โดย อัษฎางค์ ยมนาค
พระแก้วมรกตพบที่ล้านนาและคนล้านนาไม่เคยถือว่าตนเองเป็นลาว แต่ถือว่าตนเองเป็นคนไท
ถ้าเจ้าล้านช้างไปครองล้านนาแค่ 2 ปี แล้วเหมาว่าล้านนาเป็นลาว แบบนี้ฝรั่งเศสครองลาวอยู่ 50 ปี ลาวก็เป็นฝรั่งเศสไปแล้วกะละมัง
และเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ไม่ใช่พระไชยเชษฐา ขึ้นไปครองเชียงใหม่แล้วย้ายไปสถาปนาล้านช้างที่เมืองหลวงพระบาง ตามที่เขียนให้อ่านแล้วเหมือนว่าลาวย้ายเมืองหลวง
แต่เป็นเชียงใหม่ยืมตัวพระไชยเชษฐามาครองเชียงใหม่
และพอท่านอยากกลับไปล้านช้าง ท่านก็ยืมพระแก้วมรกตไปจากล้านนาแล้วไม่เคยส่งคืนอีกเลย จน ร.1 ไปอัญเชิญกลับมาในอีก 200 ปีต่อมาและล้านนาได้รวมเข้ากับไทยเป็นแผ่นดินเดียวกันอย่างถาวร
……………………………………………………………………………
มติชนสุดสัปดาห์ ขุดบทความเก่าของ “ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ” ที่ลงไว้ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ – 29 มกราคม 2559 และเคยนำมาเผยแพร่ซ้ำในวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2566 ล่าสุดนำกลับมาย้ำ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้เนื้อหานี้กลายเป็นเรื่องจริงให้ได้ โดยมีใจความตอนหนึ่งระบุว่า….
รัชกาลที่ 4 ทรงเคยมีพระราชวินิจฉัยไว้ในพระราชพิพนธ์ของพระองค์ที่ว่า
“…เมื่อเปรียบเทียบไปโดยละเอียด ดูเหมือนว่า (พระแก้วมรกต) จะเป็นฝีมือช่างลาวเหนือโบราณ ข้างเมืองเชียงแสน เห็นคล้ายคลึงมากกว่าฝีมือช่างเมืองอื่น แลถึงจะเป็นช่างที่เมืองลาวก็เป็นช่างดีช่างเอกทีเดียวมิใช่เลวทรามด้วยเป็นของดีงามเกลี้ยงเกลามากอยู่ไม่หยาบคาย…”
ข้อความนี้ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์เดียวกันกับที่ผมยกมาไว้ข้างต้น สิ่งที่ควรสังเกตเพิ่มเติมก็คือ รัชกาลที่ 4 ทรงระบุด้วยว่า “เชียงแสน” ซึ่งเป็นเมืองโบราณ ที่ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเชียงราย เป็นพวก “ลาวเหนือ” ไม่ได้ทรงอ้างว่าเป็นไทย?
ดังนั้น เวลาที่ใครบอกว่า พระแก้วมรกต เคยเป็นของไทยมาก่อนที่ลาวจะเอาไปนั้น ถ้านับกันด้วยอาณาเขตในปัจจุบันแล้วผมก็คงไม่มีอะไรจะเถียง แต่ถ้านับจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์แล้ว ผมก็ไม่แน่ใจนักว่าผู้สร้างพระแก้วมรกต เขาจะนับตนเองว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า?
