ม็อบสามนิ้ว-ร้อยชื่อ ประท้วงเพื่อเรียกร้องอะไร
ตอนที่ ๒0
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
…………………………………………………..…………..
ทุกครั้งที่ผมเห็นหรือได้ยินคำพูดหรือถือป้ายโจมตีในทำนองว่า ทำไมคนไทยต้องเสียภาษีเลี้ยงดูพระมหากษัตริย์ แล้วผมอยากเดินไปตอบว่า
มีใครในโลกที่มีอาชีพการงานทำ โดยไม่มีเงินเดือนบ้าง
…………………………………………………..…………..
พระมหากษัตริย์ คือตำแหน่ง
พระมหากษัตริย์ คือตำแหน่ง ประมุขของประเทศ
นายกรัฐมนตรี คือตำแหน่ง ประมุขของรัฐบาล
ประธานรัฐสภา คือตำแหน่ง ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ
ประธานกรรมการบริษัท คือตำแหน่ง ประมุขของบริษัทเอกชน
ผู้อำนวยการโรงเรียน คือตำแหน่ง ประมุขของโรงเรียน
ตำแหน่ง ประมุข หรือถ้าจะเรียกอย่างแบบชาวบ้าน ก็เรียกได้ว่า เป็นตำแหน่ง หัวหน้าหรือผู้นำนั้นเอง
ซึ่งแต่ละตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าหรือลูกน้อง ย่อมจะมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานต่างกันไป และต้องได้รับเงินเดือนและสวัสดิการ ต่างกันไป ตามภาระและหน้าที่
…………………………………………………..…………..
ภาษี
ภาษี คือ เงินที่รัฐจัดเก็บจากประชาชนและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นรายได้นำมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น
สร้างความปลอดภัยให้กับภาคประชาชน
อำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน โรงพยาบาล ฯลฯ
สวัสดิการค่าเล่าเรียน
สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
ผลักดันส่งเสริมนวัตกรรมใหม่
เป็นต้น
การจะพัฒนาชาติได้ก็ต้องมีคนทำงาน ดังนั้นเงินภาษีส่วนใหญ่ก็คือเงินเดือนของข้าราชการ
พระมหากษัตริย์ คือ ตำแหน่งทางราชการ
…………………………………………………..…………..
รัฐถวาย”เงินเดือน”แด่สถาบันพระมหากษัตริย์ปีละ ๖๐ ล้านบาท หรือเดือนละ ๕ ล้านบาท
แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ และพระราชินี ไม่ทรงรับเงินปีนี้เลย นับตั้งแต่ในหลวงทรงขึ้นครองราชย์และพระราชินีได้รับการสถาปนา
มีใครในประเทศไทย หรือในโลกนี้ ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงาน ในงานราชการหรือเอกชน แล้วไม่รับเงินเดือนบ้าง ???
…………………………………………………..…………..
นอกจากไม่รับเงินเดือนแล้ว ยังทรงบริจาคเงินจาก”พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์” รวมไปถึงพระราชทานที่ดินอันเป็น”ทรัพย์สินส่วนพระองค์ “ ให้กับประชาชนผ่านทางหน่วยงานและโครงการต่างๆ มากมาย เป็นจำนวนเงินนับหมื่นนับแสนล้านบาทแล้ว
…………………………………………………..…………..
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
คือทรัพย์สินคนละกอง และคนละเรื่องกัน
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๑ เป็นกฎหมายในเรื่องสิทธิอันชอบธรรมในการดูแลพระราชมรดกแห่งพระราชวงศ์จักรี ได้แยก
• ทรัพย์สินส่วนพระองค์ หมายถึงทรัพย์สินในฐานะส่วนบุคคล
• ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หมายถึงทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ถูกแยกออกกันอย่างชัดเจน มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว แต่หลังจากปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราษฏร์จับมารวมกันทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย
ต่อมาเมื่อในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ขึ้นครองราชสมบัติ ได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ๒๕๖๐ และ ๒๕๖๑ ขึ้นเพื่อแยกทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ให้ชัดเจนอีกครั้ง
ทำให้ทรงจัดการพระราชทรัพย์ได้สะดวกและเป็นประโยชน์ได้ง่ายขึ้น และทำให้ทรงเสียภาษีอย่างถูกต้องได้ทั้งหมด
ในส่วนของ ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ได้รับการจัดการโดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นหน่วยราชการ
สิ่งที่เรียกว่า ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง ซึ่งไม่สามารถจะยกให้ใครได้ เพราะเป็นของชาติและจะตกเป็นของพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆ ไป เท่านั้น
ไม่ใช่อย่างที่หลอกกันและปั่นเป็นกระแสโจมตีให้ร้ายและบั่นทอนสถาบันพระมหากษัติย์ เพื่อต้องล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึงการล้มล้างการปกครอง
…………………………………………………..…………..
