ทำไมในหลวงรัชกาลที่ 9 เซ็นรัฐประหาร?
มีการปล่อยข่าวเท็จว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 สั่งให้ทำรัฐประหารเพราะเป็นคนเซ็นรัฐประหาร หรือในหลวงรัชกาลที่ 10 โปรดเกล้าให้ทักษิณกลับไทย ความจริงคืออะไร ตามมาศึกษาด้วยกัน
การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในอดีต ก็เคยมีสภาและคณะองคมนตรี โดยพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นคือผู้ที่มีอำนาจอย่างแท้จริงเต็มรูปแบบ ในการออกกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีสภาหรือคณะองคมนตรีทำหน้าที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือ
ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่ยังคงมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ โดยที่พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจในทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดืนอีกต่อไป
ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบระบบรัฐสภา และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะมีการแยกประมุขของรัฐ (Head of State) ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์ และหัวหน้ารัฐบาล (Head of government) อันได้แก่นายกรัฐมนตรี ออกจากกัน
โดยหลักแล้วพระมหากษัตริย์จะไม่มีพระราชอำนาจที่แท้จริงในการบริหารประเทศ แต่พระมหากษัตริย์ก็อาจมี”พระราชอำนาจตามธรรมเนียมปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ” เช่น
•การให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี
•การให้การสนับสนุนและการว่ากล่าวตักเตือน
ผู้ที่มีอำนาจในทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงคือ หัวหน้ารัฐบาล (Head of government) ซึ่งก็คือ นายกรัฐมนตรี (ในภาวะปกติ) หรือหัวหน้าคณะรัฐประหาร (ในภาวะไม่ปกติ)
การใช้อำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ต้องใช้ในนามพระมหากษัตริย์เสมอ **จึงต้องให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย ในการกระทำต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย
“การลงพระปรมาภิไธย” ในการกระทำใด ก็เพื่อบอกว่าการกระทำนั้นเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนในนามของกษัตริย์ และ “การสนองพระบรมราชโองการ” เพื่อแสดงให้เห็นว่าการกระทำนั้นกระทำโดยองค์กรหรือบุคคลใด เช่น โดยนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา หรือหัวหน้าคณะรัฐประหาร
ดังนั้น.. ในภาวะปกติ
การออกพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฏอัยการศึก จะต้องมีการลงพระปรมาภิไธย” จากพระมหากษัตริย์ และ “การสนองพระบรมราชโองการ”โดยนายกรัฐมนตรี
และ…ในภาวะไม่ปกติ
การออกพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฏอัยการศึก ต้องมีการลงพระปรมาภิไธย” จากพระมหากษัตริย์ และ “การสนองพระบรมราชโองการ”โดยหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งสวมบทหัวหน้ารัฐบาล (Head of government) นั้นเอง
การลงพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
•มิใช่การสั่งให้…ประธานรัฐสภาแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี
•มิใช่การสั่งให้…นายกรัฐมนตรี ออกกฎหมายใดๆเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน
• มิใช่การสั่งให้…หัวหน้าคณะรัฐประหาร ทำรัฐประหาร และออกกฎอัยการศึก
ตัวอย่างการลงพระปรมาภิไธย…
•การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
•การตราพระราชบัญญัติต้องเป็นไปตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
•การรัฐประหาร พระมหากษัตริย์ก็ลงพระปรมาภิไธย โดยมีหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
โดยคำว่า”เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ”…
เป็นภาษากฎหมาย ที่ไม่ได้แปลว่า นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา หรือหัวหน้าคณะรัฐประหาร รับบัญชามาจากในหลวง ให้แต่งตั้งนายกฯ ให้ออกกฎหมาย หรือให้ทำรัฐประหาร
แต่มีความหมายว่า…
•ประธานรัฐสภาคือผู้เสนอชื่อ นายกรัฐมนตรี
•นายกรัฐมนตรี เป็นคนออกกฎหมายเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน
• หัวหน้าคณะรัฐประหาร คือผู้ที่ทำรัฐประหาร และออกกฎอัยการศึก
นี่คือคำตอบว่าทำไมในหลวงรัชกาลที่ 9 ลงพระปรมาภิไธยหรือเซ็นรัฐประหาร
กฎอัยการศึกของไทย มีศักดิ์เทียบเท่ากับ พระราชบัญญัติ เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก จะทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน
ในกรณีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกเต็มขั้น นายทหารยศสูงสุดจะยึด หรือได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้ว่าการทหารหรือเป็นหัวหน้ารัฐบาล ฉะนั้น จึงเป็นการถอดอำนาจทั้งหมดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการของรัฐบาลออกไป
…………………………………………………………………….
นอกจากนี้…
“การลงพระปรมาภิไธย” และ “การสนองพระบรมราชโองการ” ยังปรากฏอยู่ในรัฐที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีประมุขแห่งรัฐเป็นประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล อีกด้วย
เช่น ในเยอรมันและอิตาลี มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และการกระทำของประธานาธิบดีจะสมบูรณ์ได้ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องลงนามรับรองร่วม (Contreseing) ด้วยเสมอ
เพียงแต่คำว่า“Contreseing” ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า “การสนองพระบรมราชโองการ” แต่สำหรับประเทศที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ จะแปลเป็นไทยด้วยคำราชาศัพท์ว่า “การสนองพระบรมราชโองการ” ไม่ได้เท่านั้นเอง
ในความเป็นไทย อาจกล่าวได้ว่าพระราชอำนาจตามธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ย่อมไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นกับพระบารมีของแต่ละพระองค์เอง เพียงแต่พระราชอำนาจดังกล่าวนี้ก็ยังคงอยู่ในกรอบของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สรุป “การลงพระปรมาภิไธย” และ “การสนองพระบรมราชโองการ” ไม่ได้เป็นเรื่องผิดปกติ
ประเทศใดก็ตามที่มีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีที่เป็นประมุขของรัฐ ก็ยึดหลักการ “การลงพระปรมาภิไธย” และ “การสนองพระบรมราชโองการ” เหมือนกัน
การลงพระปรมาภิไธยคือหน้าที่ของพระมหากษัตริย์
ไม่ว่า”ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” ที่แปลว่า ผู้ใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อปกครองและบริหารประเทศตัวจริง จะเป็นนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภาหรือหัวหน้าคณะรัฐประหารก็ตาม
โดยที่การลงพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
•มิใช่การสั่งให้…ประธานรัฐสภาแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี
•มิใช่การสั่งให้…นายกรัฐมนตรี ออกกฎหมายใดๆเพื่อบริหารราชการแผ่นดิน
• มิใช่การสั่งให้…หัวหน้าคณะรัฐประหาร ทำรัฐประหาร และออกกฎอัยการศึก
…………………………………………………………………….
อัษฎางค์ ยมนาค