”ผู้ละเมิดกฎหมายมาตรา 112 ไม่ใช่ ผู้ต้องหาคดีการเมือง ร่างการนิรโทษกรรมคดีการเมืองของไอลอร์ ย่อมไม่ครอบคลุม“
ร่างพระราชบัญญัตนิรโทษกรรมประชาชนของไอลอร์
ให้บรรดาการกระทำใด ๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการ
เมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง
เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการชุมนุมการประท้วง หรือการแสดงออกด้วยวิธีการใด
ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่๑๙ กันยายน๒๕๔๙ จนถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
ซึ่งรวมถึงคดีตามฐานความผิดในมาตรา ๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญา
………………………………………………………………………….
ก่อนอื่นขอตั้งคำถามก่อนว่า
(หนึ่ง) “ไอลอร์ เป็นใคร มาจากไหน มีใครหนุนหลังให้มาเคลื่อนไหว สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย”
(สอง) ไอลอร์ เข้าใจคำว่า “นักโทษทางการเมือง” หรือไม่?
ผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองคือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง
A political prisoner is someone imprisoned for their political activity.
There is no internationally recognized legal definition of the concept.
The concept of a political prisoner, like many concepts in social sciences, sports numerous definitions, and is undefined in international law and human right treaties.
แม้แต่ฝรั่งก็หาคำนิยามของผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองไม่ได้ มีเพียงการอนุมานว่า “ผู้ต้องหาคดีการเมืองหรือนักโทษทางการเมืองคือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง”
อย่างไรก็ตาม, ผู้ละเมิด ม.112 ไม่ใช่ผู้ต้องหาในคดีการเมือง หรือกระทำความผิดเพราะเรื่องการเมือง
แต่เป็นคดีหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย สถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์มีรัฐธรรมนูญคุ้มครองเอาไว้ว่า
พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดหรือกล่าวหา พระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
แต่คนกลุ่มนี้จงใจ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย ต่อพระมหากษัตริย์
พระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศของประเทศและรักษาคุณลักษณะประการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จึงมีความชอบธรรมที่ต้องมีกฎหมายมาตรา ม.112 ใช้คุ้มครองมิให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของรัฐ และสถาบันหลักของประเทศตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้
ซึ่งมีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า การใช้สิทธิเสรีภาพนั้น “ต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติ”
มาตรา 112 นอกจากจะคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ยังป้องกันการถูกการเมืองนำสถาบันพระมหากษัตริย์ไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งจะทำให้บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นฝักฝ่ายต่อสู้แข่งขันรณรงค์ทางการเมือง
อันอาจนำมาซึ่งการโจมตี ติเตียน และกระทบกระเทือนต่อความเป็นกลางของสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องถูกลบล้างไป
โดยไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ซึ่งมีหลักสำคัญว่าพระมหากษัตริย์ต้องดำรงสถานะอยู่เหนือการเมือง และความเป็นกลางทางการเมือง
ระบอบประชาธิปไตยอันนี้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขว่า พระมหากษัตริย์ดำรงสถานะอยู่เหนือการเมืองและเป็นกลางทางการเมือง
การกระทำใดๆที่เป็นการส่งเสริมหรือทำลายให้สถาบันพระมหากษัตริย์สูญเสียสถานะที่จะต้องอยู่เหนือการเมือง หรือดำรงความเป็นกลางทางการเมือง ย่อมเป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลาย เป็นเหตุให้ชำรุด ทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง
เข้าลักษณะ เป็นการล้มล้างการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การกระทำของผู้กระทำผิดมาตรา 112 เป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความคิดเห็นเพื่อการทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สรุป
ผู้ละเมิดกฎหมายมาตรา 112 ไม่ใช่ ผู้ต้องหาคดีการเมือง การนิรโทษกรรมคดีการเมือง ย่อมไม่ครอบคลุมถึง
อัษฎางค์ ยมนาค