“สมเด็จพระพันปีหลวงกับอัญมณีสีน้ำเงินที่ถูกใส่ความ”
ที่สมเด็จฯ สวมใส่คือพลอยไพลิน เป็นภาพเมื่อ ๒๕๑๐ แต่ที่ถูกขโมยจากซาอุฯ คือเพชร เมื่อ ๒๕๓๒
เพชรถูกขโมยปี ๓๒ เอาภาพพบอยไพลินเมื่อปี ๑๐ มาใส่ความได้ด้วยหรือ?
ตาต่ำ แถมยังสันดานหยาบช้า กล้าจาบจ้วงถึงพระองค์
………………………………………………………………….
อัญมณีสีน้ำเงินเม็ดงามของสมเด็จฯ นี้มีนามว่า “สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน” โดยปรากฏต่อสายตาชาวโลก(ตามภาพประกอบ)มาตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ แต่กลับถูกใส่ความว่าคือเพชรที่ขโมยมาในคดีเพชรซาอุ ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๒
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ สวมสร้อยนี้ออกงานที่สหรัฐอเมริกามาก่อนเกิดคดีเพชรซาอุถึง ๒๒ ปี จะมีใครขโมยเพชรซาอุ ในปี ๓๒ แล้วย้อนเวลาไปถวายสมเด็จฯ ในปี ๑๐ ?
อ่านใหม่ช้าๆ ชัดๆ
“สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน” สมบัติที่เป็นมรดกตกทอดแห่งราชวงศ์จักรี โดนใส่ความว่าขโมยมาจากซาอุ ทั้งที่เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นหลังจากมีภาพเป็นหลักฐานว่าได้ปรากฏตัวสู่สายตาชาวโลกก่อนเกิดคดีเพชรซาอุถึง ๒๒ ปี
………………………………………………………………….
ก่อนจะถูกใส่ความว่า “สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน” ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คือเพชรที่ถูกขโมยมาในคดีเพชรซาอุนั้น อัญมณีสีน้ำเงินเม็ดโตนี้ยังเคยถูกใส่ความว่าเป็นเพชรฝรั่งเศสอันโด่งดังและอื้อฉาวของฝรั่งเศสมาก่อนอีกด้วย
เรื่องราวเป็นอย่างไร ผมจะเล่าให้ฟัง
………………………………………………………………….
เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระยศในขณะนั้น) เสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา
ในครั้งนั้นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงสวม(ภาษาชาวบ้านเรียกว่า)สร้อยคอที่เรียกว่า “สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน”
สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงินนี้เป็นมรดกตกทอด เป็นเครื่องเพชรประจำพระราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นของ”สมเด็จพระพันปีหลวง”(สมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ 9)
ตามหลักฐานจากไดอารี่ส่วนพระองค์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งถูกพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “ความทรงจำในการตามเสด็จทางราชการ” โดยทรงบันทึกไว้ตอนที่พระองค์เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและแคนาดาอย่างเป็นทางการ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๐ มีใจความระบุความตอนหนึ่งระบุว่า…
“คืนนั้น ข้าพเจ้าได้สวมสร้อยพระศอ ซึ่งเป็นของเก่าของสมเด็จพระพันปีหลวง…”
………………………………………………………………….
