ยกเลิก 112 จะทำให้ไทยเป็นประชาธิปไตย จริงหรือ?
ตอนที่ 2 แค่….ใช้สิทธิ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือมีความเห็นต่างทางการเมือง กลับถูกความดำเนินคดี ม.112
รัฐธรรมนูญ หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
มาตรา ๖ บัญญัติว่า
องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า “ห้ามหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย สถาบันพระมหากษัตริย์”
ผู้ละเมิด ม.112 ไม่ใช่ผู้ต้องหาที่ใช้สิทธิ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือมีความเห็นต่างทางการเมือง
แต่พวกเขา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย สถาบันพระมหากษัตริย์”
ดังนั้น อะไรคือคำว่า “ก็แค่วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือมีความเห็นต่างทางการเมือง
ทำไมถึงโดนคดี 112”
“ไม่เข้าใจกฏหมาย หรือพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อยุยง ปลุกปั่น สร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง”
นายพิธา เคยออกมารับลูกเรียกร้อง การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ให้กับ “ผู้ต้องหาคดีการเมือง”
ผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองคือ อะไร
ผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองคือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง
A political prisoner is someone imprisoned for their political activity.
There is no internationally recognized legal definition of the concept.
The concept of a political prisoner, like many concepts in social sciences, sports numerous definitions, and is undefined in international law and human right treaties.
แม้แต่ฝรั่งก็หาคำนิยามของผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองไม่ได้ มีเพียงการอนุมานว่า ผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองคือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง
ผู้ละเมิด ม.112 ไม่ใช่ผู้ต้องหาในคดีการเมือง หรือกระทำความผิดเพราะเรื่องการเมือง
แต่เป็นคดีหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย สถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์มีรัฐธรรมนูญคุ้มครองเอาไว้ว่า
“พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดหรือกล่าวหา พระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”
แต่คนกลุ่มนี้จงใจ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น ละเมิด กล่าวหาพระมหากษัตริย์
20 ม.ค. 66 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของตะวัน-แบม ได้แก่ ปฏิรูปศาล หยุดคุกคามประชาชน และทุกพรรคการเมืองต้องเสนอนโยบาย ‘ยกเลิก 112’ ระบุว่า เรื่องของตะวันและแบม คือเรื่องของทุกคน การเรียกร้องสิทธิให้ผู้ต้องหา 112 คือการยืนยันสิทธิของคนไทยทุกคน
ธนาธร ปิยบุตร พิธาและสมาชิกพรรคก้าวไกล เสนอให้ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการแสดงออกทางการเมือง
แต่คนเหล่านั้นถูกดำเนินคดี ไม่ใช่การใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และการแสดงออกทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
แต่ใช้สิทธิเสรีภาพของตน ละเมิดกฎหมาย ด้วยการกล่าวหา วิพากษ์วิจารณ์ หมิ่นประมาท ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัฐธรรมนูญคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของชาติเอาไว้ด้วยกฎหมายมาตรา 112 และ 116
ไม่มีการคุกคามประชาชน มีแต่ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่ ธนาธรและคณะก้าวหน้า พิธาและพรรคก้าวไกล สนับสนุนอยู่นั้น คุกคามสถาบันพระมหากษัตริย์
ธนาธร ปิยบุตร พิธาและสมาชิกพรรคก้าวไกล ประกาศสนับสนุนและเรียกร้องพรรคการเมืองอื่นๆ ให้ยกเลิก ยกเลิก ม.112 และ ม.116
เท่ากับธนาธร ปิยบุตร พิธาและสมาชิกพรรคก้าวไกล สนับสนุนให้พรรคการเมืองและประชาชน เกิดความกระด้างกระเดื่อง เพื่อประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล ตามบัญญัติของ ม.116 ใช่หรือไม่
อัษฎางค์ ยมนาค