โอละพ่อ!
พิธาโพสต์ไว้จริงหรือไม่ว่า คุณยายของพิธาอาศัยอยู่ที่ตึกนี้มาเกือบ 1 ศตวรรษ
เพราะความจริงตึกนี้คือ ศาลากลางเก่าเมืองพระตะบอง ซึ่งเคยเป็นบ้านพักของพระยาคทาธรธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) โดยท่านได้ว่าจ้างช่างชางอิตาลีเข้ามาสร้างอาคารนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกเมื่อปี 2448 ทว่าไม่มีโอกาสใช้งานเพราะกว่าจะแล้วเสร็จสยามก็ต้องยกดินแดนให้กับฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 2450 ในขณะที่ไทยมีกรณีพิพาทอินโดจีนกับประเทศฝรั่งเศส ต้องแลกมณฑลบูรพากับเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส ท่านตัดสินใจทิ้งยศถาบรรดาศักดิ์ ทั้งที่ฝรั่งเศสชวนท่านปกครองเมืองพระตะบองต่อ แต่ท่านกลับอพยพครอบครัวและบุตรหลานมาเป็นข้าราชการธรรมดา มาลาออกมาอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานนามสกุลแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) และผู้สืบเชื้อสายต่อจากนั้นไปว่า “อภัยวงศ์”
พิธาโพสต์ว่า คุณยายของอาศัยอยู่ที่ตึกนี้มาเกือบ 1 ศตวรรษ แปลว่าคุณยายของพิธาเป็นคนเขมรหรือ งั้นพิธาก็เป็นลูกครึ่งเขมร ด้วยละซิ เป็นตามที่เขมรเคลมเอาไว้ เพราะตึกนี้ พระยาคทาธรธรณินทร์ สร้างเอาไว้แต่ท่านเองก็ไม่ทันได้อยู่ต้องย้ายกลับมาไทยก่อนสร้างเสร็จ ผู้ที่อยู่ตึกนี้จึงเป็นคนเขมร
ส่วนถ้าจะบอกว่า พิธา อาจจะสับสนว่า คุณยายของพิธาน่าจะอยู่บ้านแฝดอีกหลังที่ปราจีนบุรี ก็ไม่น่าจะใช่อยู่ดี
เพราะตึกหน้าตาเกือบจะเป็นแฝดกันอีกหลังที่สร้างโดย เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ซึ่งท่านเป็นบุตรของพระยาคทาธรธรณินทร์)สร้างถวายในหลวง รัชกาลที่ 5 และท่านเจ้าของตึกเองยังไม่เคยใช้หรืออาศัยที่ตึกนี้เลย ยายของพิธาเป็นใครถึงเคยอยู่อาศัยที่ตึกนี้
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ตึกหลังนี้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
(ชุ่ม อภัยวงศ์) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2452 โดยให้บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง เพื่อถวาย
เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากเสด็จมณฑลปราจีนบุรีอีก หลังจากที่ได้เสด็จ
ในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2451 แต่เสด็จสวรรคตก่อนในกลางปี พ.ศ. 2453
ตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2455รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์
อีกหลายพระองค์คราเสด็จมณฑลปราจีนบุรี
โดยที่ท่านเจ้าของตึกไม่เคยใช้ตึกหลังนี้เป็นที่พำนักส่วนตัวเลย ตราบจนสิ้นอายุขัยในปี พ.ศ. 2465 จึงได้มีการจัดตั้งศพของท่านไว้ชั้นบนของตึกนี้ก่อนการพระราชทานเพลิงศพในปีเดียวกัน
ต่อมาพระอภัยวงศ์ วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) ได้น้อมเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวอภิเษกสมรสกับพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวีซึ่งเป็นหลานสาวคนหนึ่งของท่าน
ในปี พ.ศ.2480พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวีได้โดยเสด็จสมเด็จพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดีพระราชธิดา ไปประทับที่ประเทศอังกฤษจึงประทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดแก่มณฑลทหารบกที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรีเพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลสำหรับทหารและประชาชนทั่วไป
ต่อมาได้โอนมาเป็นของกรมสาธารณสุขและโรงพยาบาลแห่งนี้ได้เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดปราจีนบุรี
มหาอำมาตย์โท มหาเสวกโท เจ้าพระยาอภัยภูเบศร นามเดิม ชุ่ม สกุลอภัยวงศ์ เป็นเจ้าเมืองพระตะบองต่อจากบิดา และเป็นสมุหเทศาภิบาล (ผู้ว่าการรัฐ) สำเร็จราชการมณฑลบูรพา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ท่านเป็นพระอัยกา (ปู่) ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และเป็น พระมาตามหัยกา (ตาทวด) ในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (พระราชธิดาของในหลวงรัชกาลที่ 6)
ปี พ.ศ. 2450 ในขณะที่ไทยมีกรณีพิพาทอินโดจีนกับประเทศฝรั่งเศส ต้องแลกมณฑลบูรพากับเมืองตราดให้แก่ฝรั่งเศส ท่านตัดสินใจทิ้งยศถาบรรดาศักดิ์ ทั้งที่ฝรั่งเศสชวนท่านปกครองเมืองพระตะบองต่อ แต่ท่านกลับอพยพครอบครัวและบุตรหลานมาเป็นข้าราชการธรรมดา มาลาออกมาอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานนามสกุลแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) และผู้สืบเชื้อสายต่อจากนั้นไปว่า “อภัยวงศ์” หลังจากนั้นท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ให้ประเทศชาติและจังหวัดปราจีนบุรีมากมาย
ต้นตระกูล อภัยวงศ์ สร้างอาคารที่งดงามขึ้นถึง 2 อาคารในพระตะบองและปราจีนบุรี แต่ไม่ได้ใช้หรือไม่ได้อยู่อาศัยทั้ง 2 อาคารนั้นเลย แปลกแต่จริง
แต่อยู่ดีๆ มีนักการเมืองที่มักพูดความจริงไม่ตรงกัน อ้างว่าคุณยายของตนเคยอยู่ในคฤหาสน์นั้น โอ้ละพ่อ
แต่ละเรื่องที่เพ้อ
ป่วยก็ไปหาหมอซะ