”เมื่อแบงค์ชาติมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในขณะที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ“
หน้าที่หลักของแบงค์ชาติไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ เมื่อปี 2563 โดยหน้าที่สำคัญคือการสร้างความเชื่อมั่นภาคเศรษฐกิจให้กลับมา
หน้าที่ของคนแบงก์ชาติ “ถูกจ้างมาเพื่อกังวลแทนคนอื่น”
“ประเทศไทยไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนทางเศรษฐกิจมานาน เราซื้อเวลาด้วยการทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ให้ตัวเลขออกมาดูดี สนับสนุนให้คนเป็นหนี้กู้ง่าย การบริโภคก็เลยดูดี เศรษฐกิจก็โตขึ้นมาได้ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาระยะยาว”
หน้าที่หลักของแบงค์ชาติไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ดังนั้น บ่อยครั้งเมื่อรัฐบาลมีเป้าหมายในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดผลทันตาเห็น เช่นการแจกเงินดิจิทัลหนึ่งหมื่นบาทในครั้งนี้ ย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งกับเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพของแบงค์ชาติได้
นโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดผลทันตาเห็นเพื่อสร้างคะแนนนิยมหรือเพื่อทำตามนโยบายที่เคยหาเสียไว้ของพรรคแกนนำรัฐบาล ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับ “ปัจจุบัน” มากกว่า “อนาคต” นั้นอาจกลายเป็นการแทรกแซงหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของแบงค์ชาติไปโดยปริยาย
จนอาจทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจมากจนเกินไป เช่น อาจทำให้เงินเฟ้อสูงเกินไป หรือนำพาเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ หรือการใช้งบประมาณโดยไม่คำนึงถึงภาระการคลังในอนาคต ที่สร้างความเสี่ยงต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม
ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกจำเป็นต้องมีความเป็นอิสระจากการแทรกแซงจากฝั่งการเมือง เพื่อให้ธนาคารกลางดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ไม่ใช่เน้นแค่อัตราการเติบโตระยะสั้นเพียงอย่างเดียว
ไอเอ็มเอฟ ยังยืนยันถึงความสำคัญอย่างยิ่งที่ “ธนาคารกลางต้องมีความเป็นอิสระ“
รายงานของไอเอ็มเอฟฉบับหนึ่ง ได้ทำการศึกษาธนาคารกลางหลายสิบแห่งตั้งแต่ปี 2007 – 2021 แสดงให้เห็นว่า ธนาคารที่มีคะแนนความเป็นอิสระสูง มักประสบความสำเร็จมากกว่าการควบคุมการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของประชาชน ซึ่งช่วยให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ
รายงานการศึกษาของไอเอ็มเอฟอีกฉบับได้ติดตามการดำเนินงานของธนาคารกลางในละตินอเมริกา 17 แห่ง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา พบว่า ความเป็นอิสระที่มากขึ้น กลับมีความสัมพันธ์ที่ส่งผลลัพธ์จัดการเงินเฟ้อได้ดีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต้องต้องมีความโปร่งใส เพื่อแลกมาด้วยความเป็นอิสระ เนื่องจากการตัดสินใจของธนาคารกลางจะส่งผลกระทบกับคนทุกระดับ
หน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่การครอบงำ แต่เป็นการช่วยเหลือธนาคารกลางในสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ธนาคารกลางและรัฐบาลต่างต้องรักษาบทบาทตนเอง โดยทำให้การควบคุมอัตราเงินเฟ้อและผลลัพธ์การเติบโตและการจ้างงานที่ดี รวมถึงความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินที่ลดลง
สหรัฐอเมริกา ประเทศต้นแบบประชาธิปไตยและระบบการค้าเสรีมีโครงสร้างของธนาคารกลางที่เป็นอิสระด้วยกฎหมาย Federal Reserve Act มาตั้งแต่ปี 1951 และเพิ่มความเป็นอิสระมากขึ้นช่วงปลายทศวรรษ 1970s ต้น 1980s ในขณะที่ธนาคารกลางประเทศอื่นๆ เริ่มมีความเป็นอิสระในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา
ซึ่งความเป็นอิสระของธนาคารกลางได้รับยกย่องว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่รักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้น คำพูดของหัวหน้าพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลที่เคยเสนอนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินดิจิทัล ที่ออกมาช่วยนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นคนของพรรคว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอิสระจากรัฐบาลนั้นเป็นปัญหาและอุปสรรคในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ“
เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ที่บ่งบอกถึง ความอ่อนหัดและด้อยความรู้ทางด้านเศรษฐกิจและการเงินอย่างเห็นได้ชัด
ลองจินตนาการดูว่า ถ้าวันนึงข้างหน้า หัวหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนนี้ได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยจะมีจุดจบอย่างไร
อัษฎางค์ ยมนาค