1. กลัวว่าเครื่องยนต์ไม่ได้คุณภาพ ?
ประเด็นนี้น่าจะตัดออกไปได้แล้ว เพราะอดีตผบ.ทร.พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ลงนามเห็นชอบเครื่องยนต์ที่ผลิตในจีนไปแล้ว เนื่องจากได้ผ่านการทดสอบเรื่องสมรรถภาพและความปลอดภัยแล้ว แปลว่าปัญหาเครื่องยนต์จีนนั้นไม่เป็นปัญหาแล้ว
เครื่องยนต์ CHD620 ผ่านการทดสอบ
2. กลัวว่าไทยเป็นประเทศแรกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลชาร์จแบตเตอรี่นี้
ประเด็นนี้ไม่เป็นความจริง เพราะปากีสถานก็จะใช้เครื่องยนต์นี้กับเรือดำน้ำ Hangor 8 ลำ ซึ่ง 4 ลำแรกคาดว่าจะส่งมอบปลายปีนี้ หรือ ปีหน้า และ มีการตัดแผ่นเหล็กสำหรับเรือดำน้ำ Hangor ลำที่ 6 แล้ว
อ้างอิง:
เรือดำน้ำ Hangor ของปากีสถาน
3. กลัวว่าถ้าเซ็นอนุมัติไป ในอนาคตตัวเองอาจถูกฟ้องร้อง เพราะจีนผิดข้อตกลง G2G และเป็นเครื่องยนต์จีน ไม่ใช่เครื่องยนต์เยอรมันตามข้อตกลง G2G
ประเด็นนี้ ต้องดูว่า
3.1 จีนผิดข้อตกลง G2G จริงหรือไม่ และผิดว่าด้วยเรื่องอะไร
3.2 ข้อตกลง G2G ระบุว่า “เครื่องยนต์ MTU ที่ผลิตในเยอรมัน“ หรือไม่ หรือ ระบุเพียงว่า “เครื่องยนต์ MTU ที่ ออกแบบโดยเยอรมัน”
มี public information ว่า เครื่องยนต์ MTU
ที่จีนใช้ในเรือดำน้ำชั้นซ่งและชั้นหยวน “ออกแบบโดยเยอรมัน” และ ”ผลิตภายใต้ license ในประเทศจีน” มานานแล้ว
อ้างอิง:
4. กลัวกระแสสังคม?
ประเด็นนี้ ไม่มีอะไรต้องกลัว เพราะกระแสสังคมเชิงลบ เกี่ยวกับเรือดำน้ำ ก็เพราะพรรคฝ่ายค้านสมัยรัฐบาลที่แล้ว สร้างวาทะกรรม ปั่นกระแส discredit รัฐบาล และ กองทัพเรือ แต่ตอนนี้ เขาเป็นรัฐบาลแล้ว ไม่มีใครมา discredit เรือดำน้ำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวอีกต่อไปแล้วครับ
จากนี้ก็แค่ให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน เดี๋ยวกระแสสังคมก็ดีขึ้นครับ คนไทยลืมง่าย
5. กลัวไม่มีเงินทอน ใช่หรือไม่?
สิ่งที่ รมต.กลาโหม ควร “กลัวมากกว่า” คือ การเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต ทั้งที่ปัญหาเครื่องยนต์ได้รับการแก้ไขแล้ว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือไม่? รมต.กลาโหม เสี่ยงจะถูกดำเนินคดีหรือไม่?
