พิธาให้สัมภาษณ์สำนักข่าว DW ของเยอรมันด้วยข้อมูลที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง หรือไม่?
ขอเริ่มต้นที่ประเด็นแรก
พิธาเริ่มต้นว่า….
มันเป็นความสูญเสียอันน่าเศร้าของประเทศไทยในฐานะชาติที่มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวหนุ่มสาวซึ่งเรียกร้อง
• กฎแห่งกฎหมายแทนการใช้อำนาจตามกฎหมาย
• การควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย และนั่นคือสิ่งที่เธอต้องการต่อสู้
• อีกทั้งสิทธิในการประกันตัวและหลักการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
สิ่งเหล่านี้เป็นสามสิ่งสำคัญที่เธอต่อสู้
แน่นอนว่าการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นจุดสำคัญตั้งแต่แรก
แต่เพราะเธอถูกปฏิเสธสิทธิในการประกันตัว นั่นจึงทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนที่ถูกควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดีต้องอดอาหารประท้วง
และเธอไม่ใช่คนเดียว ฉันรู้สึกเจ็บปวดใจสำหรับครอบครัวของเธอที่ต้องเผชิญกับเรื่องนี้แบบนี้ ควรมีการเจรจาหรือการสนทนาที่ไม่ต้องสูญเสียชีวิต
………………………………………………………………………….
ไปตามหาความจริงด้วยกัน
ย้อนดูไทม์ไลน์ วันที่ 8 ก.พ. 2565 เริ่มต้นบุ้งและพวกร่วมทำกิจกรรมสอบถามประชาชนว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือไม่ ซึ่งศาลตัดสินว่า “เป็นการสื่อความหมายเป็นการโจมตีเรื่องขบวนเสด็จ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนละเมิดกฎหมายแผ่นดิน”
ทั้งที่ขบวนเสด็จเป็นการถวายความปลอดภัยให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกล้วนต้องมีการรักษาความปลอดภัยให้กับขบวนของประมุขหรือบุคคลสำคัญของชาติ
ทั้งนี้ อัยการไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งแปดในระหว่างพิจารณา โดยระบุให้อยู่ในดุลพินิจของศาล
”ซึ่งศาลอนุญาตให้ได้รับประกันตัว“
ทั้งนี้ศาลได้กำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยการห้ามทำกิจกรรมในลักษณะเดียวกับที่ถูกดำเนินคดี อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, ห้ามปลุกปั่น ยั่วยุ หรือชักชวนให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุม หรือเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
จากเหตการณ์ต้นเรื่องดังกล่าวทำให้บุ้งถูกจำคุก 2 ครั้ง เนื่องจากหลังจากได้รับการประกันตัวแล้วยังละเมิดเงื่อนไขการปล่อยตัวด้วยการทำผิดซ้ำ
3 พฤษภาคม 2565
ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งถอนการประกันตัวบุ้ง สมาชิกทะลุวัง จากการจัดกิจกรรมสอบถามความเห็นของกลุ่มทะลุวังสองครั้ง
ครั้งที่หนึ่ง การทำโพลสอบถามความเห็น “คุณยินดียกบ้านให้กับราชวงศ์หรือไม่” เมื่อ 13 มีนาคม 2565 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ครั้งที่สอง การทำโพลสอบถามความเห็น “ต้องการจ่ายภาษีเลี้ยงราชวงศ์หรือไม่” เมื่อ 31 มีนาคม 2565 บริเวณสกายวอล์คหน้าบิ๊กซีราชดำริและแยกราชประสงค์
โดยศาลเห็นว่า เป็นการกระทำในลักษณะทำนองเดียวกันกับการกระทำที่เป็นเหตุให้ผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีและชักจูงและเชิญชวนให้ประชาชนคนทั่วไปเข้าร่วมชุมนุม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมได้
วันที่ 4 ส.ค.2565
ได้รับการประกันตัวหลังทนายเข้ายื่นคำร้องขอประกันตัวบุ้ง เป็นจำนวนกว่า 8 ครั้ง หลังจากถูกคุมขังกว่า 94 วัน
วันที่ 19 ต.ค.2566.