“พระแก้วมรกต” จึงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง “ล้านนา-ล้านช้าง” ที่ถือตนเองว่าเป็น “ลาว” มาแต่แรก
เมื่อพระไชยเชษฐา ซึ่งขึ้นครองราชย์ที่เชียงใหม่ ได้ย้ายไปสถาปนา และปกครองอาณาจักรศรีสัตนาคนหุต หรือล้านช้าง ที่เมืองหลวงพระบาง เมื่อเรือน พ.ศ.2091 จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต ที่ในขณะนั้นประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่ ไปไว้ที่นั่นด้วย
แถมยังได้อัญเชิญไปไว้ที่เวียงจันทน์อีกครั้งใน 12 ปีต่อมา เมื่อพระองค์ย้ายไปปกครองที่นั่น
มติชนโดนคอมเมนท์ถล่มคาบ้าน
https://www.facebook.com/share/p/xMxXtWgsGBtBrR5j/?mibextid=WC7FNe
……………………………………………………………………………
ต่อไปนี้ อัษฎางค์ จะขอยกข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาแย้ง
ไทย(สยาม)เรียกคนล้านนาว่า “ลาว”
แต่คนล้านนาไม่เคยเรียกว่าตัวเองเป็นลาว
เช่นกัน คนล้านนาในสมัยโบราณ เรียกคนที่อยู่ทางใต้ของตนว่า “ขอม“ ซึ่งใช้เรียกชาวกรุงศรีอยุธยา(สยาม)ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ว่าเป็นขอมด้วย
คำถาม
แล้วชาวกรุงศรีอยุธยา(สยาม) เรียกตัวเองว่า ขอมหรือไม่
คำตอบคือ ไม่
ที่แน่ๆ ชาวกรุงศรีอยุธยา เรียกเขมรว่า ขอม
เขมร ก็ไม่เคยเรียกตัวเองว่า ขอม
สรุป ถ้าเหมาว่า ล้านนาเป็นลาว
ก็อย่าลืมเหมาไทย(สยาม)เป็นขอมด้วย
และอย่าลืม นครวัด ขอมสร้าง เป็นของขอม
……………………………………………………………………………
กษัตริย์ราชวงศ์วินเซอร์ ซึ่งก็คือราชวงศ์ปัจจุบันของสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) มีเชื้อสายเยอรมัน ในยุคแรกๆ สมาชิกของชวงศ์วินเซอร์พูดเยอรมันกันชัดเจนในวัง แต่พูดอังกฤษไม่ชัด
ชื่อราชวงศ์วินเซอร์ ก็เพิ่งตั้งขึ้น โดยเอาชื่อพระราชวังวิเซอร์มาตั้งเป็นชื่อราชวงศ์เพื่อให้ฟังดูเป็นคนอังกฤษ
ถ้าใช้ตรรกะว่า ในยุคนั้น เจ้าล้านนาเป็นญาติกับเจ้า(ลาว)ล้านช้าง เมื่อล้านนาขาดผู้ชายที่ครองเมืองได้ ก็เลยไปเชิญหลานซึ่งเป็นญาติที่เป็นคน(ลาว)ล้านช้างมาครองเมือง เพราะฉะนั้น ล้านนาเป็น“ลาว”เพราะเป็นญาติกับลาว(ล้านช้าง)
ดังนั้น คงต้องบอกว่า อังกฤษ เป็น เยอรมัน ด้วย เลิกเรียกว่าเจ้าอังกฤษ แต่ไปเรียกว่า เจ้าเยอรมันแทน
เหมือนที่เหมาเรียกล้านนาว่าเป็น ลาว เพราะมีแค่ช่วงหนึ่งสั้นๆ เพียง 2 ปีในประวัติศาสตร์พันปีของล้านนา ที่เชิญเจ้าลาวมาครองบ้านเมือง
ถ้าใช้ตรรกะว่า พระแก้ว ซึ่งพบในล้านนาเป็นของลาว เพราะช่วงเวลา 2 ปีในพันปีของล้านนาดันมีเจ้าลาวมาครองล้านนา แล้วอัญเชิญพระแก้วกลับไปลาว ดังนั้น ล้านนาเป็นลาว
สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชเจ้ามีพระราชมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์มังรายและเคยปกครองเชียงใหม่อยู่ราว 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2091-2093
ดังนั้น ฝรั่งเศส เคยมาครอบครองลาวช่วงอาณานิคมอินโดจีน ลาวก็คงเป็นฝรั่งเศสไปแล้วด้วยกะละมัง
