”ทำไมคนเชื่อถือคนพูดโกหกซ้ำซากมากกว่าคนซื่อสัตย์“
Halo Effect กลไกลที่ทำให้ขาวเป็นดำ
ซึ่งมีส่วนทำให้เราใช้เหตุผลในการตัดสินใจน้อยลง ส่งผลให้ตกเป็นเหยื่อ
Halo effect เป็นอคติทางความคิด หรือหลุมพรางทางความคิด หรือกับดักทางความคิด
คำว่า halo หากแปลตรงตัวจะหมายถึงรัศมีวงกลมที่อยู่บนหัวของเทวดาหรือนางฟ้า
ซึ่ง halo effect จะใช้เรียกภาวะการรับรู้ที่เรามีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและประเมินสิ่งนั้นดีเกินจริง ราวกับเราเห็นรัศมีนางฟ้าอยู่บนสิ่งนั้นๆ
Halo effect เกิดจากการรับรู้ลักษณะทางบวกด้านใดด้านหนึ่งของคนๆ หนึ่งตั้งแต่แรก ก็จะเกิดการตีความคุณลักษณะอื่นๆ ของเขาเป็นไปในเชิงบวกไปด้วยทั้งหมด ถึงแม้ว่าภายหลัง คนๆ นั้นได้กระทำผิด หรือมีพฤติกรรมไม่ดีอะไร ก็ยังคงยึดมั่นว่าคนนั้นเป็นคนดี เป็นคนเก่งตลอดไป
Halo effect เกิดขึ้นได้อย่างไร
Halo effect เกิดจากการรับรู้ของบุคคล (Perception) ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วตัดสินใจ (Decision) เชื่อตาม อันเนื่องมาจากปฏิกิริยาความพยายามของสมองในการลดความซ้ำซ้อนของการประมวลผล แม้ว่าสมองมนุษย์จะมีศักยภาพในการจัดการ แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนมีข้อจำกัด
ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเอนเอียงจนมีผลให้ภาพรวมถูกบดบังโดยลักษณะพิเศษเช่น ความสวย ความหล่อ ความน่ารัก ความน่าเชื่อถือ
โดยปกติสมองของเรามีเรื่องที่ตัดสินใจจำนวนมาก สมองจึงมีวิธีหาทางลัดในการตัดสินใจ เช่น ก่อนซื้อสินค้า คนมักอ่านคอมเมนท์หรือถามจากประสบการณ์ของคนอื่น แล้วเมื่อเลือกจะเชื่อใคร ก็จะปักใจเชื่อตลอดไปอย่างง่ายดาย
Halo effect ที่พบได้บ่อยในการเลือกที่จะเชื่อ
มักเกิดจากการตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอก ทั้งหน้าตาและการแต่งกาย อุปนิสัย บุคลิกภาพ การดูว่าน่าจะเป็นคนฉลาด เรียบร้อย ตั้งใจทำงาน ดูภูมิฐาน ดูน่าเชื่อถือ
Halo effect ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ทางสังคมของบุคคล ที่อาจนำไปสู่ความคลาดเคลื่อนจากสภาพความเป็นจริงจนอาจนำไปสู่การเห็นผิดเป็นชอบ
เช่น มีนักการตลาดนำแนวคิดเชิงจิตวิทยาเพื่อสร้างยอดขาย ดังเช่น กรณีผลิตภัณฑ์จากค่ายแอปเปิล หรือซัมซุงก็ตาม เป็นตัวอย่างที่นักการตลาดมักจะยกขึ้นมากล่าวถึงกันบ่อยๆ นับตั้งแต่ iPhone หรือ galaxy ออกมาวางตลาด ผลิตภัณฑ์สองชิ้นนี้ สาวกของแต่ละค่ายก็จะเชื่อถือว่าเป็นของดี
แต่ความจริง เราไม่สามารถการันตีว่ารุ่นใหม่ๆ ต่อๆ ไปจะต้องดีตามหรือไม่ แต่ผู้คนที่ชื่นชอบในแบรนด์แอปเปิลหรือซัมซุง ที่ติดใจผลิตภัณฑ์ของค่ายนั้นๆ ก็จะมีความไตร่ตรองด้วยเหตุผลน้อยลง และใช้ความรู้สึกชอบตัดสินใจมากขึ้นแทน
หรืออย่างในกรณีที่ประชาชนหรือคนรุ่นใหม่เห็นธนาธร ปิยบุตร พิธา เป็นคนรุ่นใหม่ ที่เป็นคนเก่ง คนดี แต่ถ้าสมมติว่าต่อมาธนาธร ปิยบุตร พิธา เกิดถูกจับได้ว่าพูดความจริงไม่ตรงกับความจริงกี่ครั้งก็ตาม คนก็ยังรักและเห็นว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนเก่ง เป็นคนดี อยู่ดี ตลอดไป
แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเรารับรู้คุณลักษณะเชิงลบเพียงด้านเดียว ก็จะทำให้เกิดความคิดในเชิงลบโดยรวมของบุคคลนั้นตลอดไป จะเรียกว่า ‘Horn effect“
เช่น ประชาชนหรือคนรุ่นใหม่ถูกใส่ข้อมูลว่า สถาบันพระมหากษัตริย์หรืออดีตนายกฯ ประยุทธ์ เป็นคนไม่ดี เป็นเผด็จการ ก็จะทำให้เกิดความคิดในเชิงลบไปทุกเรื่องตลอดไป ถึงความจริงจะปรากฏว่าไม่ได้เป็นไปอย่างที่ถูกใส่ร้าย ก็ไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนได้ง่ายๆ
Halo effect และ Horn effect เป็นเหมือนกับดักชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้คนติดกับโดยที่เราไม่รู้ตัว
เพราะฉะนั้น First Impression มีความสำคัญ
First Impression ของพลเอกประยุทธ์คือ เป็นคนทำรัฐประหาร ภาพเผด็จการจึงติดตัว ซึ่งผิดกับFirst Impression ของ ธนาธร ปิยบุตร พิธา ที่อ้างเรื่องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ ภาพเดียวกับฮอลีวู๊ดจึงติดตรึงใจ (พอจะเห็นภาพตามไหม)
วิธีป้องกันอย่างหนึ่ง คือ ควรหมั่นตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอว่ามีความลำเอียงหรือไม่ มีสติสัมปชัญญะหรือไม่ และตั้งใจค้นหาความจริงที่แท้จริงให้เจอหรือไม่
อัษฎางค์ ยมนาค