2538
……………………………………………………………..
สรุป
แม้เยอรมันจะมี embargo ห้ามการส่งออก เครื่องยนต์ให้จีนใช้ใน การทหาร และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ แต่ในทางปฏิบัติ เยอรมันอนุมัติให้มีการขายเครื่องยนต์เยอรมันให้จีน เพื่อติดตั้งในเรือรบที่จีนสร้างมาโดยตลอด และกองทัพเรือไทยก็ซื้อเรือที่ผลิตในจีน ที่ใช้เครื่องยนต์เยอรมันมาหลายลำแล้ว
ไม่ใช่ห้ามซื้อขายอาวุธกับจีนมาตั้งแต่เหตุการณ์ที่จตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อปี พ.ศ.2532 แต่ตลอด 30 กว่าปีมานี้ ไทยซื้อเรือจีนที่ใช้เครื่องยนต์เยอรมันมาหลายลำแล้ว
การที่เยอรมัน หยุดการอนุมัติการขายเครื่องยนต์ ให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของจีน โดยที่ทาง MTU และ กระทรวงต่างประเทศของเยอรมัน ไม่สามารถให้คำตอบได้ ว่าการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การอนุมัติเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จึงมีความเป็นไปได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ไทยเซ็นสัญญาซื้อเรือดำน้ำจากจีน
ผู้ประกาศข่าวชายอ่านข่าวว่า “กองทัพเรืออยากได้เรือดำน้ำมานานแล้ว” ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง แต่ที่จะเปลี่ยนเป็นเรือผิวน้ำนั้น เกิดขึ้นหลังจากเราได้รัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ จากรัฐบาลใหม่ ที่พรรคการเมืองแกนนำรัฐบาลนั้นอาจจะมีนโยบายที่ต่างออกไป
จากข่าวที่เสนอไปทำให้มีผู้ชมทางบ้านแสดงความคิดเห็นลงไปแบบ real-time ปรากฎอยู่ที่หน้าโซเซียลมีเดียมากมาย โดยมีตัวอย่างหนึ่งเป็นข้อความระบุว่า “ทหารทุจริตเห็นๆ สุทินยังออกหน้าแก้ต่างให้พวกมันอีก“
……………………………………………………………..
อัษฎางค์ ยมนาค