เพราะล้านนายืมตัวเจ้าลาวมาครองเมืองอยู่แค่ 2 ปี ล้านนายังกลายเป็นล้าว
ฝรั่งเศสครอบครองลาวนานถึง 50 ปี แบบนี้ลาวก็ไม่ใช่ลาวแล้ว กลายเป็นฝรั่งเศสไปนานแล้ว
ยุโรปก็เคยถูกเยอรมันยึดครองเกือบทั้งทวีปในช่วงสงครามโลก แบบนี้ออสเตรีย เชคโกฯ โบแลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์และฝรั่งเศส ฯลฯ ทุกประเทศที่ว่านั้นต้องถูกเรียกรวมกันว่าเป็นเยอรมันด้วยซินะ
เจ้าลาวถูกเชิญมาครองล้านนาแค่ 2 ปี ยังถูกนักประวัติศาสตร์สำนักมติชนเหมาว่าล้านนาเป็นลาวเลย
……………………………………………………………………………
ล้านนาไม่เคยเรียกว่าตัวเองเป็น “ลาว”
มีแต่ไทยที่เหมารวมเรียกล้านนาว่าเป็น “ลาว”
ชาวสยามเรียกคนพูดภาษาตระกูลไท ที่กินข้าวเจ้า และอาศัยในบริเวณที่ราบลุ่มตอนใต้ตั้งแต่สุโขทัยลงมาว่า ‘ไท/ไทย’ ซึ่งหมายถึงคน เสรีชน
ในขณะที่เรียกคนอีกกลุ่มที่พูดภาษาตระกูลไท กินข้าวเหนียว และอาศัยในที่ราบสูงหรือหุบเขาตอนเหนือว่า ‘ลาว“
โดย ‘ลาว’ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงชาวลาวซึ่งอาศัยอยู่ในล้านช้าง(สปป.ลาว) และคนในภาคอีสานของไทยเท่านั้น แต่ยังเหมารวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เช่น ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทดำ ไทพวน ฯลฯ อีกด้วย
*ทั้งที่คนเชื้อชาติเหล่านั้นจะไม่ได้เรียกตัวเองว่าลาวเลย
ซึ่งชาวล้านนาก็ถูกเหมาว่าเป็น ‘ลาว’ มานานมากแล้ว ดังปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่สอง หรือจารึกวัดศรีชุมว่าดินแดนของแคว้นสุโขทัยในยุคของพ่อขุนศรีนาวนำถุมนั้น มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเชียงแสน พะเยา ซึ่งเป็นแดนลาว ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ปรากฏการใช้คำว่า ‘ลาว’ หมายถึงล้านนาด้วยเช่นกัน
ซึ่งคำว่า “ลาว” เดิมนั้นมีหมายถึง “ผู้เป็นใหญ่”
แต่ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นความหมายเชิงลบว่า “ล้าหลังหรือไม่เจริญ”เป็นลักษณะของการบลูลี่กันของคนโบราณ
……………………………………………………………………………
คนล้านนา ไม่เคยเรียกตัวเองว่าเป็น“ลาว”
แต่คนล้านนา เรียกตัวเองว่าเป็น “คนไท”
ในจารึกล้านนาเช่น จารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน ซึ่งถือเป็นจารึกภาษาล้านนาเก่าแก่ที่สุดเรียกการนับวันแบบล้านนา (หนึ่งรอบมีหกสิบวัน) ว่า ‘วันไท
มีโคลงอีกบทหนึ่งในวรรณกรรมเรื่องเดียวกันกล่าวถึงรูปวาดของคนชาติพันธุ์ต่างๆ ไว้ดังนี้
สันยาลำหนึ่งหั้น ปุนเล็ง
มีรูปไททังเมง ม่านเงี้ยว
ถือลาดาบกับเกง สกรรจ์แก่น คนเอย
ช้างผาดกันเกล้าเกลี้ยว แกว่นสู้สงคราม ฯ
ในโคลงบทข้างต้นกล่าวถึงชาติพันธุ์ถึงสี่กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ ‘เมง’ ซึ่งหมายถึงมอญ ‘ม่าน’ ซึ่งหมายถึงพม่า ‘เงี้ยว’ ซึ่งหมายถึงไทใหญ่ และ ‘ไท’ ซึ่งหมายถึงคนล้านนานั่นเอง
……………………………………………………………………………
เอกสารที่แสดงความเป็นไท/ไทยของล้านนาได้แจ่มแจ้งที่สุดได้แก่ จามเทวีวงศ์
