”เขมรอ้างพื้นที่ทับซ้อน ด้วยการลากเส้นเขตแดนตามใจตัวเอง แล้วไทยไปยอมรับทำไม ใครได้ประโยชน์ ระหว่างประเทศชาติและประชาชน หรือนักธุรกิจการเมือง“
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ. 2540 มาตรา 224 การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศต้องผ่านขบวนการของรัฐสภาเสียก่อน แต่รัฐบาล(ในยุคที่ผ่านมา) กลับไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ
หนังสือผู้จัดการเคยรายงานข่าวไว้ว่า
MOU 43 เป็นการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งใช้แผนที่ 1:200,000 เป็นข้อผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปักหลักเขตมีทั้งหมด 74 หลัก (ปัจจุบันเหลือ 73 หลัก) เพราะหลักเขตที่ 22 มีสองหลัก ต่อมาภายหลังจึงยกเลิกไป 1 หลักและการที่จะต้องทำ MOU 43 นี้ก็เพื่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนที่สูญหายหรือถูกเคลื่อนย้ายให้กลับมาสู่ที่เดิม
ความมุ่งมาดปรารถนาของกัมพูชาที่ใช้แผนที่ 1:200,000 ก็คงมีเหตุผลมาจากความพยายามจะย้ายหลักเขตที่ 73 ไปในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อให้การประกาศเขตไหล่ทวีปในปี พ.ศ. 2515 ของกัมพูชามีจุดอ้างอิงที่สมบูรณ์ในการลากเส้นไปผ่านเกาะกูดเพื่อเป็นอาณาเขตทางทะเลของกัมพูชา
ต่อมาประเทศไทยในปี พ.ศ. 2516 จึงทำการประกาศพื้นที่ไหล่ทวีปบ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดพื้นที่ที่ทับซ้อนกันขึ้น และต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในอ่าวไทย
ทั้งๆ ที่….
1) การย้ายหลักเขตที่ 73 ไปในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อให้การประกาศเขตไหล่ทวีปในปี พ.ศ. 2515 ของกัมพูชาในการลากเส้นไปผ่านเกาะกูดเพื่อเป็นอาณาเขตทางทะเลของกัมพูชานั้นได้กระทำผิดมาตรฐานทางหลักวิชาการและการแบ่งเขตในทะเล
2) ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือ จากข้อตกลงแบ่งปันเขตแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หลังจากที่ไทยเสียดินแดนไปมากมาย ซึ่งรวมถึงเสียประเทศลาวและกัมพูชา ในฐานะประเทศราชของไทยให้กับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยอมคือจังหวัดตราดและแกะแกร่งต่างๆ รวมทั้ง เกาะกูดให้ไทยนี้คือหลักฐานสำคัญ ที่ช่วยยืนยันว่า เกาะกูดเป็นของไทย
ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ให้รายละเอียดเรื่องนี้ไว้ว่า….
สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่มาแห่งการต้องเจรจาปักปันเขตแดน ระหว่างไทยกับกัมพูชา และไทยกับลาวนั้น มีอยู่ 2 ฉบับหลักๆคือ ฉบับ ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) และ 1907 (พ.ศ.2450)
สยามกับฝรั่งเศส โดยใช้แนวแม่น้ำโขงเป็นพรมแดน : ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ (แม่น้ำไหลจากเหนือลงใต้ฝั่งซ้ายของแม่น้ำก็คือฝั่งตะวันออก) เป็นของฝรั่งเศส ฝั่งขวาเป็นของสยาม จนมาถึงแนวเทือกเขาดงรัก ซึ่งทอดตามแนวตะวันออก-ตะวันตกด้านเหนือของสันบันน้ำเทือกเขาตงรัก เป็นของสยาม ด้านใต้ของสันปันน้ำเป็นของฝรั่งเศส
แต่ไทยเรากลับเสียปราสาทพระวิหารไปให้กัมพูชา ปราสาทและพื้นที่รอบปราสาท อยู่ด้านเหนือของสันปันน้ำ แต่แผนที่กลับไปเขียนให้อยู่ในเขตตินแดนของฝรั่งเศส และศาลโลกก็ไม่เข้าข้างไทยทั้งที่เราเป็นฝ่ายถูก
ฉบับที่สองคือ ปี 1907 เป็นการที่สยามยกดินแดนเสียมราฐ ศรีโสภณ และพระตะบอง ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับการที่ฝรั่งเศสยกด่านซ้าย (จังหวัดเลย) จันทบุรี ตราด เกาะกูด และเกาะใกล้เคียงคืนให้ไทย ตรงนี้ไม่เกิดความขัดแย้งแต่อย่างใด เพราะทั้งสนธิสัญญาและแผนที่ระบุชัดเจนว่า ตราดและเกาะกูดเป็นดินแดนของสยาม
