สุภาษิตเมืองไทยยุค AI “คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนโง่“
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
อย่าบอกนะว่า ”พวกสามกีบเข้าใจกันว่า ข้าราชการในสังกัดหน่วยราชการในพระองค์ มีหน้าที่ในการปรนนิบัติรับใช้ ถวายงานในหลวง“
เพราะมันเข้าข่ายอาการของ“คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนโง่”
…………………………………………………………………………
iLaw เคยประโคมข่าวว่า “ส่วนราชการในพระองค์” :
คสช. สร้างหน่วยงานพิเศษ ที่ตรวจสอบไม่ได้ ทำลายระบอบประชาธิปไตยฯ”
รวมทั้งยังมีนักการเมือง อาจารย์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและสื่อสายสารส้มก็เคยประโคมข่าวในทำนองนี้มาตลอดเวลา
ล่าสุด….
สมศักดิ์ไม่เจียมโพสต์ว่า
“ในหลวงแต่งตั้งนายทหารสัญญาบัตรเกือบ 300 คน ไม่มีใครรับสนองฯทั้งสิ้น เพราะ ถือเป็น “ข้าราชการในพระองค์” แต่เงินที่จ่ายเป็นภาษีอากรราษฎร
เราจะรู้ได้ยังไงว่าเหมาะสม?
คนเหล่านี้ทำผิด ใครรับผิดชอบ?
การกระทำแบบนี้ถือเป็นการใช้อำนาจสมบูรณาญา
สิทธิราชย์
2475 ไม่ประสบความสำเร็จ”
…………………………………………………………………………
iLaw บอกว่า “หน่วยราชการในพระองค์ ทำลายระบอบประชาธิปไตยฯ”
สมศักดิ์เจียมบอกว่า ”ถือเป็นการใช้อำนาจสมบูรณาญา
สิทธิราชย์ และ 2475 ไม่ประสบความสำเร็จ”
ใครเชื่อตามนี้ก็เข้าสุภาษิต “คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนโง่”
…………………………………………………………………………
”หน่วยราชการในพระองค์ มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง“
หรือจะพูดให้เห็นภาพ ให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า หน่วยงานนี้ก็คือ “กระทรวงงานราชการในพระองค์”
ขนาดนายกรัฐมนตรี ยังมีสำนักนายกรัฐมนตรี !
แล้วในหลวง ซึ่งเป็นองค์พระประมุขของชาติ มีหน่วยราชการในพระองค์ มันแปลกประหลาดตรงไหน
สำนักนายกรัฐมนตรี ก็คือสำนักงานของนายกฯ
ผู้ซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร
หน่วยราชการในพระองค์ ก็คือ สำนักงานของในหลวง
ผู้ที่เป็นองค์พระประมุขของชาติ
ไปเอาที่ไหนมาคิด และไปเอามาพูดว่า มันคือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ”คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนโง่”
…………………………………………………………………………
คำว่า “หน่วยราชการในพระองค์ มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง”
มีใครเคยเห็นเจ้ากระทรวงท่านใด ใช้เวลาทำงานมาคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนใครก็ได้ด้วยตนเองบ้างมั้ย
แต่ทุกกระทรวง มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ คัดเลือกเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอน
เจ้าสัวอีลอน มัสก์ เจ้าสัวมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าสัวเจริญ เจ้าสัวธนินท์ ใช้เวลาทำงานทั้งหมดที่มีเพื่อคัดเลือก แต่งตั้งหรือถอดถอนใครก็ได้ด้วยตนเองหรือไม่ ?
แล้วทำไมในหลวงต้องกลายเป็นผู้ที่คัดเลือก แต่งตั้งหรือถอดถอนใครก็ได้ด้วยตนเอง?
