เกาะกูดเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ มิใช่พื้นที่ทับซ้อนกับกัมพูชาแต่อย่างใด
ไทยเสียดินแดนมากมายในยุคล่าอาณานิคม เพื่อแลกกับพื้นที่ที่เป็นของไทยแท้ๆ โดยไทยยอมเสียแผ่นดินทั้งหมดของประเทศทั้งลาวและกัมพูชา เพื่อแลกกับพื้นจำนวนเพียงเล็กน้อยเช่นจังหวัดตราด รวมทั้งเกาะกูด
ดังนั้น จะยอมเสียดินแดนเพิ่มอีกหรือ ?
เจ้าหน้าที่รัฐหรือนักการเมืองคนใดขายชาติ ให้จับตามองไว้ให้ดีๆ
ย้อนไปดูประวัติศาสตร์เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๙ ที่ไทยเสียมณฑลบูรพา อันประกอบด้วยเมืองพระตะบองเสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส
***โดยฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมยอมให้แลกกับเมืองตราด เกาะต่างๆ ใต้แหลมลิงจนถึงเกาะกูด
……………………………………………………………………………..
เริ่มจากเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ไทยเสียเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศสฝรั่งเศสยึดไซ่ง่อนและดินแดนบางส่วนของญวนใต้ (โคชินจีน) ได้ใน พ.ศ. ๒๔๐๒ แล้วใช้ดินแดนนี้เป็นที่มั่นขยายอิทธิพลเข้ามาในเขมรซึ่งเป็นประเทศราชของไทย
ฝรั่งเศสต้องการเขมรเพราะเขมรเป็นบันใดที่จะขยายอาณาเขตไปลาว ตังเกี้ย และยูนาน และทะเลสาบเขมรอุดมด้วยปลา ซึ่งเป็นสินค้าออกสร้างรายได้อย่างมหาศาล
ฝรั่งเศสอ้างตนเป็นผู้สืบสิทธิญวนเหนือเขมร เพราะเขมรเคยเป็นประเทศราชของญวนมาก่อนเช่นกัน เห็นได้จากเขมรเคยส่งบรรณาการให้ญวนเช่นเดียวกับเคยส่งให้ไทย ฝรั่งเศสจึงต้องมีสิทธิปกครองเขมรในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของญวนด้วย
ฝรั่งเศสที่ญวนใต้สามารถเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระนโรดม (นักองค์ด้วง) เจ้าผู้ครองเขมรยอมลงนามในสนธิสัญญายกเขมรให้เป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖
……………………………………………………………………………..
นักองค์ด้วง ผู้นี้เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ (นักองเอง)
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี (นักองเอง) เสด็จสวรรคตนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นักองจันทร์ อภิเษกขึ้นครองราชย์ที่เขมรพระราชทานนามว่า สมเด็จพระอุทัยราชา แต่เมื่อสมเด็จพระอุทัยราชาขึ้นครองราชย์แล้วมีใจออกห่างกรุงสยามโดยหันไปพึ่งญวนแทน (ซึ่งนี่เป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาฝรั่งเศสอ้างว่า เขมรเป็นเมืองขึ้นของญวน)
ในช่วงนั้นเจ้านายและขุนนางเขมรจึงแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสมเด็จพระอุทัยราชา ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยนั้นมี นักองด้วง จึงต้องหนีเข้ามายังกรุงเทพมหานครในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตั้งแต่มีพระชนมายุ 16 พรรษา โดยเข้ามาพำนัก ณ วังเจ้าเขมร ซึ่งเป็นวังที่สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี พระบิดาเคยพำนักอยู่
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อนักองด้วงมีพระชนมายุ 43 พรรษา หลังจากที่ทรงพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาถึง 27 ปี จึงเดินทางกลับเขมรพร้อมกับกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เพื่อรบกับญวนที่กำลังแผ่อำนาจเข้าสู่เขมรในช่วงนั้น
โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการว่า “หากเขมรสงบเรียบร้อยเมื่อใดให้อภิเษกพระองค์ด้วงขึ้นครองเขมร”
ดังนั้น เมื่อกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถจัดการเหตุการณ์ในเขมรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงมีการอภิเษกนักองค์ด้วงขึ้นครองราชสมบัติที่เขมรเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา
พระมหากษัตริย์ไทยช่วยนักองด้วง ให้ลี้ภัยอยู่เมืองไทยอย่างมีความสุขถึง ๒๗ ปี และยังช่วยเหลืออย่างเต็มที่จนได้กลับไปครองเขมร แต่แล้วนักองค์ด้วง ก็ทรยศไทย โดยหันไปพึ่งฝรั่งเศส จนกลายเป็นหนึ่งในต้นเหตุของวิกฤต ร.ศ.๑๑๒
เขมรคบไม่ได้มาตั้งแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน
……………………………………………………………………………..