ในประวัติระบุเพียงว่าเดิมเป็นของ ”สมเด็จพระพันปีหลวง” แต่ผมเห็นบางเพจตีความว่า ”สมเด็จพระพันปีหลวง” คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งผิด
สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Queen mother นั้นคือ ภรรยาม่ายของ”พระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน” และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือสมเด็จย่าของปวงชนชาวไทย ไม่ได้ทรงเป็น ภรรยาม่ายของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน
แต่เป็นภรรยาม่ายของเจ้าฟ้าผู้ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระมหากษัตริย์
ตำแหน่ง”สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”เป็นตำแหน่งใหม่ตำแหน่งเดียวในราชวงศ์จักรี และมีสมเด็จย่าพระองค์เดียวที่ทรงดำรงตำแหน่งนี้
ดังปรากฏอยู่ในข้อความดังต่อไปนี้
“บัดนี้จึงมีพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้ประกาศเฉลิมพระปรมาภิธัย สมเด็จพระบรมราชชนนี ดังจารึกไว้ในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี”
ซึ่งเราจะเห็นว่าในสำเนาพระสุพรรณบัฏนั้นไม่ปรากฏสร้อยพระนามพระพันปีหลวงแต่อย่างไร
เพราะฉะนั้นประวัติของ”สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน” ที่ระบุว่าเป็นของ”สมเด็จพระพันปีหลวง” นั้น
”สมเด็จพระพันปีหลวง”พระองค์นี้คือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชินีในรัชกาลที่ ๕ หรือไม่ก็ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผู้ที่เป็นสมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ไม่ใช่สมเด็จแม่ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ แต่อย่างใด
ศัพท์คำว่า “พระพันปี” และ “พระพันวัสสา” ต่างก็มีความหมายตรงกันว่า อายุพันปี
ในเอกสารที่บันทึกเรื่องราวของชาวอยุธยาที่ได้ถูกกวาดต้อนไปยังกรุงอังวะที่ราชสำนักราชวงศ์คองบองจดบันทึกก็ปรากฏกษัตริย์อยุธยาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “พระพันวรรษา”
แล้วในเวลาต่อมามีการยกสถานะขึ้น โดยได้เติมคำว่า “หลวง” ท้ายคำ “พระพันปี”เป็น “พระพันปีหลวง”
………………………………………………………………….
สรุป
สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงินที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (พระยศในขณะนั้น) ทรงสวมไปในคราวเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ๒๕๑๐ เป็นมรดกตกทอด ที่เป็นเครื่องเพชรประจำพระราชวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชินีในรัชกาลที่ ๕ ผู้ที่เป็นสมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ไม่ใช่สมเด็จแม่ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ แต่อย่างใด
สมัยรัชกาลที่ ๕ ประเทศไทยรุ่งเรืองมาก ทำไมถึงจะไม่มีเครื่องประดับระดับนี้
ซึ่งพูดด้วยภาษาชาวบ้านได้ว่า “สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน” เป็นสร้อยคอประจำตระกูล ที่ตกทอดมาถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
………………………………………………………………….
ในช่วงที่ทรงเสด็จเยือนสหรัฐฯอเมริกานั้น ถือเป็นงานใหญ่ระดับนานาชาติ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สมเด็จพระราชินีนารถจะทรงเครื่องเพชรชิ้นใหญ่ๆ ออกงานมหาสมาคม
แต่มีชาวอเมริกันที่มีนิสัยชอบดูถูกประเทศเล็กๆ ที่ด้อยพัฒนากว่า จึงกังขาว่าพระราชินีประเทศเล็กๆในเอเซีย จะทรงมีเครื่องเพชรแบบนั้นได้ด้วยหรือ
แล้วในงานเลี้ยงแห่งหนึ่ง (ลองนึกภาพละครย้อนยุคประกอบไปจะได้อรรถรสเพิ่มขึ้นนะ) ก็มีแขกคนสำคัญคนหนึ่งในงานกล่าวถาม ม.จ. วิภาวดี รังสิต นางสนองพระโอษฐ์ (ยศในขณะนั้น-พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) ด้วยจิตใจที่ไม่บริสุทธิ์และความสอดรู้สอดเห็นว่า
“ เอ้อ…สร้อยพระศอที่พระราชินีของท่านทรงอยู่นั้น คงเพิ่งซื้อใหม่จากปารีสละมัง”
หม่อมเจ้าวิภาวดี ทรงตอบว่า
“เอ๊ะ! นี่ท่านไม่รู้หรอกหรือว่า เมืองไทยของฉันมีอายุกว่า ๗๐๐-๘๐๐ ปีแล้ว พระราชวงศ์จักรีก็มีมาตั้งเกือบสองศตวรรษ เราจึงมีเครื่องเพชรประจำพระราชวงศ์บ้าง ไม่เห็นจะต้องซื้อของใหม่ราคาแพงมาใช้เลย”
………………………………………………………………….
