“ยกเลิก 112 จะทำให้ไทยเป็นประชาธิปไตยเต็มใบจริงหรือ”
ตอนที่ 3 : ประเทศต้นแบบประชาธิปไตย ปล่อยนักโทษการเมืองประท้วงอดอาหารได้ตายสมใจนึก
………………………………………………
ผมจะชวนให้ตามไปดู ความเท่าเทียมกัน สิทธิขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรมของอังกฤษ ประเทศต้นแบบประชาธิปไตยของโลก
นักโทษไทยขอถอนประกันและอดอาหารประท้วง เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเหมือนกัน รัฐบาลอังกฤษต้นแบบประชาธิปไตยของโลกทำอย่างไรนะหรือ
รัฐบาลอังกฤษต้นแบบเสรีประชาธิปไตย ปล่อยให้นักโทษตายสมใจในคุก
ไทยปกครองแบบประชาธิปไตยตามอังกฤษ ดังนั้นนี้คือกรณีตัวอย่าง ที่ไทยสามารถยึดหลักและปฏิบัติตามได้
ธนาธรเคยตั้งคำถามว่า “สังคมที่เราเห็นเป็นสังคมแบบไหน เราอยากเห็นสังคมที่เสมอภาคกัน ที่คนทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ถ้าเราอยากเห็นสังคมที่เป็นธรรม นี่คือเวลาที่เราต้องลุกขึ้นมา แสดงพลังของประชาชนในสังคมประชาชน”
ซึ่งคำพูดแบบนี้ถือว่า ยุยงปลุกปั่นให้ก่อม็อบเพื่อสร้างความวุ่นวายในสังคมหรือไม่ ผิดกฎหมายข้อใดบ้างหรือไม่
ข้อเรียกร้องของคนกลุ่มนี้คือ
“ต้องยกเลิกมาตรา 112 และ 116”
คำถามของผมและสังคมไทยคือ
ถอนประกันและอดอาหารประท้วงให้ยกเลิก 112
“ยกเลิก 112 จะทำให้ไทยเป็นประชาธิปไตยเต็มใบจริงหรือ”
ธนาธร ยกประเด็นเรื่องความเท่าเทียมกัน สิทธิขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย โดยอาศัยเด็กที่ถูกยุยงให้หลงทำผิดกฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือไม่
ตามไปดู เรื่องความเท่าเทียมกัน สิทธิขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรมของอังกฤษ ประเทศต้นแบบประชาธิปไตยของโลก
ประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักรปกครองแบบราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองแบบเดียวกับไทย เพียงแต่ไทยใช้คำในภาษาไทยว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
โรเบิร์ต เจอราร์ด ‘บ็อบบี’ แซนด์ส ซึ่งเป็นพลเมืองอังกฤษ ควรยอมรับในการปกครองแบบราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ แต่เขากลับเบนเข็มเข้าสู่ขบวนการสาธารณรัฐเมื่ออายุ 18 ปี (แนวคิดและแนวทางเหมือนขบวนการเด็กสามนิ้วของไทยหรือไม่)
ไม่นานจากนั้นเขาก็ได้เป็นสมาชิกกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Provisional Irish Republic Army: PIRA) ขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของไอร์แลนด์ฝ่ายหัวรุนแรง แยกตัวออกมาจาก IRA เดิมที่ยุติปฏิบัติการไปในปี 1969
หลังถูกจับครั้งแรกในปี 1972 จากข้อหาครอบครองอาวุธปืน 4 กระบอก และมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการ IRA บ็อบบี แซนด์ส ต้องโทษจำคุก 3 ปี ด้วย ‘สถานะพิเศษ’ (Special Category Status: SCS) ซึ่งนักโทษการเมืองได้รับการปฏิบัติเหมือนเชลยสงคราม สวมชุดพลเรือน มีกิจกรรมสันทนาการ สามารถพบปะพูดคุยกับนักโทษสถานะเดียวกันได้อย่างอิสระ
ไม่นานหลังได้รับอิสรภาพ ปี 1977 แซนด์สถูกจับอีกครั้ง ไม่ไกลจากการก่อเหตุระเบิดร้านเฟอร์นิเจอร์โดยขบวนการ IRA ความผิดตามคดีคือครอบครองอาวุธปืน ไม่ใช่วางระเบิด แต่โทษจำคุกครั้งที่ 2 ระยะเวลาของมันยาวนานถึง 14 ปี