หลังจากสมเด็จพระนโรดม (นักองค์ด้วง) ลงนามในสนธิสัญญายกเขมรให้เป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสได้ใช้ความพยายามไม่ให้ไทยทำสนธิสัญญาลับกับเขมรเพื่อยืนยันว่าเขมรเป็นประเทศราชของไทย จนถึงใช้นโยบายเรือปืนส่งเรือรบมิตราย (Mitraille) เข้ามาในน่านน้ำเจ้าพระยาเป็นการข่มขวัญ ไทยจึงหวังพึ่งความช่วยเหลือจากอังกฤษ
กงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ แนะนำให้ไทยส่งคณะทูตไปฝรั่งเศสเพื่อร้องขอความยุติธรรมโดยตรงต่อจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓
อย่างไรก็ตาม ที่สุดไทยพบว่าในระดับรัฐบาลอังกฤษนั้นไม่ประสงค์จะเข้าแทรกแซงเรื่องเขมร ตราบเท่าที่ผลประโยชน์ของอังกฤษไม่กระทบกระเทือน
ไทยจึงจำต้องลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ ไทยเสียดินแดนส่วนใหญ่ของเขมรและเกาะอีก 6 แห่งแก่ฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสยอมรับรองว่าเสียมราฐและพระตะบองยังเป็นของไทย และไทยต้องไม่เรียกบรรณาการจากเขมรอีกต่อไป
……………………………………………………………………………..
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
ถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ ตรงกับ ร.ศ. ๑๑๒ เป็นปีที่ฝรั่งเศสรุกคืบตามนโยบายขยายอาณาเขตจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง
โดยจะยึดดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวจนถึงชายแดนเขมรซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยไม่อาจยอมรับได้จนเกิดการปะทะสู้รบกันขึ้นในหลายจุดหรือหลายสมรภูมิ
จุดวิกฤตสุดคือ ที่ปากน้ำเจ้าพระยา จึงเรียกกันว่า วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ หรือวิกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ. ๑๑๒
……………………………………………………………………………..
สมรภูมิรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา หลังจากการสู้รบที่บริเวณแม่น้ำโขงดำเนินไป ๓ เดือนเศษ ฝรั่งเศสไม่สามารถขับไล่กำลังทหารออกจากฝั่งช้ายแม่น้ำโขงได้
วันที่ ๘ กรกฎาคม รัฐบาลฝรั่งเศสเล่นสกปรก ด้วยการแต่งตั้งนายเลอมีร์ เดอ วิแลร์ (Le Myre de Vilers) เป็นผู้แทนมาแจ้งรัฐบาลไทยว่า ถ้ารัฐบาลไทยปฏิเสธไม่รับรู้สิทธิของฝรั่งเศสบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโพงโขง ฝรั่งเศสจะถอนคณะทูตออกจากกรุงเทพฯ ทันที จากนั้นฝรั่งเศสก็ใช้มาตรการกดดันไทยโดยระดมกองเรื่อมาที่ไซง่อนเพื่อเตรียมปิดอ่าวไทย
เมื่อเรือฝ่ายฝรั่งเศสเข้ามาใกล้ป้อมพระจุลจอมเกล้า เวลา ๑๘.๓๐ น. ทหารไทยยิงปืนเตือนด้วยกระสุนหลอกจากป้อมพระจุลจอมเกล้า ๒ นัด เรือฝรั่งเศสยังคงแล่นต่อ ฝ่ายไทยจึงยิงไปอีก เรือฝรั่งเศสกลับเร่งฝีจักรและยิงตอบโต้ ทั้ง ๒ ฝ่ายระดมยิงใส่กัน เรือเซย์ถูกยิงเกยตื้น เนื่องจากมุมในการยิงของปืนในป้อมพระจุลจอมเกล้าเป็นมุมแคบ และการใช้ปืนใหญ่อาร์มสตรองยิงแต่ละนัดจะต้องยกระดับปืนด้วยฟันเฟืองและกว้าน เมื่อยิงได้ ๑ นัด ต้องลดระดับประมาณ ๓ เมตร เพื่อบรรจุกระสุนปืน ทหารไทยเพิ่งจะฝึกยิงปีนเพราะป็นเพิ่งติดตั้งเสร็จจึงไม่ชำนาญและครูฝึกชาวเคนมาร์กคคน มีเพียงคนเดียวที่พูดภาษาไทยได้
ประกอบกับเวลาที่เรือฝ่ายข้าศึกอยู่ใน วิถีกระสุนมีจำกัด จึงยิงปืนจากป้อมไปได้ไม่กี่ชุด เรือรบฝรั่งเศสทั้ง ๒ ลำก็ตีฝ่าแนวป้องกันทั้ง แนวคือ แนวทุ่นระเบิด แนวสายโซ่ แนวเรือเก่าที่จมูกขวางแม่น้ำไว้ และแนวเรือรบไทย ไปถึงป้อมผีเสื้อสมุทรเมื่อเวลา ๑๙.๐๐น. เป็นเวลามีดแล้ว
เรือฝรั่งเสยิงป้อมผีเสื้อสมุทร๕ นัด ทหารไทยที่ป้อมไม่แน่ใจว่าเป็นเรือฝ่ายใดจึงไม่กล้ายิง บางเอกสารว่ามีการยิงปะทะกันเล็กน้อย
เรือรบฝรั่งเศสก็ผ่านเข้ามาจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสเมื่อ เวลา๒๑๐๐ น.
ในเวลาเดียวกัน พลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน ชาวเดนมาร์กรองผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารไทยรักษาป้อมที่ปากน้ำได้ขึ้นรถไฟจากปากน้ำมาเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำเรือพระที่นั่งจักรี ซึ่งเป็นเรือรบ ที่ใหญ่ที่สุดสำหนึ่งของไทยขณะนั้นไปชนกับเรือรบฝรั่งเศส
แต่ไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตเพียงแต่มีพระบรมราชโองการให้ทหารเตรียมพร้อมไว้ตามจุดต่าง ๆ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างสถานทูตฝรั่งเศสกับพระบรมมหาราชวัง
ผลการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๔ นาย บาดเจ็บ ๑๔ นาย (บางแห่งว่า ๔๑ นาย) ป้อมผีเสื้อสมุทรเสียหายเล็กน้อย ฝ่ายฝรั่งเศสเสียชีวิต ๓ นาย บาดเจ็บ ๓ นาย เรือรบถูกยิงเสียหายเล็กน้อย ฝ่ายนายปาวีก็ฉวยโอกาสเสนอรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศฝรั่งเศสให้ส่งกองทัพเข้าโจมตี ถ้ารัฐบาลไทยไม่ยอมจำนน
……………………………………………………………………………..