ที่สำคัญ สิ่งที่ประชาชนทุกคนต้อง “กลัวมากกว่า” คือ
1. กลัวว่ากองทัพจะมีแสนยานุภาพเพียงพอต่อการป้องกันทรัพยากรใต้ทะเลมูลค่านับแสนล้าน และพื้นที่ทับซ้อนใต้ทะเลหรือไม่ หากถูกรุกรานและถูกยึดไป ลูกหลานเราสูญเสียแหล่งอาหารและพลังงาน จะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขาอย่างไร
2. กลัวว่าเรือดำน้ำต่างชาติเพียง 2 ลำ สามารถปิดอ่าวไทย อันจะทำให้เรือสินค้าและเรือบรรทุกน้ำมันต้องหยุดการนำเข้า-ส่งออก ซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว โดยพลังงานสำรองอยู่ได้แค่ 30-40 วันเท่านั้น แล้วประเทศชาติและความเป็นอยู่ของประชาชนจะเป็นอย่างไร
3. กลัวว่าถ้ามีกรณีพิพาทกับประเทศอื่น แล้วต่างชาตินำเรือดำน้ำบุกเข้ามา เราจะเอาอะไรไปป้องกันตัวเอง?
ถ้าตั้งเรื่องจัดซื้อเรือดำน้ำใหม่ ใช้เวลาขออนุมัติงบประมาณ 1-2 ปี ร่าง TOR และเปิดให้ยื่นข้อเสนอ 1-2 ปี ใช้เวลาสร้างเรือ 4 ปี ฝึกกำลังพลให้ชำนาญ 2 ปี คือ รวม 8-10 ปี (ถ้าไม่โดนเกมส์การเมืองเล่นอีกรอบ)
การปราบเรือดำน้ำ 1 ลำ เราต้องใช้เรือฟริเกต 3-5 ลำ และ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำอีก 1 ลำ ตอนนี้ไทยมีเรือภูมิพลซึ่งเป็นเรือฟริเกตที่พร้อมรบแค่ 1 ลำ นอกนั้นอายุเกิน 30 ปี ได้เวลาปลดประจำการ
ถ้าต่อเรือฟริเกตใหม่ก็จะต้องทำ TOR 1-2 ปี และ สร้างอีก 4 ปี รวม 6 ปี
แต่เรือดำน้ำที่กำลังสร้างอยู่ ถ้าดำเนินการต่อ ตอนนี้ เราจะได้เรือดำน้ำในอีก 3 ปี
ความเห็น
1. เอาเรือดำน้ำลำแรกจากจีนมาก่อน เพราะอีกแค่อีก 3 ปี ก็ส่งมอบได้แล้ว เนื่องจากปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ไม่มีแล้ว
2. ถ้ากังวลกับเรื่องข้อตกลง G2G ควรให้สำนักงานอัยการสูงสุดช่วยตรวจสอบ ว่าจีนผิดข้อตกลงจริงหรือไม่? และที่สำคัญ สามารถเปลี่ยนจากเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกตได้โดยไม่ผิดกฎหมาย จริงหรือไม่? ซึ่งประเด็นนี้ ต้องถามทั้ง สำนักงานอัยการสูงสุด และ สำนักงานกฤษฎีกา
3. ปีหน้าตั้งงบเรือดำน้ำอีก 2 ลำ (ตามที่เคยได้รับอนุมัติ รวม 3 ลำ) เลือกประเทศอื่นที่ไม่ใช่จีน ถ้าไม่อยากได้เรือจีน อีก 8-10 ปี เราก็จะมีเรือดำน้ำ รวม 3 ลำ และ ถ้าคิดว่าการมีเรือฟริเกตพร้อมรบ 1 ลำ (เรือภูมิพล) ไม่พอ ก็ตั้งงบเพิ่มตามความเหมาะสม
ภารกิจของกองทัพเรือเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ควรมีการจัดสรรงบประมาณที่สอดคล้องกับภารกิจและผลประโยชน์ของชาติจริง ๆ ประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น USA หรือ จีน ก็ล้วนมีกองทัพเรือที่เข้มแข็งมาก ๆ ทั้งสิ้น
สิ่งที่ รมต กลาโหม “กลัว” ล้วนมีทางออก
แต่สิ่งที่ประชาชนกำลัง “กลัวกว่า” คือท่านจะหาทางออกให้ประชาชนได้อย่างไร?
อัษฎางค์ ยมนาค