อะไรทำให้คนอมริกันนึกว่าเป็นเพชรที่มาจากปารีส?
ในประวัติศาสตร์ของเครื่องประดับที่มีชื่อนั้น มีเพชรเม็ดยักษ์ของ ราชวงศ์ฝรั่งเศส ที่ชื่อว่า French Blue (Le bleu de France) ที่โดดเด่นและโด่งดัง แต่สูญหาย ตั้งแต่สมัยปฎิวัติฝรั่งเศส
แล้วในเวลาต่อมาปรากฎอีกครั้งในประเทศอังกฤษ โดยเพ็ชรเม็ดใหญ่ที่ชื่อ French Blue ถูกตัดแบ่งออกจนกลายเป็น Hope Diamond ของฝรั่งเศส
Hope Diamond มีหน้าตายังไง?
ถ้าเคยดูหนังไททานิก คงจำกันได้ว่าในหนังมีเพ็ชร ที่นางเอกใส่ตอนที่ให้พระเอกวาดรูป ชื่อ”Heart of the Ocean” นั้น ได้แรงบันดาลใจมาจาก Hope Diamond นั่นเอง
จึงไม่ต้องแปลกใจ ว่าทำไมชาวอเมริกันในยุค ปีพ.ศ.๒๕๑๐ จึงตกตะลึงและเข้าใจผิดว่าสร้อยพระศอที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงสวมใส่อยู่นั้นอาจได้มาจากปารีส
ปัจจุบัน เพชร Hope Diamond เม็ดนั้น อยู่ในพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
………………………………………………………………….
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ “สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน” ถูกสงสัยว่าเป็นเพชรฝรั่งเศสอันโด่งดังและอื้อฉาวของฝรั่งเศส
พอมาถึงปี พ.ศ.๒๕๓๒ ที่เกิดเหตุการณ์ “โจรกรรมเครื่องเพชรราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย”“สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน” ก็ถูกสงสัยและใส่ความอีกว่าเป็นเพชรอันโด่งดังและอื้อฉาวที่ถูกขโมยมาจากซาอุฯ
สีน้ำเงินเหมือนกัน แต่”ไพลิน” กับ “เพชร” เป็นคนละอย่างกัน
………………………………………………………………….
”บลูไดม่อน” หรือ “เพชรสีนำเงิน” ที่เป็นข่าวที่คนงานได้ขโมยมาจากวังของเจ้าซาอุฯมา นั้นมีลักษณะต่างกัน เพราะเป็นคนละชิ้นกัน
แต่โดนพวกผู้ไม่หวังดีจับแพะมาชนแกะ เพื่อสร้างความเสื่อมเสียในราชวงศ์จักรีและชาติไทย ว่าเป็นชิ้นเดียวกันที่ถูกขโมย
มันเป็นไปไม่ได้เลยที่คดีเพ็ชรบลูไดม่อนในปี ๒๕๓๒ จะย้อนเวลาไปปรากฏในปี ๒๕๑๐
ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี เฉพาะราชวงศ์จักรีก็มีอายุมากกว่า ๒๐๐ ปี
ราชวงศ์จักรีมีอายุยาวนานย่อมมีศักดิ์ศรีและไม่ได้ยากจนขนาดที่ไม่มีเครื่องเพ็ชรนินจินดาจนต้องซื้อของโจร
………………………………………………………………….
ตามพระฉายาลักษณ์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสวมสร้อยพระศอเป็น “สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน (Blue Sapphire)” ไม่ใช่ “เพชรสีน้ำเงิน (Blue Diamond)”
สีน้ำเงินเหมือนกัน แต่”ไพลิน” กับ “เพชร” เป็นคนละอย่างกัน
………………………………………………………………….
อัษฎางค์ ยมนาค
รวบรวม เรียบเรียง