ในวันที่ ๒ กรกฎาคม นายปาวีก็ยื่นคำขาด ให้ตอบภายใน ๔๘ ชั่วโมง หากไทยไม่ยอมปฏิบัติตามคำขาด ราชทูตฝรั่งเศสจะเดินทางออกจากกรุงเทพฯ และจะปิดอ่าวไทยรวมทั้งน่านน้ำไทยทันที สาระสำคัญของคำขาด คือ
๑. ไทยต้องเพิกถอนสิทธิเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเกาะต่าง ๆ ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวไปจนถึงพรมแดนเขมร
๒. ให้ไทยรื้อถอนด่านทั้งหลายบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งเดือน
๓. ให้ไทยจัดการปัญหาทุ่งเชียงคำ เมืองคำม่วน และความเสียหาย ที่เรือรบฝรั่งเศสและชาวฝรั่งเศสได้รับจากการปะทะกันให้เรียบร้อย . ให้ไทยลงโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยผู้มีส่วนรับผิดชอบในการยิง
เรือปืนที่ปากน้ำ
๔. ให้ไทยชดใช้ค่าเสียหายให้ชาวฝรั่งเศสเป็นเงิน ๒ ล้านฟรังก์
๕. ให้ไทยวางเงินประกันเป็นจำนวนเงิน ๓ ล้านฟรังก์ ถ้าไม่ให้ฝรั่งเศสจะเก็บภาษีเมืองพระตะบอง เสียมราฐ
……………………………………………………………………………..
ระหว่างนั้น ไทยยังหวังพึ่งอังกฤษอยู่และอังกฤษเองก็ตกใจที่ฝรั่งเศสประกาศปิดอ่าวไทย แต่เมื่อฝรั่งเศสแจ้งให้อังกฤษทราบว่าไม่ประสงค์จะผนวกเสียมราฐและพระตะบอง และฝรั่งเศสต้องการจะทำความตกลงกับอังกฤษในเรื่องสร้างรัฐกันกระทบในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ทำให้อังกฤษคลายกังวล อังกฤษจึงเกลี้ยกล่อมรัฐบาลไทยให้ตอบรับคำขาดของฝรั่งเศส
ดังนั้น วันที่ ๒ กรกฎาคม รัฐบาลไทยจึงจำต้องตอบรับคำขาดและฝรั่งเศสได้ฉวยโอกาสนี้ตั้งข้อเรียกร้องเพิ่มเติม คือ ห้ามไทยส่งทหารเข้าไปประจำในเสียมราฐและพระตะบอง อันเป็นดินแดนแหล่งสุดท้ายของไทยที่เหลืออยู่ในเขมร
ฝรั่งเศสจะยึดจันทบุรีไว้เป็นประกันจนกว่าไทยจะถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้หมด และให้ไทยจัดตั้งเขต
ปลอดทหารภายใน ๒๕ กิโลเมตร จากฝั้งขวาของแม่น้ำโขง และฝรั่งเศส
ขอสิทธิที่จะจัดตั้งสถานกงสุลขึ้นที่น่านและโคราช ในที่สุดรัฐบาลไทยจำต้องยอมรับข้อเรียกร้องเพิ่มดังกล่าว เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ฝรั่งเศสจึงยอมยกเลิกการล้อมปิดอ่าว
……………………………………………………………………………..
ก่อนการเจรจาทำสนธิสัญญาและอนุสัญญาเพื่อยุติกรณีพิพาท ไทยต้องรีบชำระเงินค่าปรับไหม และเงินค่าทำขวัญ
โดยสรุปเรียกว่า จ่ายเงินประกันเป็นเงิน ๓ ล้านฟรังก์ คิดเป็นเงินไทยขณะนั้น ๑,๖๐๕,๒๓๕ บาท กับอีก ๒ อัฐ ฝรั่งเศสให้ชำระทันที และชำระเป็นเงินเหรียญ
ซึ่งขณะนั้นจำนวนเงินในพระคลังมีไม่เพียงพอ มีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่กราบบังคมทูลเตือนถึงเงินพระคลังข้างที่ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (เงินพระคลังข้างที่คือพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินรายได้แผ่นดิน ส่วนหนึ่งที่แบ่งถวายพระมหากษัตริย์ เพื่อทรงใช้จ่ายส่วนพระองค์ในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดการค้าสำเภาหลวงและทรงค้าสำเภาเป็นการส่วนพระองค์ตั้งแต่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงมีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มาก