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ มาจากไหน?
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ คือทรัพย์สินที่เป็นเงินมรดก
ราชสกุลมหิดล มีทรัพย์สินส่วนพระองค์หรือเงินมรดกก้อนใหญ่ เนื่องจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือสมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเป็น พระภรรยาเจ้าของในหลวงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นสมเด็จปู่ของ รัชกาลที่ ๙
พูดภาษาชาวบ้านง่ายๆ ได้ว่า สมเด็จย่าของ ร.๙ ได้รับมรดกจาก ร.๕ ซึ่งเป็นสมเด็จปู่
แล้ว สมเด็จย่าของ ร.๙ นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความประหยัดแล้ว พระองค์ยังขยันทำมาหากิน ทั้งการค้าขาย ทำนา ทำโรงสีข้าว ทอผ้าไหม ถึงขนาดว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงตรัสเสมอว่า “แม่กลางร่ำรวย”
…………………………………………………..…………..
๑. ต่อยอดทำมาหากิน
๒.ใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์
๓.ทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์
คือสิ่งที่ถูกถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๘ รัชกาลที่ ๙ จนถึงรัชกาลที่ ๑๐ ในปัจจุบัน
…………………………………………………..…………..
๑.ต่อยอดทำมาหากิน
ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ให้ข้อมูลในส่วนนี้ว่า
“ที่ดินหมู่บ้านสัมมากรที่รามคำแหงก็เกิดจากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จทางเรือไปตามคลองแสนแสบเพื่อทรงหาซื้อที่ดินเพื่อการทำนา และต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ก็ทรงนำมาจัดสรรให้ประชาชนที่มีสัมมาชีพมีรายได้ไม่มากนักได้มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้าน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ในราชสกุลมหิดลทั้งสิ้น”
คิดกันง่ายๆ และผมขออธิบายกันง่ายๆ ด้วยภาษาชาวบ้าน ว่า ผู้ที่เป็นเมียเจ้า ย่อมได้รับเงินทองทรัพย์สมบัติเป็นมรดก แต่นอกจากจะมีมรดกแล้ว ก็ไม่ได้นั่งกินนอนกินเฉยๆ แต่กลับเป็นผู้ที่ขยันทำมาหากิน แถมยังเป็นผู้ที่ประหยัดมัธยัสถ์ คนแบบนี้ย่อมมีทรัพย์สมบัติตกทอดเป็นมรดกให้ลูกหลาน
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือเป็นสมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีพระราชโอรสและะพระราชธิดาหลายพระองค์ แต่ทรงอาภัพ เนื่องจากทะยอยสิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระชนมพรรษาน้อยๆ เรื่อยๆ สุดท้ายเหลือพระราชโอรส หรือลูกชายเพียงพระองค์เดียว นั้นคือ เจ้าฟ้ามหิดล พระราชบิดาของรัชกาลที่ ๙ สมเด็จปู่ของรัชกาลที่ ๑๐
ดังนั้นทรัพย์สมบัติ ตกมาที่”เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช” หรือ “ทูลกระหม่อมแดง” ทำให้ทรงเป็นเจ้านายที่ร่ำรวยมหาศาล
เรื่องนี้มีบันทึกเป็นหลักฐานชัดเจน โดยพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้ทรงบันทึกไว้ในหนังสือ “เกิดวังปารุสก์” ว่า