จามเทวีวงศ์ เป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนา เอกสารประวัติศาสตร์ประเภทบันทึกเหตุการณ์เป็นภาษาบาลี เป็นเรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์ผสมกับเรื่องเล่าเชิงศาสนาพุทธ แต่งขึ้นโดยพระโพธิรังสีมหาเถระ พระภิกษุชาวล้านนาผู้มีชีวิตอยู๋ในสมัยราชวงศ์มังราย สันนิษฐานว่ารจนาราว พ.ศ. 1950 ถึง 2060 มีเรื่องเล่าช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19 ตั้งแต่การก่อตั้งแคว้นหริภุญชัย เรื่องราวการกำเนิดเมืองลำพูน ลำปาง
กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครให้พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) เปรียญ ร่วมกับพระญาณวิจิตร (สิทธิ โลจนานนท์) เปรียญ ช่วยกันแปลเป็นภาษาไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกปี พ.ศ. 2463
จามเทวีวงศ์เป็นหนึ่งในคัมภีร์ที่ใช้อ้างอิงในเอกสารตำนานพงศาวดารบ่อยครั้งที่สุด ได้รับการแปลเป็นหลายภาษา ทั้งตะวันตกและตะวันออก
นอกจากนั้นในฉบับภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า The Legend of Queen Cama และ The Chamadevivongs
ซึ่งจามเทวีวงศ์ นี้เรียกภาษาล้านนาว่า ‘เทยฺยภาสา’ แปลได้ตรงตัวว่า ‘ภาษาไทย’ แสดงให้เห็นว่าคนล้านนาในยุคของพระโพธิรังสีมองตัวเองเป็นคนไท
……………………………………………………………………………
หลักฐานล้านนาที่เขียนขึ้นระหว่างที่ตกเป็นประเทศราชทั้งของพม่าและสยาม เรียกตนเองว่า “ไทล้านนา” และเรียกชาวสยามว่า ไทใต้ ไทหนใต้ หรือเรียกสั้นๆ ว่าชาวใต้
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเน้นย้ำคำว่า ”ไท“ ของชาวล้านนาออกเสียงว่า ”ไต“ ในขณะที่ไท/ไทยของชาวสยามออกเสียงว่า ”ไท“
ทำไมปัจจุบันคนเหนือเรียกตัวเองว่า “คนเมือง”
จากคอลัมน์ ล้านนาคำเมือง ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2562
เขียนโดย ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า
คำว่า คนเมือง ได้ถูกใช้เพื่อต่อสู้เชิงอัตลักษณ์กับรัฐสยามมาตั้งแต่ช่วงที่สยามส่งข้าหลวงเข้ามาควบคุม
จิตร ภูมิศักดิ์ นักวิชาการที่เขียนหนังสือ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอมและลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” พิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ.2519 กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทเมืองที่มีระบุในตำนานและพงศาวดารต่างๆ เช่น ตำนานสุวรรณโคมคำ ที่สืบค้นได้เก่าที่สุดว่าเป็นบรรพบุรุษชาวไทประชากรหลักในภาคเหนือหรือดินแดนล้านนา มีเชื้อสายสัมพันธ์กับชาวไทเหนือ ไทใหญ่และไทลื้อในยูนนาน ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาตั้งอาณาจักรเล็กๆ ซ้อนทับพื้นที่แคว้นสุวรรณโคมคำของกรอมหรือขอมโบราณ จนพัฒนาไปเป็นอาณาจักรโยนก หิรัญนครเงินยาง และอาณาจักรล้านนา
และจิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า ”คนเมือง“ เกิดขึ้นเพื่อเรียกตนเองเพื่อตอบโต้และเลี่ยงการถูกเหยียดหยามทั้งจากพม่าและสยาม