ถูกคุมขังครั้งที่ 2 ศาลสั่งจำคุก “บุ้ง ทะลุวัง” 1 เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล ปมทะเลาะทำร้ายตำรวจศาล
ทนายความเปิดเผยว่า วันนี้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราว เนติพร หรือ บุ้ง เนื่องจากไปชุมนุมเรียกร้องให้ถอดถอนวุฒิสมาชิก และปรากฏหลักฐานเป็นภาพถ่ายว่าเป็นบุคคลที่ไปพ่นสีธงสัญลักษณ์เบื้องสูง
ซึ่งศาลถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล ลงโทษจำคุก 1 เดือน
ดังนั้น การที่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวก็เพราะ “ศาลเคยให้โอกาสปล่อยตัวชั่วคราว แต่จำเลยกระทำผิดเงื่อนไขที่ศาลกำหนด
ภายหลังการถูกคุมขังในทัณฑสถานหญิงกรุงเทพฯ ในวันที่ 27 ม.ค.2567 จากนั้นบุ้งประกาศอดอาหารและน้ำประท้วง (Dry Hunger Strike) จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 โดยรวมแล้วบุ้งอดอาหารทั้งหมด 108 วัน ก่อนจะเสียชีวิต
บุ้งได้ปฏิบัติการอดอาหารและน้ำเพื่อประท้วง โดยมี 2 ข้อเรียกร้อง ดังนี้
1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
2. จะต้องไม่มีคนเห็นต่างทางการเมืองถูกคุมขังอีก
จะเห็นได้ว่า ข้อเรียกร้องของบุ้งและผู้สนับสนุน ให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยไม่มีคนเห็นต่างทางการเมืองถูกคุมขัง และได้รับสิทธิ์ประกันตัวนั้น เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เพราะบุ้งและพวกละเมิดกฏหมาย ในทุกประเทศทั่วโลก ไม่มีใครสามารถอ้างสิทธิส่วนบุคคล เพื่อไปดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายและละเมิดสิทธิของผู้อื่น
กฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้เป็นกฎหมายลิดรอนสิทธิของประชาชนและไม่ใช่กฎหมายที่ห้ามแสดงความเห็นทางการเมือง แต่เป็นกฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐ ซึ่งทุกประเทศในโลก ไม่ว่าจะมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดี ก็มีกฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐเช่นกัน
ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้คือ บุ้งไม่ได้ติดคุกเพราะแสดงความเห็นต่างทางการเมืองและหลังจากถูกดำเนินคดี เธอได้รับสิทธิการประกันตัวเหมือนทุกคน
นี่คือ the rule of law ไม่ใช่ rule by law
ดังนั้น เรื่องที่พิธาให้สัมภาษณ์กับ DW ว่า มี 3 เรื่องสำคัญที่บุ้งต่อสู้ นั้นบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง
การที่พิธาเอาเรื่องนี้ไปให้สัมภาษณ์เพื่อบอกกับชาวโลกผ่านสื่อยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี เป็นการแสดงว่าพิธาและพรรคก้าวไกล เป็นแนวร่วมกับบุ้งและพวก ในการตั้งใจละเมิดกฎหมาย “ด้วยมีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเหตให้ชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง นำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด” ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของพรรคก้าวไกล หรือไม่
………………………………………………………………………….
Pita gave an interview to the German news agency DW with information that is distorted from the truth.
Pita told DW that….
“It’s a tragic loss for Thailand as a nation, where a group of young activists was asking for the rule of law instead of rule by law. Detention before trial happens in Thailand, and that’s what she wanted to fight against. She also fought for the right to bail and the presumption of innocence.
These were the three core issues she was advocating for. Of course, the reform of the lèse-majesté law was a key point from the very beginning.
However, because she was refused the right to bail, many younger generations detained before trial went on hunger strikes.
She is not the only one, and I just feel the pain inside for her family that she had to go through it this way. There should be a way of negotiating or a kind of dialogue that doesn’t have to cost lives.”
………………………………………………………………………….
Let’s seek out the truth together.