“…ทูลกระหม่อมอาแดงนั้น ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่ร่ำรวยมั่งคั่งมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ในบรรดาเจ้าฟ้าด้วยกัน”
นอกจากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าและเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช จะมีทรัพย์สินมหาศาล แต่พระราชวงศ์ในราชสกุลมหิดล ล้วนได้รับการอบรมสั่งสอนสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น ให้รู้จัก ทำมาหากิน และใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์ ที่สำคัญรู้จักทำบุญบริจาคทรัพย์
“ต่อยอดทำมาหากิน และใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์ ที่สำคัญรู้จักทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์”
คือสิ่งที่ถูกถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๘ รัชกาลที่ ๙ จนถึงรัชกาลที่ ๑๐ ในปัจจุบัน
ทุกพระองค์ ทุกรุ่น ที่ล้วนได้รับมรดกมากมายมหาศาล ยังคงรู้จัก ต่อยอดทำมาหากิน และใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์ ที่สำคัญรู้จักทำบุญบริจาคทรัพย์
ไม่ใช่อย่างที่หลอกกันและปั่นเป็นกระแสโจมตีให้ร้ายและบั่นทอนสถาบันพระมหากษัติย์ เพื่อต้องล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ อันหมายถึงการล้มล้างการปกครอง
…………………………………………………..…………..
ขอยกตัวอย่างในเรื่องการทำมาหากิน โดยทรงเป็นหุ้นใหญ่ใน บมจ. ปูนซิเมนต์ไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งได้รับมรดกนี้มาจากรัชกาลที่ ๖
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานวันนี้ (๖ ต.ค.๒๕๖๑) ว่า มูลค่าของธุรกรรมการโอนหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ที่ราว ๑.๖๙ หมื่นล้านบาท ถ้า สนง.ทรัพย์สินฯ ยังถือหุ้นสัดส่วน ๓.๓๓% นี้ต่อไป จะได้ผลตอบแทนจากเงินปันผลอีกปีละ ๖๐๐ ล้านบาทต่อปี บนสมมติฐานของอัตราผลตอบแทนปัจจุบัน(ปี ๒๕๖๑) ที่ ๓.๖๒ % ต่อปี
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานด้วยว่า สนง.ทรัพย์สินฯ ยังถือหุ้น ๓.๐๘ % ใน บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย มูลค่าทรัพย์สินที่ถือใน บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีรวมกันถึง ๒.๘ แสนล้านบาท
รอยเตอร์อ้างอดีตเจ้าหน้าที่คนหนึ่งใน สนง. ทรัพย์สินฯว่า ผลตอบแทนจากหุ้นบมจ. ปูนซิเมนต์ไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีสัดส่วนราว ๘๐ % ของรายได้รวมต่อปีของ สนง. ทรัพย์สินฯ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา
คุณคิดว่าผู้ที่มีทรัพย์สมบัติและรายได้มากมายมหาศาลขนาดนี้ จะมากินเงินภาษีเล็กน้อยๆ เพื่อให้เกิดคำครหาที่สั่นครอนสถาบันฯ เพื่ออะไร? คุ้มหรือ?
ที่สำคัญ คนที่ออกมาโจมตีในหลวงเรื่องใช้เงินภาษีนั้น บางคนจ่ายภาษีตำ่กว่าความเป็นจริง บางคนไม่เคยจ่ายภาษีจากรายได้ของตนเลยด้วยซ้ำ
ในขณะที่ในหลวงชำระภาษีจากรายได้ทุกบาททุกสตางค์ถูกต้องตามกฎหมาย
…………………………………………………..…………..