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ผู้เชี่ยวชาญภาษาล้านนา กล่าวในหนังสือ “รำลึกเชียงใหม่ 700 ปี” เมื่อ พ.ศ.2540 ว่าไม่พบคำว่า “คนเมือง” ในเอกสารโบราณของล้านนา
สรัสวดี อ๋องสกุล ผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนาในปี พ.ศ.2529 ได้ยืนยันว่าคำว่า “คนเมือง” เพิ่งจะปรากฏเป็นครั้งแรก ในรายงานของกรมหมื่นพิชิตปรีชากร ข้าหลวงพิเศษฝ่ายลาวเฉียง (ดูแลเมืองลำพูนและลำปาง ระหว่าง พ.ศ.2427-2428) สอดคล้องกับคำกล่าวของไกรศรี นิมมานเหมินท์ ที่ว่าคนไทยวนในภาคอื่นๆ ไม่รู้จักคำว่า คนเมือง
และชาวไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทยองในล้านนาที่ผ่านมาช่วงร้อยกว่าปี ถือว่าตนเองเป็นคนเมืองทั้งสิ้น
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า คำว่า “คนเมือง” เป็นคำที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาในสมัยหลังการปฏิรูปการปกครองจนสมัยรัชกาลที่ 5 มานี้เอง…
https://www.matichonweekly.com/column/article_253325
……………………………………………………………………………
สรุป
คนล้านนาไม่เคยถือว่าตนเองเป็นลาว แต่ถือว่าตนเองเป็น ”คนไท“
แต่คนไทย(สยาม) เรียกคนทางเหนือที่กินข้าวเหนียวว่า ”ลาว“ ทั้งหมด เหมือนที่คนทางเหนือก็เรียกคนทางใต้ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา(กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา)ว่า ”ขอม“ ทั้งหมด แต่ทั้งไทยและเขมรก็ไม่เคยเรียกตัวเองว่าเป็น”ขอม“
ชาวสยามทางใต้เรียกคนทางเหนือ (ล้านนา, ล้านช้าง) ที่กินข้าวเหนียวว่าลาว ในขณะที่คนทางเหนือเรียกคนทางใต้(สยาม, เขมร)กินข้าวเจ้า ผิวคล้ำว่า ขอม ก็เป็นคำที่ต่างคนต่างบูลลี่กันของคนโบราณในเชิงอัตลักษณ์เพื่อเหยียดหยามกันไปมา
แต่คนล้านนาตั้งแต่โบราณมา ถือว่าตนเองเป็นคนไท/ไต เผ่าพันธุ์เดียวกับไท/ไทย(สยาม) มากกว่าจะถือว่าตนเป็นญาติกับลาว(ล้านช้าง)
ที่สำคัญ
พระไชยเชษฐาธิราชเจ้ามีพระราชบิดาเป็นชาวล้านช้าง(ลาว) แต่มีพระราชมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์มังราย ทำให้เมื่อล้านนาเชียงใหม่ขาดเจ้าชายขึ้นครองราชย์ จึงไปเชิญหรือไปยืมตัวพระไชยเชษฐาธิราชมาปกครองเชียงใหม่อยู่ราว 2 ปี ก่อนที่พระองค์จะย้ายกลับไปครองล้านช้างตามเดิม เหตุการณ์แบบนี้ต้องเรียกว่า ”เป็นการยืมตัวมา“
และพอท่านอยากกลับไปล้านช้าง ท่านก็ยืมพระแก้วมรกตและพระพุทธรูปอื่นอีกหลายองค์ไปจากล้านนาด้วย
แต่ไม่เคยส่งพระแก้วมรกตคืนมาที่ล้านนาเชียงใหม่อีกเลย
จนกระทั่ง รัชกาลที่ 1 ไปอัญเชิญกลับมาในอีก 200 ปีต่อมาและล้านนาได้รวมเข้ากับไทยเป็นแผ่นดินเดียวกันอย่างถาวร หลังจากเคยขึ้นกับไทยมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
วิชาประวัติศาสตร์ไม่มีปัญหา แต่จะมีปัญหาก็ตอนที่ถูกเอาไปโยงกับการเมืองนั่นแหละ
คำถามคือ คุณเป็นคนไทยหรือไม่
ทำไมเอาเรื่องเก่าโบราณมาพูดจาเบี้ยวๆ อันอาจทำให้พี่น้องคนไทยลาวแตกแยกหรือผิดใจกัน