”คณบดี มอดัง ละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยการเมาแล้วขับ“
ท่านคณบดี ที่มีอาจารย์มหาเทพ 5000 ปีฝ่ายผู้สนับสนุนการเมืองสีส้มเรื่องสิทธิมนุษยชนทราบหรือไม่ว่า การเมาแล้วขับ คือ “การละเมิดสิทธิมนุษยชน”
คณบดีคณะทางด้านศิลปะ มหาวิทยาลัยชื่อดังทางภาคเหนือ ก่อเหตุ ”เมาแล้วขับ“ แต่ปิดปากเงียบกริบ โดยที่ในมหาวิทยาลัยแทบไม่รู้ข่าวและพฤติกรรมอาจารย์ระดับผู้บริหารใหญ่ เมาแล้วขับ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อสาธารณะสมบัติที่สร้างจากภาษีของประชาชน หรืออาจเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตของประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้อง
โทษของเมาแล้วขับตามกฎหมายไทยคือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พักหรือเพิกถอนการใช้ใบอนุญาตขับขี่
ในขณะที่ กฎหมายของประเทศญี่ปุ่นเข้มงวดเรื่องการเมาแล้วขับกว่าไทยเป็นอย่างมาก การเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุในประเทศญี่ปุ่น มีโทษถึงขั้นประหารชีวิตเลยที่เดียว
”นอกจากนี้, การเมาแล้วขับ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน“
กลุ่มคนที่เรียกร้องเรื่อง สิทธิมนุษยชน กลายเป็นผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง แล้วเมื่อไหร่ นิสิตนักศึกษาหรือสาวกจะตาสว่างกันเสียที
ยิ่งไปกว่านั้น, การดื่มแล้วขับ ถือเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก “ซึ่งเป็นภาระหนักทางเศรษฐกิจของประเทศและครอบครัว”
กลุ่มคนที่เรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชน-ปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชน กลับเป็นตัวสร้างปัญหาเศรษฐกิจและสังคมเสียเอง
ผู้ที่เป็นถึงครูอาจารย์ระดับคณบดี จะเอาเรื่องความถูกต้อง อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ อะไรถูกอะไรผิดไปสอนให้ความรู้กับนักเรียนนิสิตนักศึกษา ถ้าตนเองยังไม่มีสำนึกที่จะคอยเตือนสติตนเอง
……………………………………………………………………….
ขออนุญาตนำ สารนิพนธ์จากการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของ “ร้อยตำรวจโท ภานุพงศ์ สีหามาตย์” ในหัวข้อ “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้กระทำผิดกรณีมืนเมาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะขับขี่ยานพาหนะ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร” มาเป็นความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ดังนี้
จากรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ผู้นำรัฐบาลของหลายประเทศได้เข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และได้ให้การรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573
หนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ การลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายใน ปี 2563
โดยการกำหนดให้ลดจำนวนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนน ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ต่อประเด็นความปลอดภัยทางถนน ที่ได้สะท้อนให้เห็น ถึงการยอมรับมากขึ้นว่า “การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนน เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเสียชีวิตทั่วโลก”
อีกทั้ง “อุบัติเหตุการจราจรทางถนนยังเป็นภาระหนักทางเศรษฐกิจของประเทศและครอบครัว”
ดังนั้น การเผยแพร่มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ไปทั่วโลกจึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยบรรเทาความสูญเสียและลดการเสียชีวิตในอนาคต ถือเป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน
“อุบัติเหตุบนท้องถนน จึงถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ประเทศไทย ได้รับความสูญเสียทั้งทางร่างกายและทรัพย์สิน อุบัติเหตุบนท้องถนน”
เกิดได้จากหลายสาเหตุปัจจัย กรณี “ดื่มแล้วขับ” ถือเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ “ทำให้เกิดการสูญเสียและจำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ”