คำว่า“ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์” ไม่ได้หมายความว่า ในหลวงเป็นผู้คัดเลือกเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนใครก็ได้ด้วยพระองค์เอง
ดังนั้น ไปเอาที่ไหนมาคิด และไปเอามาพูดว่า มันคือระบอบสมบูรณาญาสิทธราชย์ ”คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนโง่”
…………………………………………………………………………
สำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยราชการในพระองค์ มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
ข้าราชการในสังกัดหน่วยราชการในพระองค์ ไม่ได้ทำงานด้วยการคอยปรนนิบัติรับใช้ถวายงานในหลวงนะ อย่าบอกนะ ว่าคิดกันแบบนั้นนะ เพราะมันบ่งบอกว่าโง่จนไม่น่าเชื่อว่ามีชีวิตรอดหลงอยู่ยุค AI ได้ยังไง
เพราะคนที่มาบอกว่า ”ข้าราชการในสังกัดหน่วยราชการในพระองค์ ทำงานด้วยการคอยปรนนิบัติรับใช้ถวายงานในหลวง“ มันคือคนโง่
กลายเป็น “คนโง่เป็นเหยื่อของคนโง่”
งานของข้าราชการในสังกัดหน่วยราชการในพระองค์ คืองานราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งก็เหมือนงานสำนักงานที่พบในระบบราชการและเอกชนทั่วไป
สงสัย สมศักดิ์ไม่เจียม และพรรคพวกสารส้มทั้งหลายไม่เคยนั่งโต๊ะทำงานบริหารองค์กรใดๆ มาเลย จึงมโนไปว่า “ในหลวงเป็นผู้คัดเลือกและแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดหน่วยราชการในพระองค์ ซึ่งมีจำนวนหลักหมื่น”
…………………………………………………………………………
หน่วยราชการในพระองค์ ประกอบไปด้วยโครงสร้างหลัก ๓ หน่วยงาน คือ
สำนักงานองคมนตรี
สำนักพระราชวัง
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มาตรา ๑๕ บัญญัติว่า
การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย“ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา”
มีคำว่า “ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา” กำกับเอาไว้
แต่ทั้ง สมศักดิ์เจียม iLaw และเครือข่ายสามกีบตัดประโยคสำคัญสุดท้ายที่กำกับไว้ ออกไปจนหมดสิ้น
มีคำว่า “ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา” กำกับเอาไว้
แต่ทั้ง สมศักดิ์เจียม iLaw และเครือข่ายสามกีบตัดประโยคสำคัญสุดท้ายที่กำกับไว้ ออกไปจนหมดสิ้น
แล้วไปโหนคำว่า “ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย“ เอามาหากิน “เพื่อชี้ชวนให้คนเข้าใจว่า ในหลวงแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย” หรือภาษาชาวบ้านที่ว่า “ตามอำเภอใจ” ซึ่งเป็นลักษณะคำในแง่ให้ร้าย
แต่ความจริงคำว่า ”ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย“ หมายความว่า ให้แต่งตั้งข้าราชการตามนโยบายการทำงานของในหลวง เพราะหน่วยราชการในพระองค์ คือสำนักงานของในหลวง ซึ่งดำรงตำแหน่งองค์พระประมุขของชาติ
ภารกิจขององค์พระประมุขของชาติ มึมากมายไม่น้อยกว่างานในกระทรวงอื่นใด
…………………………………………………………………………
ต่อไปนี้เป็นข้อสรุปขั้นตอนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ของข้าราชการในพระองค์ ”ตามพระราชกฤษฎีกา“ มีดังนี้
๑. การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการ หรือตำแหน่งในระดับผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญระดับทรงคุณวุฒิ “ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งบรรจุ”
๒. การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส “ให้เลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง”
๓. การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการและตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน “ให้เลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง”
๔. เมื่อผ่านขั้นตอนการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการแล้ว ให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง
จะเห็นได้ว่า ทุกตำแหน่งในหน่วยราชการในพระองค์ มีผู้บังคับบัญชาตามลำดับ เป็นผู้แต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง
เสร็จแล้วจึงค่อย…
ให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง
ไม่ใช่ในหลวง ไปนั่งคัดเลือก และแต่งตั้งข้าราชการในหน่วยราชการในพระองค์ (ซึ่งมีจำนวนเป็นหลักหมื่นคน) แล้วสั่งให้นำมาประกาศ
…………………………………………………………………………
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์
พ.ศ. ๒๕๕๒
มาตรา ๙ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ในสำนักพระราชวังตามมาตรา ๗ และในสำนักราชเลขาธิการตามมาตรา ๘ จะมีจำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใดและระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการกำหนด
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามที่ ก.พ. กำหนด
…………………………………………………………………………
มาตรา ๑๐ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในพระองค์และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักพระราชวัง หรือสำนักราชเลขาธิการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ. สำนักพระราชวัง หรือ อ.ก.พ. สำนักราชเลขาธิการ กำหนด
…………………………………………………………………………
หมายเหตุ
”อ.ก.พ.กระทรวงของสำนักพระราชวัง”
ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวังเป็นประธาน เลขาธิการพระราชวัง รองเลขาธิการพระราชวัง และหัวหน้าส่วนราชการของส่วนราชการ ที่ปรากฏในการแบ่งส่วนราชการของสำนักพระราชวัง เป็นอนุกรรมการ
“อ.ก.พ.สำนักพระราชวัง”
ประกอบด้วย เลขาธิการพระราชวัง เป็นประธาน รองเลขาธิการพระราชวังและหัวหน้าส่วนราชการของส่วนราชการที่ปรากฏในการแบ่งส่วนราชการของสำนักพระราชวังเป็นอนุกรรมการ
…………………………………………………………………………
มาตรา ๑๑ การบรรจุและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่งให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวัง หรือสำนักราชเลขาธิการ เป็นผู้สั่งบรรจุ
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารนอกจาก (๑) ตำแหน่ง ประเภทอำนวยการ ระดับสูง ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ในสำนักพระราชวัง ให้นายกรัฐมนตรีในตำแหน่งบังคับบัญชาสำนักพระราชวัง เป็นผู้สั่งบรรจุ ส่วนในสำนักราชเลขาธิการ ให้ราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุ
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ให้เลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการและตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ให้เลขาธิการพระราชวัง หรือราชเลขาธิการเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตาม (๑) และ (๒) ให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตาม (๓) ให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติ และการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ตาม
(๔) ให้สำนักพระราชวังหรือสำนักราชเลขาธิการรวบรวมรายชื่อข้าราชการพลเรือนในพระองค์นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
………………………………………………………………………….