ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจอะไรยุบพรรคก้าวไกล ?
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
…………………………………………………………
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 31 ม.ค. 2567 ได้ระบุชัดเจนว่า การกระทำของผู้ถูกร้อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ดังนั้น คำวินิจฉัยนี้ทำให้ กกต.ไม่อาจจะทำอย่างอื่นได้ เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา 92 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
คำว่า “เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทำกฎหมาย“ หลักฐานที่ว่าก็คือ “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 31 ม.ค. 2567 ที่ระบุชัดเจนว่า การกระทำของผู้พรรคก้าวไกลเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง” นั่นเอง
เมื่อศาลวินิจฉัยแบบนั้น กกต.ก็ทำอะไรไม่ได้แล้วนอกจากต้องยื่นฟ้องศาลให้ยุบพรรค เพราะถ้า กกต.ไม่ฟ้อง กกต.จะกลายเป็นคนผิดเองในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ตามที่ก้าวไกลอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเพียงการวินิจฉัยและสั่งให้หยุดการกระทำ แต่ไม่ที่อำนาจยุบพรรคการเมือง (ตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ 2560) นั้นถูกต้อง
แต่….ศาลรัฐธรรมนูญท่านก็วินิจฉัยแล้วและสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 2567 เรื่องนั้นมันจบไปนานแล้ว อำนาจตามมาตรา 49 จบไปนานแล้ว แต่พรรคก้าวไกลและนักวิชาการยังวนเวียนพูดถึงเรื่องเดิม ยังพูดถึงมาตรา 49 อยู่เหมือนเดิม ทั้งที่ผ่านไปแล้ว ศาลปฏิบัติหน้าที่นั้นจบไปแล้ว คือศาลท่านไม่มีอำนาจสั่งยุบพรรค มีอำนาจแค่วินิจฉัยและสั่งให้หยุดการกระทำ
เรื่องปัจจุบันผ่านขั้นตอนที่ 2 คือ กกต.ฟ้องร้องและขั้นตอนที่ 3 ศาลสั่งยุบพรรคตามที่ กกต.มาร้อง โดยใช้อำนาจสั่งยุบพรรค “ตาม พ.ร.ป.มาตรา 92 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
………………………………………………………………………….
สรุป
มาตรา 49 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเพียงการวินิจฉัยและสั่งให้หยุดการกระทำ แต่ไม่ที่อำนาจยุบพรรคการเมือง
แต่ พ.ร.ป.มาตรา 92 วรรค(1) และวรรค(2) ให้อำนาจศาลสั่งยุบพรรคการเมืองที่ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง
………………………………………………………………………….
แต่ถ้ายังไม่เข้าใจหรือยังไม่เคลียร์ มาทบทวนและอธิบายกันอีกครั้ง
ขั้นตอนคือ
1. มีผู้ร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย ซึ่งศาลได้ใช้อำนาจตามมาตรา 49 วินิจฉัยว่า “กิจกรรมและนโยบายของพรรคก้าวไกล เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง…..”ไปเรียบร้อยเมื่อ 31 ม.ค. 2567
2. กกต.จึงยื่นฟ้องศาลให้ยุบพรรค ตามมาตรา 92 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
3. ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงใช้อำนาจยุบพรรคตาม พ.ร.ป (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ) มาตรา 92
ซึ่งจะเห็นได้ว่า “เป็นกระบวนการยุติธรรมที่รอบคอบมาก” กล่าวคือ รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจล้นฟ้ากับศาลได้ทำอะไรตามอำเภอใจ หรือใช้อำนาจนอกเหนือรัฐธรรมนูญ ตามที่นักวิชาการและนักการเมืองคิดจะเลี่ยงบาลี บิดเบือนข้อเท็จจริง แต่
กระบวนการยุติธรรมมีความรอบคอบ เริ่มจากศาลวินิจฉัยก่อน หลังจากนั้นถ้า กกต.ไม่มีหลักฐานอันหน้าเชื่อถือได้ว่าจะเป็นการล้มล้างการปกครอง กกต.ก็ไม่ต้องส่งฟ้อง เรื่องก็จบตรงนั้น
แต่คำวินิจฉัยของศาลนั่นแหละคือ หลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา 92 (1) (2)
………………………………………………………………………….
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ2560
มาตรา 92 เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น
(1) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(2) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
………………………………………………………………………….
เหมือนเมื่อคราวการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ ที่มีคนเอาโพลมายัดใส่มือรุ้ง แล้วรุ้งก็ขึ้นเวทีประกาศ บัญญัติ 10 ประการ ตีกรอบพระมหากษัตริย์ ซึ่งหลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญก็ขึ้นนั่งบัลลังก์วินิจฉัย ว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครอง แล้วสั่งให้หยุดการกระทำ โดยไม่ได้มีคำตัดสินดำเนินคดีอะไร ใดๆ
ซึ่งก็เหมือนกันกรณีครั้งนี้ของพรรคก้าวไกลที่ศาลเพียงแค่วินิจฉัยและแล้วสั่งให้หยุดการกระทำ โดยไม่ได้มีคำตัดสินดำเนินคดีอะไร ใดๆ
แต่คราวนี้หลังจากศาลวินิจฉัยก้าวไกลแล้ว เผือกร้อนไปตกที่ กกต. เพราะถ้า กกต.นิ่งเฉยไม่ส่งเรื่องกลับมาฟ้องศาลให้ยุบพรรค ก้าวไกลก็ลอยนวลสบายไป แต่ กกต.ต้องถูกดำเนินคดีแทน ในข้อหา ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
………………………………………………………………………….
เข้าใจชัดเจนกันหรือยัง !
รัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ แค่วินิจฉัยและสั่งห้ามกระทำการนั้นๆ ต่อไป
ขั้นตอนต่อมา ถ้า กกต.ไม่ฟ้องร้องขึ้นไป ศาลก็ไม่มีอำนาจยุบ
แต่ถ้ามีคำวินิจฉัยจากศาลมาแล้ว กกต.ไม่ฟ้องศาล กกต.ต้องกลายเป็นคนผิดที่ละเว้นการหน้าที่
ทำให้ กกต.ต้องทำตามหน้าที่ ด้วยการฟ้องศาลเพื่อให้ศาลสั่งยุบพรรค
แล้วเมื่อมี กกต.มาร้องต่อศาล ศาลก็มีอำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ในการสั่งยุบพรรค
ศาลไม่ได้อยู่เหนือรัฐธรรมนูญหรือใช้อำนาจเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
อธิบายซ้ำขนาดนี้…เข้าใจกันหรือยัง
………………………………………………………………………….
แต่ก็น่าแปลกใจในความย้อนแย้งและบิดเบือนของนักวิชาการหรือนักการเมือง
ขอย้ำอีกครั้งว่ามี 3 ขั้นตอนคือ
1. เบื้องต้นศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจแค่วินิจฉัยและสั่งให้หยุดการกระทำตามาตรา 49
2. เมื่อ กกต.เห็นว่าศาลวินิจฉัยแล้วว่าพรรคก้าวไกลมีกิจกรรมและนโยบายล้มล้างการปกครอง กกต.จึงมีหน้าที่ไปฟ้องศาลให้สั่งยุบพรรค
3. ศาลใช้อำนาจจาก พ.ร.ป.ตามรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค
อำนาจในการสั่งยุบพรรคคือ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ตามมาตรา 92 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560
………………………………………………………………………….