ในที่สุด…อัยการสั่งฟัองคดีบุกรุกหอศิลป์ มช.แล้ว
คดีบุกรุกหอศิลป์ มช.ผ่านมาหลายปี อัยการไม่เคยเรียก รศ.อัศวิณีย์ไปให้การใดๆ แต่เท่าที่ทราบ ฝ่ายทัศนัยเข้าพบอัยการหลายครั้ง และสุดท้ายอัยการมีความเห็นว่าไม่ฟ้องศาล
แต่ล่าสุด อัยการสั่งฟ้องศาลแล้ว
หลังจากทัศนัยได้รับการประกันตัว ทัศนัยได้โพสต์และให้ข้อมูลว่า “สำนักอัยการจังหวัดและสำนักอัยการภาคก็สั่งไม่ฟ้อง”
เพราะทัศนัยมีโอกาสให้การต่ออัยการอยู่ฝ่ายเดียวหรือไม่?
นอกจากนี้ทัศนัยยังกล่าวอีกว่า
“คำวิจฉัยของศาลปกครอง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็ได้ลงความเห็นไปในทางเดียวกันว่าคณะวิจิตรศิลป์ใช้อำนาจล้นเกิน”
ข้อเท็จจริงคือ
ตอนที่ทัศนัยตัดโซ่บุกรุกหอศิลป์ เมื่อ 16 ตค.64 มีคนไปยุยงให้นศ.24 คน ไปแจ้งศาลปกครองเพื่อฟ้องอธิการ คณบดีและ ผอ.หอศิลป์
แต่ศาลไม่รับเรื่องและขอจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
”ไม่ใช่ศาลปกครองเห็นด้วยกับทัศนัย อย่างที่ทัศนัยเข้าใจว่าศาลไม่รับฟ้องคดีบุกรุกหอศิลป์ แต่ศาลไม่รับฟ้องอธิการ คณบดีและ ผอ.หอศิลป์“
มีการอ้างว่าเป็นการแสดงงานศิลปนิพนธ์ ซึ่งปกติจะเป็นงานของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ที่จะแสดงงานในภาคการศึกษาที่ 2 ซึ่งเป็นภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนจบการศึกษา แต่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในภาคการศึกษาที่ 1 แล้วมีเรื่องงานแสดงศิลปนิพนธ์ได้อย่างไร
ทัศนัยอ้างว่า…
”มีนักศึกษาสาขาสื่อศิลปะใน 4 ชั้นปี จำนวนเกือบ 200 คน ที่จะต้องแสดงงานในครั้งนั้น จ่ายค่าเทอมรวมกันเป็นเงิน 6 ถึง 7 ล้านบาท เฉพาะปีการศึกษานั้นมูลค่าการลงทุนในการทำงานสำหรับนิทรรศการการนี้ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ที่นักศึกษาแต่ละคนในแต่ละวิชาจ่าย เป็นจำนวน 3-4
ล้านบาท รวมทั้งผู้ปกครองเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อที่จะเห็นความสำเร็จของ ลูกหลานของตน เป็นตัวเลขที่ประเมินค่าไม่ได้“
ข้อเท็จจริงคือ….
ข้อมูลนักศึกษา 200 คนที่ต้องร่วมแสดงงานนั้นเอามาจากไหน ?
ทั้งที่มีผลงานที่ขอมาแสดงในหอศิลป์เพียง 29 ชิ้น
เนื่องจากในช่วงเวลานั้น อยู่ในช่วงสถานกาณ์โควิด มหาวิทยาลัยทุกแห่ง รวมทั้ง มช.ก็ออกประกาศให้เรียนออนไลน์ 100% ทุกวิชา งดเข้าห้องเรียนและงดกิจกรรม แล้วทัศนัยเอาอะไรมาอ้างเรื่องการจัดกิจกรรมแสดงงานศิลปะ
มีการทำหนังสือขอใช้หอศิลป์กับ เจ้าหน้าที่หอศิลป์ในวันที่ 4 ตค.64 แต่เจ้าหน้าที่รายงานว่า “ยังไม่มีภาพผลงาน และวิธีการติดตั้งมาให้พิจารณา“
หลังจากนั้น ในวันที่ 15 ตุลาคม ประธานหลักสูตร อ.วีรพันธุ์ ก็ส่งจม.มาที่คณะ ขอให้อนุมัติให้ภายในเวลา 16.00 น. เย็นวันนั้น
ซึ่งน่าจะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ทุกอย่างต้องมีขั้นตอน และต้องใช้เวลาในการพิจารณา โดยเราทราบกันดีว่าระบบราชการมักจะใช้เวลามากกว่าปกติทั่วไปด้วยซ้ำ (ถึง มช.จะออกจากระบบแล้ว ก็ยังมีหลายอย่างที่ยังคงเป็นเหมือนระบบราชการอยู่)
(ปัจจุบัน ผศ.ดร.วีระพันธ์ ดำรงตำแหน่งเป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการและยุทธศาสตร์)
ถึงแม้ผู้จัดงานจะวางหนังสือขอใช้หอศิลป์มาแล้วขอให้อนุมัติทันทีภายในวันเดียวกันนั้น แต่ทางคณะวิจิตรศิลป์ก็ยังพยายามจะช่วยจึงขอให้ส่งภาพงานนักศึกษาที่จะแสดงมาให้ครบ เพื่อกรรมการหอศิลป์ต้องพิจารณาเรื่องการติดตั้งผลงาน ความเหมาะสมกับสถานที่และความปลอดภัย
แต่แล้ว ก็ไม่ส่งภาพงานของนักศึกษามาทั้งหมด หลายชิ้นมีแค่ตัวหนังสือไม่มีภาพผลงาน
ทางคณะจึงยังไม่ได้อนุมัติให้ใช้หอศิลป์
สรุป ว่ามั่ว
หรือหลอกตัวเองจนเชื่อก่อนจะหลอกคนอื่นให้เชื่อต่อไป หรือไม่