ถูกตัดสินจำคุก 14 ปี จากคดีครอบครองอาวุธปืนเท่านั้น ยังไม่ได้ไม่ใช่วางระเบิด ยังไม่โดนคดีความมั่นคง ซึ่งคดี ม.112 ของไทยถือเป็นคดีความมั่นคง ติดคุก 3-15 ปี ต่างจาก 14 ปีคดีครอบครองอาวุธปืนหรือไม่
ย้อนไปปี 1976 รัฐบาลอังกฤษเปลี่ยนแปลงนโยบาย ยกเลิก ‘สถานะพิเศษ’ ให้กลายเป็นคดีอาชญากรรม ไม่ใช่การต่อสู้ทางการเมือง โดยพุ่งเป้าไปที่ขบวนการ IRA
ทำให้ผู้ก่อเหตุไอริชกลายเป็น ‘ผู้ก่อการร้าย’ และมีสถานะเป็น ‘อาชญากร’ ที่ก่ออาชญากรรมร้ายแรง สามารถทำการสอบสวนและควบคุมตัวได้โดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา
จากคดีครอบครองอาวุธปืนกลายเป็นอาชญากรผู้ก่อการร้าย เห็นหรือไม่ นี่คือกระบวนการยุติธรรมในประเทศต้นแบบเสรีประชาธิปไตย
บ็อบบี แซนด์ส ถูกส่งตัวไปยังเรือนจำเมซ (Her Majesty’s Prison Maze หรือ H-Blocks) กระทั่งเป็นผู้ทรงอิทธิพล ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการ IRA ในเรือนจำ และเป็นแกนนำประท้วงให้ได้สถานะพิเศษที่ ‘นักโทษการเมือง’ ไม่ใช่ ‘อาชญากร’
การประท้วงเรื่องสถานะพิเศษเกิดขึ้น 2 ครั้งใหญ่ๆ ปี 1976 นักโทษนุ่งผ้าห่มแทนการสวมเครื่องแบบ และปี 1978 ปฏิเสธการอาบน้ำ ทำความสะอาด และใช้อุจจาระป้ายทั่วผนังห้องขัง แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ
การประท้วงถูกยกระดับขึ้นไปสู่การอดอาหาร ตุลาคม 1980 นักโทษ 7 คนเริ่มอดอาหารประท้วง และยื่นข้อเสนอเรียกร้องสิทธิของนักโทษ 5 ข้อ ได้แก่
สิทธิในการไม่ต้องสวมเครื่องแบบนักโทษ
สิทธิในการปฏิเสธการทำงานของนักโทษ
สิทธิในการมีปฏิสัมพันธ์ในหมู่นักโทษด้วยกัน จัดการศึกษา และกิจกรรมสันทนาการ
สิทธิในการเข้าเยี่ยม 1 ครั้ง รับจดหมาย 1 ฉบับ และรับพัสดุ 1 ชิ้น ต่อสัปดาห์
ให้อภัยโทษสำหรับการประท้วง
อย่างไรก็ตาม การประท้วงครั้งนี้สิ้นสุดลงหลังผ่านไป 53 วัน และเป็นอีกครั้งที่รัฐบาลอังกฤษเพิกเฉย
เห็นมั้ย “รัฐบาลอังกฤษเพิกเฉย”
การอดอาหารประท้วงรอบที่ 2 เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1981 โดย บ็อบบี แซนด์ส เป็นแกนนำ ปฏิเสธอาหารทุกอย่าง ยกเว้นน้ำกับเกลือ ครั้งนี้มีนักโทษเข้าร่วมหลายคน ด้วยความหวังว่าจะดึงความสนใจจากสาธารณชนให้เห็นถึงปัญหาของนักโทษการเมืองในเรือนจำมากขึ้น
การอดอาหารประท้วงของ บ็อบบี แซนด์ส จึงดำเนินต่อไป พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ส่งข้อความร้องขอให้ยุติการอดอาหาร แต่ก็ถูกปฏิเสธปฏิเสธ กระทั่ง 3 พฤษภาคม เขาอยู่ในสภาพโคม่าจนต้องถูกย้ายไปอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ ครอบครัวได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยม
วันที่ 5 พฤษภาคม บ็อบบี แซนด์ส เสียชีวิตด้วยวัย 27 ปี หลังอดอาหารประท้วงเป็นเวลา 66 วัน
กระบวนการยุติธรรม ความเท่าเทียมกันและสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยจากประเทศต้นแบบเสรีประชาธิปไตย ที่ทั่วโลกยอมรับมาตลอดหลายร้อยปี เป็นตัวอย่างที่ไทยยึดถือและนำปฏิบัติเป็นแบบอย่าง มีประวัติศาสตร์แบบนี้
การกดดันรัฐบาลด้วยข้อเสนอที่ถูกบิดเบือนไปจากหลักการของความเท่าเทียมกันและสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย จบลงด้วยการเพิกเฉยจากรัฐบาลต้นแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลไทยสามารถลอกเลียนแบบโดยไม่มีใครในโลกกล้าประนาม