Let’s rewind the timeline to February 8, 2022. It all began with Bung Netiporn and her cohorts conducting a survey asking whether the royal motorcade caused inconvenience. The court deemed it “an attack on the royal motorcade aimed at inciting unrest and lawlessness, leading to potential destabilisation within the kingdom, and encouraging citizens to violate territorial laws.”
The royal procession serves as a gesture of security for the monarchy, a practice observed universally where every nation must ensure the security of the monarch’s or president’s procession, as well as important figures of the nation.
In this regard, the prosecution did not object to the temporary release on bail for all eight defendants during the trial, specifying that it was at the discretion of the court.
The court granted bail, with conditions prohibiting engagement in activities similar to those subject to the ongoing legal proceedings, which could potentially undermine the monarchy, incite unrest, or encourage participation in gatherings likely to cause turmoil within the nation.
Following these events, Netiporn was incarcerated twice for violating the terms of her bail by repeating the offense.
On May 3, 2022, Bangkok South Criminal Court issued an order to revoke the bail of Bung, along with other members of the Talaewang group, following their participation in activities to survey opinions twice.
The first instance involved conducting a poll to inquire, “Are you willing to sacrifice your house for the monarchy?” on March 13, 2565, at the Victory Monument.
The second instance involved conducting a poll to inquire, “Do you want to pay taxes to support the monarchy?” on March 31, 2565, at the Skywalk in front of Big C Ratchadamri and Ratchaprasong Intersection.
The court deemed it to be an act similar in nature to the actions that led to the defendants being prosecuted, enticing and inviting the general public to participate in demonstrations, which could potentially cause unrest and instability in society.
On August 4, 2022, Bung received bail after her lawyer filed a bail application more than 8 times, following over 94 days of detention.
On October 19, 2566, Bung was detained for the second time. The court sentenced “Bung Taluewang” to one month in prison for contempt of court and assaulting a court police officer.
The prosecutor revealed that today the court issued an order to revoke the bail of Netiporn or Bung due to their participation in a protest demanding the revocation of the qualifications of members. Evidence emerged in the form of photographs depicting them as individuals involved in spraying paint on high-level symbols.
Therefore, the court deemed it a violation of its authority and sentenced them to one month in prison. Thus, the court’s refusal to grant bail stems from the fact that “the court had previously provided the opportunity for temporary release, but the accused violated the conditions set by the court.”
After being detained in the women’s prison in Bangkok, on January 27, 2024, Bung declared a dry hunger strike until May 14, 2567. In total, she abstained from food for 108 days.
Bung undertook a hunger and water strike as a form of protest, with two demands:
1. Reform of the judicial process.
2. Ensuring that individuals with political dissent are not imprisoned again.
It can be seen that Bung’s and her supporters’ demands for judicial reform is to ensure that individuals with political dissent are not imprisoned again while receiving bail however this is a distortion of reality for political gain.
It should be noted that any person claiming personal rights to defame, insult, harm, or violate the rights of others is universally prohibited. Bung and her supporters have participated in violating this right but claims to use her “personal rights” by defaming and insulting the Monarchy to serve their political agendas.
Therefore, the truth of the matter is that she was not imprisoned for expressing political dissent, and after legal proceedings, she was granted bail like everyone else.
“Article 112 in Thailand, aimed at safeguarding and honoring the monarchy, is not a law that restricts people’s rights to express political opinions. Similar protective legislation exists in other nations for their heads of state. Every country in the world, whether it has a monarch or a president, has laws protecting the head of state.”
The fact is that Bung was not imprisoned for expressing political dissent and, after being prosecuted, she was granted the right to bail like everyone else.
This is the rule of law, not rule by law.
Therefore, Pita’s interview with DW, where he claimed that Bung was fighting for three key issues, is a distortion of the facts.
By giving this interview to a major German news outlet, Pita and the Move Forward Party are aligning themselves with Bung and her group in their intentional violations of the law, with the intent to undermine the monarchy, leading to its deterioration, weakening, or eventual collapse, and ultimately to the overthrow of the democratic system with the King as Head of State,” as previously determined by the Constitutional Court regarding Move Forward Party’s election campaign policies.
………………………………………………………………………….
Eddie Atsadang
อัษฎางค์ ยมนาค