เอาทหารไปสอนประวัติศาสตร์ ทำไม?
“ตอนที่ ๒ คำตอบว่าทำไมถึงเอาทหารมาสอน“
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
……………………………………………………………………….
ทำไมเอาทหารไปสอนครูประวัติศาสตร์?
ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ว่า การสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับประถม-มัธยม ที่กระทรวงกำลังทำอยู่ในขณะนี้
เป็นการแก้เกมพวกครูด้อมส้มที่มีอยู่เกลื่อนประเทศเลย
แก้เกมโดยการ
๑. หัวข้อที่จะนำไปสอนเด็กตรงนี้พวกครูด้อมส้มจะไม่สามารถบิดเบือนได้เลย
๒. ที่กระทรวงศึกษากำหนดหลักสูตรการอบรมให้แก่ครูที่เป็นตัวแทนเขต ใช้เวลาอยู่ 4-5 วัน เป็นการฝึกเทคนิคการสอนเด็กจากทหารที่เก่งทาง “ปฏิบัติการจิตวิทยา” เป็นเทคนิคการปลูกฝังทัศนคติ ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน
ปลุกเร้าให้เด็กเกิดความรักชาติ ผ่านบทบาทสมมุติ
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรของกระทรวงศึกษา ที่ขอความร่วมมือจากทหารจิตอาสา 904 ให้มาร่วมเป็นวิทยากร เพราะทหารมีความเชี่ยวชาญในเรื่อง “ปฏิบัติการจิตวิทยา” โดยทหารหรืออาจารย์พลเรือนในสังกัดทหารจะวางตำแหน่งหน้าที่เป็น “โค้ช” เพื่อฝึกอบรม
……………………………………………………………………….
จะพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ให้แก่เด็กได้อย่างไร
๑. เอาเนื้อหาที่เป็นจริงซึ่งกำหนดเป็นหลักสูตรอยู่แล้ว ออกมาเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเด็ก ผ่านการฝึกไปที่ครู
๒. เทคนิคการปลูกฝังให้เด็กรักชาติ ให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อความเป็นชาติไทย ต่างๆ เหล่านี้ ทหารเขาจะออกแบบกิจกรรมมาฝึกครูที่เข้าอบรม เป็นกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมสนุกสนานต่างๆ แล้วให้เขาไปขยายผลต่อครูในเขตพื้นที่ เพื่อนำไปพัฒนาเด็กต่อไป
……………………………………………………………………….
ถ้าพิจารณาเนื้อหาของการอบรมจะพบว่า เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ คือมีทั้งภาคความรู้และภาคปฏิบัติ
ภาคความรู้ก็คือการสอนเนื้อหา ด้วยวิธีบรรยาย ชมภาพยนตร์ ฯลฯ
โดยการสอนภาพความรู้มีหลักคิดดังนี้
• เนื้อหา ต้องเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ที่กระทรวงกำหนดเป็นหลักสูตรไว้แล้ว
• เนื้อหานี้จะเป็นกรอบให้ครูนำไปสอนเด็กให้ตรงกับข้อเท็จจริง จะนำไปบิดเบือนไม่ได้ (เป็นการควบคุมเนื้อหา ไม่ให้ครูด้อมส้มนำไปบิดเบือนได้อีก)
ภาคปฏิบัติก็คือ การสอนผ่านกิจกรรมต่างๆที่สนุกสนาน ให้ผู้เรียนได้ออกมาปฏิบัติกิจกรรม(คล้ายๆ กับการเรียนลูกเสือ)
โดยวิทยากรผู้ชำนาญการจะเป็นผู้นำฝึก(ทหาร)
กิจกรรมภาคปฏิบัตินี้ จะมุ่งปรับทัศนคติ ปลูกฝังความรักชาติ สร้างค่านิยมที่ถูกต้องในความเป็นคนไทย เห็นคุณค่าของความเสียสละของบรรพบุรุษ รวมทั้งปลูกฝังให้มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณของบ้านเมือง ฯลฯ
ซึ่งอาจจะนำพระราชกรณียกิจต่างๆของพระมหากษัตริย์ หรือความเสียสละของบรรพบุรุษในแต่ละยุคสมัย การต่อสู้ด้วยความยากลำบากเพื่อรักษาบ้านเมืองเอาไว้ หรืออื่นๆที่เหมาะกับการนำมาสร้างเจตคติที่ดีให้กับผู้เรียนนำประเด็นเหล่านี้แหละมาเป็นองค์ประกอบในการจัดกิจกรรม ฯลฯ
ซึ่งการฝึกภาคปฏิบัตินี้ มุ่งพัฒนาด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ปลูกฝังความรักชาติต่างๆ