แต่ต้องพึ่งตั้งข้อสังเกตไว้ ณ ที่นี้ก่อนว่า สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นการแบ่งเขตแดนทางบก มิได้มีส่วนใดเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเลนับแต่ 1907 เป็นต้นมา ไทยกับกัมพูชาไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งว่าใครเป็นเจ้าของดินแดนเกาะกูด หรือเกาะกูดอยู่ในอำนาจอธิปไตยของใคร แม้ทุกวันนี้ โรงแรม ที่พัก และรีสอร์ตต่างๆ ตลอดจนการปกครอง บริหารจัดการทุกอย่างบนเกาะกูด ก็อยู่ใต้อำนาจทางปักครองของไทยร้อยเปอร์เซ็นต์
ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของปัญหาก็คือ การประกาศเขตทางทะเลของไทยและกัมพูชาในช่วงปลายทศวรรษ 1960 (พ.ศ.2503) และต้นทศวรรษ 1970 (พ.ศ.2513) ประเทศต่างๆ ของโลกที่เป็นประเทศชายฝั่งและอยู่ติดทะเลเปิด (open sea) หรือทะเลกึ่งปิด (semi-enclosed sea) เช่น อ่าวไทย ต่างตื่นตัวต่อแนวโน้มของหลักกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ ที่จะให้มีเขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจพิเศษ (ที่ต่อมาเรียกเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) กว้างใหญ่ไพศาลกว่าหลักกฎหมายเดิมที่เคยใช้มาในอดีต
ซึ่งวิธีการต่างๆ ในการแบ่งเขต ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นหลักกฎหมายในการปักปันเขตทางทะเลนั้น ศาลบอกว่าเป็นแค่วิธีการหนึ่งที่กฎหมายให้นำไปใช้ได้เท่านั้น ไม่ใช่หลักกฎหมายตายตัว ทั้งนี้เพราะสภาพแวดล้อมในแต่ละกรณีแตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิง
คำตัดสินนี้ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกพยายามหาวิธีการเพื่อขยายเขตทางทะเลในส่วนที่เป็นไหล่ทวีปกันเป็นการใหญ่ โดยพยายามหาทุกเหตุผลมาใช้เพื่ออ้างเขตไหล่ทวีปของตนเองให้ “เว่อร์” มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยหวังว่า อีกประเทศหนึ่งต้องมาเจรจากัน เมื่อต่างคนต่างอ้างไว้มากที่สุด ก็ต่างจะได้เปรียบในการเจรจาเพื่อหาข้อยุติมากขึ้นยิ่งเมื่อปรากฏว่าไหล่ทวีปคือแหล่งทรัพยากรธรรมชาติปิโตรเลียมด้วยแล้ว ทุกประเทศขออ้างมากที่สุดเอาไว้ก่อน
ต่อมาในปี 2516 ไทยจึงประกาศเขตไหล่หวีปในอ่าวไทยบ้าง โดยเส้นแนวเขตต้านบนกดลงทางทิศใต้อย่างมาก เนื่องจากการอ้างเส้นฐานตรงรอบเกาะกูด จนถึงแนวทำให้เราสามารถอ้างเขตทางทะเลกว้างใหญ่ไพศาลได้เช่นกัน ซึ่งก็แน่นอนว่ากัมพูชาก็จะไม่ยอมรับแนวเขดที่ไทยประกาศเพราะทับซ้อนกับที่กัมพูชาประกาศเอาไว้มากมาย
แต่ทำไมรัฐบาลทักษิณจะยอมไปเสียโง่ให้กับกัมพูชา ด้วยการไปยอมรับ สิ่งที่กัมพูชาลากเสียงเขตแดนมั่วๆ ตามตัวเอง และยอมรับว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ทั้งที่ดินมันคือพื้นแผ่นดินไทย 100%
การที่รัฐบาลไทยในสมัยทักษิณไปทำ MOU 44 หรือบันทึกข้อตกลงไทย-กัมพูชา ที่เกิดขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กลับไปยอมรับเส้นเขตแดนก็เท่ากับว่าไปรับรองสิ่งที่กัมพูชากำหนดขึ้นตามใจตนเอง
จนเกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทยกับกัมพูชา อยู่ด้านเหนือเส้นละติดจูด 141 องศาเหนือ โดยใต้เส้นนี้ลงมายังมีประเด็นสำคัญ เพราะคาดว่าเป็นแหล่งก๊าซ น้ำมัน จำนวนมหาศาล ที่ทำให้กลายเป็นว่ากัมพูชามีสิทธิในน่านน้ำซึ่งเป็นของไทย 100% มาแต่เดิม
ข้อเท็จจริงที่ไทยต้องทำคือ ต้องให้กัมพูชายอมถอยเส้นดังกล่าวออกไปจากเกาะกูดเสียก่อน จึงค่อยเริ่มกระบวนการเจรจากัน มิใช่ให้กัมพูชาขีดเส้นเขตแดนตามใจตนเอง
การที่อยู่ๆ ฮุนเซน มาเยี่ยมทักษิณในแทบจะทันทีที่ทักษิณกลับบ้านจันทร์ส่องหล้า ก็เป็นสัญญาณว่า 2 ผู้นำที่มีลักษณะเหมือนกันคือ เป็นผู้นำทางการเมืองและการปกครองตัวจริงของรัฐบาลพบกัน จะมีข้อตกลงที่ทำให้ไทยเสียดินแดนแบบมึนๆ อีกครั้ง โดยที่บางคนได้รับผลประโยชน์ส่วนตัวไปหรือไม่ เราคนไทยคงมีคำตอบในใจอยู่แล้ว
เพราะเขาคนนี้มีประวัติเรื่องการหากินกับการใช้ผลประโยชน์ของบ้านเมืองซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนรวม มาสร้างผลประโยชน์ส่วนตัว
อัษฎางค์ ยมนาค