“สาเหตุหลักที่เป็นอันดับหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุ คือ การเมาสุรา” ซึ่งเป็นกรณีดื่มแล้วขับ จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ระบุว่า ประเทศไทยมีอัตราการดื่มแอลกอฮอล์ เฉลี่ยประมาณ 5 ลิตรต่อปีต่อคน
“และการดื่มแล้วขับ คือปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน” ซึ่งสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงถึง 39.1%
และการดื่มทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลงสภาพร่างกายไม่พร้อมที่จะควบคุมรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากขับรถขณะมึนเมาและขาดสติ ประมาท ขับเร็วเกินกำหนด การเกิดอุบัติเหตุจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
จากข้อมูล ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า ปัจจุบันมีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเฉลี่ยวันละ 33 ราย เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 12,000 ราย
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการแก้ไขข้อบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมีผลทำให้จำนวนของ ผู้กระทำผิดลดจำนวนลงระดับหนึ่ง แต่ก็ยังพบว่า “ยังมีคนส่วนมากที่ยังมีพฤติกรรมการกระทำผิด ในกรณีดื่มแล้วขับอยู่ทุกวัน”
จากการศึกษาโครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality) ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ฟรอยด์ เพื่อการอธิบายทำความเข้าใจงานเข้า ฟรอยด์ ได้บัญญัติศัพท์เฉพาะขึ้นมาเพื่ออธิบายโครงสร้างบุคลิกภาพ ว่า ประกอบด้วย องค์ประกอบที่เป็นระบบ 3 อย่าง คือ อิด (Id) อีโก (Ego)และซุปเปอร์อีโก (Superego) ระบบทั้ง 3 อย่างนี้จะรวมกันเข้าเป็นโครงสร้างของบุคลิกภาพขึ้น
ความสัมพันธ์กันระหว่างพลังจิตทั้ง 3 ส่วนนี้ นักจิตวิทยาบางท่านได้เปรียบเทียบไว้ว่า
อิดเปรียบเสมือนส่วนประกอบพื้นฐานของบุคลิกภาพทางด้านชีววิทยา
ส่วน อีโกเปรียบเสมือนส่วนประกอบของบุคลิกภาพทางด้านจิตใจ
และซุปเปอร์อีโก เปรียบได้กับส่วนประกอบของบุคลิกภาพทางด้านสังคม (นิภา นิธยายน, 2530, น. 39)
บุคลิกภาพของคนจะมีลักษณะเช่นใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับพลังใดมีอำนาจ ถ้าอิดมีอำนาจสูง บุคคลนั้นก็จะมีบุคลิกภาพแบบเด็ก เอาแต่ใจตนเอง ถ้าอีโกมีอำนาจสูง บุคคลนั้นก็จะมีบุคลิกภาพแบบผู้ใหญ่มีเหตุผล ถ้าซุปเปอร์อีโกมีอำนาจสูงคนนั้นก็จะเป็นคนมีอุดมคติเป็นนักทฤษฎี (ปรีชา วิหคโต, 2533, น. 242)
ความสัมพันธ์ของพลังจิตทั้ง 3 ส่วน จึงสรุปได้ว่า อีโก เป็นหน่วยปฏิบัติการ เป็นตัวกลางในการแสดงออกซึ่งบุคลิกภาพ และจะปฏิบัติตามแรงผลักดันของอิด โดยมีซุปเปอร์อีโกเป็นผู้ควบคุม
ทฤษฎีการลงโทษเพื่อปกป้องคุ้มครองสังคม (Social Defence School) ฟิลิปโป กรามาติคา และ มาร์ค แอนเชล เป็นผู้นำนักอาชญาวิทยาสำนักป้องกันสังคม ซึ่งสำนักป้องกันสังคมได้เน้นการคุ้มครองสังคมโดยการอบรมและแก้ไข ผู้กระทำผิดมากกว่าการลงโทษ
ทฤษฎีการลงโทษเพื่อปกป้องคุ้มครองสังคม ”มีวัตถุประสงค์ในการลงโทษเพื่อคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยมากขึ้น“
”โดยแยกผู้กระทำผิดออกจากสังคม“ เพื่อเป็นการตัดช่องทางการเกิดอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นอีก
ทฤษฎีการลงโทษเพื่อปกป้องคุ้มครองสังคม หลักการสำคัญคือ อบรมแก้ไข ผู้กระทำผิดมากกว่าจะลงโทษ โดยเน้นการคุ้มครองความปลอดภัยในสังคมจากอาชญากรรมเน้นกับผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคลเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้เป็นคนดี
……………………………………………………………………….
ผู้ที่เป็นถึงครูอาจารย์ระดับคณบดี จะเอาเรื่องความถูกต้อง อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ อะไรถูกอะไรผิดไปสอนให้ความรู้กับนักเรียนนิสิตนักศึกษา ถ้าตนเองยังไม่มีสำนึกที่จะคอยเตือนสติตนเอง
มหาวิทยาลัยเลือกคนแบบนี้และให้ความไว้ใจคนแบบนี้ ให้มาเป็นครูอาจารย์และเป็นหัวหน้าของครูอาจารย์อีกที่ แบบนี้สมควรแล้วหรือ
การนิ่งเฉยของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยและกระทรวงหรือรัฐบาล เท่ากับการสนับสนุนคนแบบนี้ให้เป็นใหญ่และให้สอนสิ่งผิดๆ จากพฤติกรรมของตนเองกับลูกศิษย์และลูกน้อง อย่างนั้นหรือ
ฝากกราบเรียนไว้เพื่อพิจารณาด้วยความเคารพยิ่ง