การเรียนรู้แบบนี้ ต้องผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน ให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ ค่อยๆหยอดความคิดความอ่าน หยอดทัศนคติ ป้อนผ่านกิจกรรม ทีละน้อยทีละน้อย ฯลฯ**นี่คือคำตอบว่า ทำไมถึงเอาทหารมาสอน**
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ผู้เข้ารับการอบรม จะต้องนำไปขยายผลต่อในระดับเขตพื้นที่ และ สพฐ.เองก็ต้องมีการติดตามประเมินผล ตามระบบการทำงานของโครงการต่างๆ เป็นปกติอยู่แล้ว (เชิงระบบ)
……………………………………………………………………….
รายละเอียดของเนื้อหาในการอบรม
สวก. ขอนำเรียนข้อมูลการจัดประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ระหว่างวันที่ ๒๙ พ.ค. – ๒ มิ.ย. ๒๕๖๗ ดังนี้
๑. ระยะเวลาในการอบรม จำนวน ๕ วัน ๔ คืน รวม ๔๓ ชั่วโมง มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
๒. กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม คือ ครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ จำนวน ๒๔๕ คน จาก ๒๔๕ เขตพื้นที่การศึกษา โดยได้มาจากการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกครูผู้สอนที่มีความสมัครใจเข้ารับการอบรม ซึ่ง สพฐ./สพท. ไม่ได้มีการบังคับหรือยัดเยียดให้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้
๓. เนื้อหาการอบรม เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย ประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และพระราชกรณียกิจของพระบรมวงษานุวงศ์ทุกพระองค์
๔. วิธีการอบรม เป็นลักษณะของการเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์ตามเนื้อหาของหลักสูตรอบรม และจัดกิจกรรมกลุ่ม โดยมีการอภิปราย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
๕. หลังการอบรม มีการประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม เพื่อสะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรม มีการฝึกปฏิบัติ ด้วยการสอบปฏิบัติเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมได้บรรยายองค์ความรู้ สะท้อนความรู้สึก ความคิดทางประวัติศาสตร์
๖. วิทยากรการอบรม เป็นวิทยากรจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ประกอบด้วย (๑)นายกองเอก ธารณา คชเสนี (๒)นายหมวดตรี น้ำเพชร คชเสนี สัตยารักษ์ และ (๓) ดร.ลักษิกา เจริญศรี และวิทยากรผู้ช่วยจากกองพลทหารราบ จำนวน ๓๓ คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน
๗. ผลที่ได้จากการเข้ารับการอบรมครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ได้รับองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่เป็นสาระความรู้ที่สำคัญ ได้รับเทคนิคการสอนผ่านการเล่าเรื่องพร้อมทั้งให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านการตั้งคำถาม
……………………………………………………………………….
**นี่คือคำตอบว่า ทำไมถึงเอาทหารมาสอน**
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ผู้เข้ารับการอบรม จะต้องนำไปขยายผลต่อในระดับเขตพื้นที่ และ สพฐ.เองก็ต้องมีการติดตามประเมินผล ตามระบบการทำงานของโครงการต่างๆ เป็นปกติอยู่แล้ว (เชิงระบบ)
เมื่อกลุ่มสอนเด็กให้ชังชาติเติบโต คนก็ด่ารัฐ
พอรัฐหาทางรับมือ โดยขอให้ทหารซึ่งมีความเชี่ยวชาญมาช่วย ก็ด่าทหาร ด่ารัฐ
จะเอายังไงกันประเทศไทย ?
……………………………………………………………………….