”อาจารย์ศิลปะผู้เชี่ยวชาญในการสร้างภาพดำให้เป็นขาว“
สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยหยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565
ผลปรากฏว่า ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้คะแนนรวม 516 เสียง (37.53%) ซึ่งเป็นคะแนนนิยมสูงสุดที่นักศึกษา มช. เทคะแนนให้ทัศนัยได้เป็นอธิการบดี มช.
สักวัน มช.คงได้ ทัศนัย เป็นอธิการบดี
อธิการบดีที่พานักศึกษาบุกรุกหอศิลป์ แล้วอ้างว่า
“จะเป็นบันทึกสำคัญที่นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ประชาชน ร่วม กันต่อสู้เพื่อให้นักศึกษาส่งงานและจบการศึกษาได้ ในสถานที่ศึกษาและที่ทำงานของพวกเขาเอง”
ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือ….
งานแสดงศิลปนิพนธ์สำหรับนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย จะแสดงงานในภาคการศึกษาที่ 2 ก่อนจบการศึกษา
แต่ช่วงที่เขาสร้างวีรกรรมตัดโซ่บุกรุกหอศิลป์ โดยอ้างว่า เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้แสดงงานศิลปนิพนธ์ เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ซึ่งอยู่ในภาคการศึกษาที่ 1 ที่ไม่มีเรื่องศิลปนิพนธ์แต่อย่างใด
นอกจากนี้ เมื่อตุลาคม 2564 ช่วงที่บุกรุกหอศิลป์ เป็นช่วงที่โควิดยังแพร่ระบาด ทางมหาวิทยาลัยได้ประกาศให้มีการจัดการเรียนการสอนผ่านทางออนไลน์แบบ 100% เต็มรูปแบบ โดยไม่มีการเรียนการสอนและงดกิจกรรมทุกประเภท
คำพูดในทำนองที่ว่า สิ่งที่ตนเองกระทำนั้น เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่ประวัติศาสตร์ต้องบันทึกเอาไว้ว่า ”เป็นการต่อสู้เพื่อให้นักศึกษาส่งงานและจบการศึกษาได้“ คืออะไร
นักศึกษา มช.ต้องการได้อาจารย์ คนที่บิดเบือนข้อเท็จจริง ที่ทำให้ความผิดของตนกลายเป็นถูก ได้เป็นอธิการบดี อย่างนั้นจริงๆ หรือ ?
แล้วคนแบบนี้ได้เป็นผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย เขาจะสอนให้นักศึกษาเดินตามรอยเท้าของเขา ด้วยการทำเรื่องผิดให้เป็นถูกหรือไม่ คงไม่ต้องรอคำตอบ
พวกคุณต้องการแบบนี้จริงๆ ใช่มั้ย !