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย คิศกุล ทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง “เหตุการณ์ใน ร.ศ.๑๑๒ และ “เรื่องเสียเขตแดนใน ร.๕” ว่า “เงินถุงแดงข้างพระที่ ๆ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้ด้วยมีพระราชดำรัสว่า “เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง” ก็ได้ใช้จริงคราวนี้ ผู้ใหญ่เล่ากันว่าเจ้านายในพระราชวังเทเงินถวายกันจนเกลี้ยงใส่ถุงบนออกจากในวังทางประตูต้นสน (ประตูศรีสุนทร) ไปลงเรือทางท่าราชวรดิษฐ์ (ท่าราชวรดิฐ) กันทั้งกลางคืนกลางวัน…”
เรื่องนี้มีหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส Le Monde Illustre ฉบับเดือนตุลาคม ค.ศ.๑๘๙๓ ที่ทายาท ม.ปาวีเก็บรักษาไว้ มีทั้งภาพเขียนและรายงานเรื่องขนเงินค่าปฏิกรรมสงครามที่ข้าหลวงฝรั่งเศสได้รับจากไทยบรรทุกมากับเรือลูแตงเป็นเหรียญแม็กซิกันรวมทั้งสิ้น ๘๐๑,๒๔๒ เหรียญ (เท่ากับ ๒๕๔.๑๐๒ ฟรังก์)
……………………………………………………………………………..
สนธิสัญญากับฝรั่งเศสลงวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๒ มีสาระสำคัญคือ
๑. รัฐบาลไทยสละสิทธิทั้งหมดในดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโซเและเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง
๒. ห้ามรัฐบาลไทยส่งเรือรบเข้าไปในทะเลสาบในแม่น้ำโขง และในสำน้ำที่แยกมา
๓. ห้ามรัฐบาลไทยสร้างด่านหรือค่ายทหารในเมืองพระตะของและเสียมราช และภายในรัศมี ๒๕ กิโลเมตรบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ทั้งให้เขต ๒๕ กิโลเมตรนี้เป็นเขตปลอดทหาร
๔. ฝรั่งเศสสงวนสิทธิ์จะตั้งสถานกงสุข ณ ที่ใดก็ได้ โดยเฉพาะที่น่านและโคราช
นอกจากนี้ไทยยังต้องลงนามในอนุสัญญาอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งมีใจความ บังคับให้ไทยปฏิบัติตามข้อเรียกร้องเพิ่มเติมดังกล่าวแล้วข้างต้น ที่สำคัญคือฝรั่งเศสจะยึดจันทบุรีไว้เป็นประกันจนกว่าไทยจะปฏิบัติตามอนุสัญญาโดยทรบถ้วน ซึ่งไทยต้องประสบความยุ่งยากกับฝรั่งเศสอีกยาวนาน
พ.ศ. ๒๔๔๙ เสียมณฑลบุรพา อันประกอบด้วยเมืองพระตะบองเสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส
***แลกกับเมืองตราด เกาะต่างๆ ใต้แหลมลิงจนถึงเกาะกูดและด่านซ้าย
จากมูลเหตุจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ บีบคั้นจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงดำรงตำแหน่งองค์พระประมุขเสียพระราชหฤทัยว่า ไม่อาจปกป้องประเทศชาติบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ให้พ้นภัยคุกคามของฝรั่งเศสได้ จนทรงพระประชารหนักไม่ยอมเสวยพระโอสถ
……………………………………………………………………………..
หากจะสรุปสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยหรือประเทศสยามสามารถ ก้าวพ้นวิกฤตชาตินำพารัฐนาวารอดพ้นจากมหาอำนาจจักรวรรดินิยมมาได้พอจะประมวลได้ดังนี้
ประการแรก การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง ๒ ครั้ง ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ และ พ.ศ. ๒๔๕๐ ก็เป็นพระวิเทโศบาย อย่างหนึ่งทำให้ได้กระชับสัมพันธ์ไมตรีกับนานาประเทศ เช่น สัมพันธ์ภาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ ความใกล้ชิด สนิทสนมยกย่องที่ทรงได้รับจากจักรพรรดิแห่งรัสเซียและเยอรมนีทำให้ประเทศ อื่น ๆ เกรงใจไทย ทำให้ไทยดำรงความเป็นเอกราชไว้ได้ และทำให้การเจรจายกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสามารถดำเนินไปด้วยดี
ประการที่ ๒ เป็นความโชคดีของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยและโชคดีที่บังเอิญฝรั่งเศสและอังกฤษขยายอำนาจเข้ามาในราชอาณาจักรสยามพร้อม ๆ กัน การขยายอำนาจของฝรั่งเศสโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ร.ศ. ๑๑๒ ทำให้อังกฤษหวั่นเกรงว่า ฝรั่งเศสจะยึดครองไทยทั้งประเทศ ซึ่งก็จะมีเขตแดนประชิดอาณานิคมของอังกฤษ ประกอบกับเยอรมนีและ
ญี่ปุ่นเริ่มขายอำนาจเข้ามาเป็นแรงผลักคันให้อังกฤษและฝรั่งเศสเห็นความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันให้ไทยเป็นรัฐกันกระทบ (Buffer State) ถึงกับทำข้อตกลงระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส (Anglo – French Declaration) เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๙ (ค.ศ. ๑๘๙๖) เคารพเอกราชของไทย
ประการที่ ๓ ไทยมีรัฐบาลโดยการนำของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเห็นการณ์ไกล จึงดำเนินนโยบายปรับปรุงประเทศให้ก้าวหน้าทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จนยากที่มหาอำนาจใดจะหาข้ออ้างในการทำลายเอกราชของไทย
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง จ้างชาวต่างประเทศที่มีความสามารถด้านต่าง ๆ มาเป็นที่ปรึกษาแต่รัฐบาลไทยจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมและเป็นผู้ตัดสินเรื่องทั้งหมดเอง
ประการที่ ๔ ไทยมีรัฐบุรุษที่เข้าใจปัญหา และเฉลียวฉลาดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จๆ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่ละท่าน ล้วนอดทนเผชิญกับปัญหา แก้ไขปัญหาอย่างสุขุม คำนึงถึงการดำรงอยู่ของเอกราชของชาติเป็นที่ตั้งหาวิธีแก้ไขปัญหาโดยวิถีทางทางการทูตยอมเจ็บช้ำต่อการสูญเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้
ซึ่งมีผลพลอยได้ทำให้ไทยได้มีโอกาสดำเนินเรื่องแก้ไขเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และเรื่องอัตราภาษีสุลกากร ซึ่งไทยเสียอำนาจทางศาลและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่จำต้องทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษและทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับชาติอื่น ๆ ที่เข้ามาติดต่อกับไทย
สิทธิสภาพนอกอาณาเขตกำหนดให้คนในบังคับของชาตินั้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย เมื่ออาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสมีอยู่รอบประเทศไทยคนในบังกับของประเทศมหาอำนาจมีมากขึ้นทุกที จึงสร้างความยุ่งยากในการปกครองให้แก่รัฐบาลไทยอย่างมาก ส่วนด้านการค้าและพิกัดอัตรา
……………………………………………………………………………..
เนื้อหาทั้งหมดคัดลอกจากหนังสือ “จดหมายเหตุ ร.ศ.๑๑๒
ของพระณรงค์วิชิต เลื่อน ณ นคร
จัดพิมพ์ในโครงการเลือกสรรหนังสือของมหาวิทยาลัยสโขทัยธรรมมาธิราช
นำบางส่วนมาเผยแพร่โดยมิได้หวังผลประโยชน์ทางการเงิน แต่เพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องเกาะกูด ที่กัมพูชาอ้างว่าเป็นของตน ในขณะที่ทางการไทย ทำท่าว่าจะยอมรับข้ออ้างที่มิได้เป็นข้อเท็จจริงของกัมพูชา ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียดินแดนอีกครั้ง
สนใจรายละเอียดทั้งหมด สามารถสั่งซื้อได้ที่สำนักพิมพ์ มสธ.
……………………………………………………………………………..
อัษฎางค์ ยมนาค