๒.ใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์
พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้ทรงบันทึกไว้ในหนังสือ “เกิดวังปารุสก์” ว่า
“…ทูลกระหม่อมอาแดงนั้น ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่ร่ำรวยมั่งคั่งมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ในบรรดาเจ้าฟ้าด้วยกัน แต่ท่านทรงระมัดระวังกระเหม็ดกระแหม่ในการใช้จ่ายเป็นที่สุด แทนที่จะเสด็จไปประทับโฮเต็ลชั้นเอก กลับประทับโฮเต็ลที่ซอมซ่อที่สุดอยู่ใกล้ ๆ สถานทูต อันเป็นทำเลที่ไม่หรูหราเสียเลยในกรุงลอนดอน…”
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ในฐานะ “หลานอา” ทรงบันทึกไว้
เจ้านายหลายพระองค์ ต่างบันทึกไว้สอดคล้องกันว่า เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชนั้น “ท่านต้องการจะเก็บรายได้ของท่านไว้เป็นส่วนมากเพื่อทำการกุศลอย่างมากมาย ด้วยเหตุนี้ผู้ซึ่งรู้จักทูลกระหม่อมอาแดงดี จึงรักใคร่นับถือบูชาท่านอย่างดูดดื่ม”
นอกจากนี้หลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานที่สำคัญ คือคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ย่อมทราบกับทั่วไปและการันตียืนยันถึงความประหยัดมัธมัธยัสถ์ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ได้ชัดเจนเป็นอย่างดี
รวมทั้งในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ก็ทำตามเบื้องพระยุคลบาทในหลวงรัชกาลที่ ๙ เห็นได้ชัดเจน
ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ให้ข้อมูลในส่วนนี้ว่า
เงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีของประชาชนสำหรับสำนักพระราชวัง นั้น โปรดให้ใช้เฉพาะในส่วนของหมวดค่าจ้างเงินเดือน หมวดค่าดำเนินการ และหมวดค่าสาธารณูปโภค เท่านั้น
ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงห้ามสำนักพระราชวังตั้งของบพัสดุ ครุภัณฑ์ และงบอื่นใดๆ จาก สำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง ทั้งๆ ที่ทรงตั้งงบประมาณได้ เช่นเดียวกันกับหน่วยราชการอื่น ๆ
และหากมีการตั้งเบิก จะต้องตั้งฎีกาไปที่กรมบัญชีกลาง เช่นเดียวกันกับหน่วยงานราชการอื่นๆ ทุกประการ นอกจากนี้ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกรายการที่กฎหมาย
ทั้งที่สำนักพระราชวัง เป็นหน่วยงานราชการหนึ่งเหมือนหน่วยงานราชการทั่วไปในประเทศไทย หรือแม้แต่ประเทศต่าง ๆ ที่ปกครองด้วยระบอบ ประชชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั่วโลก ก็มีงบประมาณในส่วนนี้เหมือนกันทั้งโลก
แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ขอรับงบประมาณเฉพาะส่วนที่เป็นเงินเดือนของข้าราชการเท่านั้น ส่วนอื่นๆ แทบไม่ขอรับงบประมาณจากเงินภาษีเลย
…………………………………………………..…………..
๓ ทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์
จากมรดกมากมายมหาศาล แต่ยังคงรู้จัก ต่อยอดทำมาหากิน และใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์ ที่สำคัญรู้จักทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์ ตามที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาจากรุ่นสู่รุ่นในราชวงศ์
ทำให้ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งเป็นรัชกาลปัจจุบัน ยังคงทรงงานและทรงใช้พระราชทรัพย์ในการทรงงานเพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน สืบสาน ต่อยอดเพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้
ตัวอย่างหนึ่งคือ การที่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ พระราชทานที่ดินมากมายที่เคยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้หน่วยราชการจำนวนมากเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่งมีมูลค่านับหลายแสนล้านบาทนั้น ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างที่ประเมิณค่ามิได้
…………………………………………………..…………..
อ่านมาจนจบแล้ว ท่านคงเห็นภาพรวมทั้งหมดแล้วว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในราชวงศ์จักรี จากราชสกุลมหิดลนี้ ทรงอยู่ในราชบัลลังก์อย่างสง่างาม ถูกต้องตามกฎหมายและครรลองครองธรรม
ด้วยปณิฐานซึ่งอาจถือเป็นคุณลักษณะเฉพาะ
๑. ต่อยอดทำมาหากิน
๒.ใช้สอยอย่างประหยัดมัธมัธยัสถ์
๓.ทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อสาธารณะประโยชน์
คือส่ิงที่ถูกถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๘ รัชกาลที่ ๙ จนถึงรัชกาลที่ ๑๐ ในปัจจุบัน