ทำไม?
ในเมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่า “การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยการแก้ไขหรือยกเลิก ม.112 เป็นการล้มเจ้าและล้มล้างการปกครอง” แต่รัฐยังปล่อยให้พวกเขาเติบโตขึ้นมาสนับสนุนพรรคที่มีแนวนโยบายที่สอดคล้องกันจนจะตั้งรัฐบาลเพื่อดำเนินการตามข้อเรียกร้องที่ศาลวินิจฉัยแล้วว่ามันคือการ ”ล้มเจ้าและล้มล้างการปกครอง”
ออกมาตอบประชาชนด้วยว่า ทำไม?
………………………………………………………………………
10 พฤศจิกายน 2564 ศาลรัฐธรรมนูญขึ้นบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยว่า เรื่องพิจารณาที่ 19/2563 คำวินิจฉัยที่ 19/2564 วันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน 2564
•1 รัฐธรรมนูญมีบทลักษณะการห้ามใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
•2 การใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและทรงอยู่เหนือความรับผิดชอบทางการเมือง ตามหลักกกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้
•3 การเสนอให้มีการยกเลิก ม.112 อันเป็นกฎหมายที่ห้ามผู้ใดล่วงละเมิด หมิ่นประมาท หมิ่นพระบรมเดชนุภาพของพระมหากษัตริย์ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ในสถานะที่เคารพสักการะ อันนำไปสู่การสร้างความปั่นป่วนและความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน
เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่เกินความพอเหมาะพอควร โดยมีผลทำให้กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและจะนำไปสู่การบ่อนทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด
•4 พระมหากษัตริย์กับชาติไทยดำรงอยู่คู่กัน เป็นเนื้อเดียวกันนับแต่อดีตถึงปัจจุบันและจะดำรงอยู่ด้วยกันต่อไปใอนาคต แม้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว ปวงชนชาวไทยยังเห็นพ้องร่วมกันอัญเชิญพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นสถาบันหลักของชาติไทยและถวายความเคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อธำรงความเป็นชาติไทยไว้ดังปรากฏในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475
•5 โดยมาตรา 1 บัญญัติว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของราษฎรทั้งหลาย มาตรา 2 บัญญัติว่า เมื่อมีบุคคลและคณะบุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎร ดังที่จะกล่าวต่อไปในรัฐธรรมนูญคือ หนึ่ง กษัตริย์ สอง สภาผู้แทนราษฎร สาม คณะกรรมการราษฎร สี่ ศาล มาตรา 3 บัญญัติว่า กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆที่จะมีกฎหมายไว้เฉพาะก็ดีจะต้องกระทำในนามกษัตริย์
•6 การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเมื่อปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรยังเห็นพ้องกันอัญเชิญพระมหากษัตริย์เพื่อทรงเป็นสถาบันหลักที่ยังต้องคงอยู่กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเรียกรูปแบบการปกครองนี้ว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
•7 ดังนั้น ข้อเรียกร้องเรื่องการยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้รับรองพระราชฐานะขององค์พระมหากษัตริย์ในฐานะทรงเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งผู้ใดจะกล่าวหาละเมิดไม่ได้นั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์โดยชัดแจ้ง
•8 การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
•9 การออกมาเรียกร้องโจมตีในที่สาธารณะโดยอ้างการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นอกจากเป็นวิถีที่ไม่ถูกต้อง ใช้ถ้อยคำหยาบคายและยังจะละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนอื่นที่เห็นต่างได้ด้วย
•10 การเคลื่อนไหวของและกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเป็นขบวนการเดียวกันที่มีเจตนาเดียวกันตั้งแต่แรก ซึ่งมีลักษณะของการปลุกระดมและใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ มีลักษณะของการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและใช้ความรุนแรงในสังคม
•11 การกระทำใดๆ ที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสลายไป ไม่ว่าจะโดยวิธีการพูด การเขียน หรือการกระทำต่างๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นการบ่อนทำลาย ด้อยคุณค่าหรือทำให้อ่อนแอลง ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีเจตนาเพื่อล้มล้างสถาบันกษัตริย์
•12 นอกจากนี้ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า การชุมนุมหลายครั้งมีการทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ การแสดงออกโดยลบแถบสีน้ำเงิน ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ ออกจากธงไตรรงค์ ข้อเรียกร้องสิบข้อของผู้ถูกร้องที่หนึ่ง ที่สองและที่สามเช่น การยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ การยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล การยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
เป็นข้อเรียกร้องที่ทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เป็นไม่ตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของชาติไทยที่ยึดถือปฏิบัติกันมาตลอดมา
•13 ทั้งพฤติการณ์และเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการกระทำให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจในการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ ที่มีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิใช่เป็นการปฏิรูป
การใช้สิทธิหรือเสรีภาพของผู้ถูกร้อง เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย
มีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
………………………………………………………………………
ทำไมเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ที่ระบุชัดเจนว่า คนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่ “มีเจตนาทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์โดยชัดแจ้ง และมีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
แต่ไม่เคยมีการดำเนินการหรือดำเนินคดีใดๆ และมีการปล่อยให้ผู้ชุมชมหรือผู้สนับสนุนการชุมนุมเติบโตและมีอำนาจหรืออิทธิพลทางความคิด และเผยแพร่แนวความคิดที่ศาลวินิจฉัยว่า “มีเจตนาทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์โดยชัดแจ้ง และมีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ออกไปในวงกว้างขวางเพิ่มมากขึ้น
สุดท้ายคนกลุ่มนี้บางคนกลายเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายสอดคล้องกับข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมนี้ มิหนำซ้ำบางคนกลายมาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดพรรคการเมืองที่มีนโยบายสอดคล้องกับข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมนี้และได้รับเลือกตั้งเป็น สส.ในที่สุด
ทำไมรัฐปล่อยให้คนกลุ่มนี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “มีเจตนาทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์โดยชัดแจ้ง และมีมูลเหตุจูงใจเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เติบโตจนชนะการเลือกตั้ง และกำลังจะเข้ามาเป็นรัฐบาลเพื่อต่อยอดสิ่งที่ผุ้ชุมชุนเรียกร้องให้สำเร็จเป็นรูปธรรม
ซึ่งสิ่งนั้นคือ “การมีเจตนาทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
………………………………………………………………………
อัษฎางค์ ยมนาค