”องค์กรที่มีอำนาจมากแต่ประชาชนไม่ได้เลือก?“
โดย อัษฎางค์ ยมนาค
ปัญหาใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของเมืองไทยคือ
คนไทยจำนวนมากมีปริญญาแต่ไม่มีปัญญา
………………………………………………………………………….
พอล ภัทรพล โพสต์ข้อความว่า…
“นักการเมืองควรเกิดและตายทางการเมือง ด้วยมือของประชาชน ไม่ใช่องค์กรอิสระที่ประชาชนไม่ได้เลือก”
ก่อนหน้านี้พอลก็โพสต์ว่า…
“ที่น่า ยุบที่สุดคือ องค์กรที่มีอำนาจมาก แต่ประชาชนไม่ได้เลือก“
………………………………………………………………………….
”องค์กรที่พอลพูดถึง“ ก็คงไม่พ้น ”ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ“ ที่เพิ่งตัดสินยุบพรรคก้าวไกล
อยากถาม พอล กูรูการเงินคนดังว่า ที่วิจารณ์แบบนั้น รู้หรือไม่ว่า องค์กรที่ว่านั้น ซึ่งหมายถึง ”ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ“ ประชาชนไม่ได้เลือก แล้วใครเลือก
………………………………………………………………………….
ความรู้ต่อไปนี้ คือวิชาเรียนในชั้นมัธยมศึกษา และเรียนซ้ำในรายละเอียดอีกครั้งเมื่อเรียนมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1
ในวิชากฎหมายพื้นฐาน ที่เราต้องเรียนกันมาแล้วทุกคน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 200 กำหนดให้ ”ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ซึ่งทั้ง 9 คนนี้ได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์”
ถ้าพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง พอลหรือคนอื่นๆ ที่คิดหรือเข้าใจหรือมีทัศนคติเหมือนพอล มีปัญหาอะไรหรือเปล่า?
พอลหรือคนอื่นๆ มีปัญหาอะไรกับพระมหากษัตริย์หรือไม่?
หรือพอลหรือคนอื่นๆเป็นปฏิปักษ์ต่อพระมหากษัตริย์หรือเปล่า?
………………………………………………………………………….
ที่นี้มาอธิบายแบบรายละเอียดขั้นสูงขึ้นมาอีกนิด เพราะภาษากฎหมายบางทีมัน complicated
คำว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” คือภาษากฎหมาย ที่คนไม่ได้เรียนจบมหาวิทยาลัย หรือบางคนแม้จะจบมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้เรียนนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์อาจไม่เข้าใจว่า
*คำว่า “ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ“ แต่ความจริงผู้แต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัวจริงไม่ใช่พระมหากษัตริย์
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติก็จริง แต่ไม่ทรงมีอำนาจทางการเมืองหรืออำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน อำนาจแท้จริงที่ทรงมีเรียกว่า ”อำนาจทางพิธีการ“ เท่านั้น
**ผู้ที่มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัวจริงคือ ”วุฒิสภา“
***โดยผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาให้ดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องได้รับความเห็นชอบจาก ”วุฒิสภา“ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
เมื่อได้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนแล้ว จึงทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
พระปรมาภิไธย หมายถึง พระนามของพระมหากษัตราธิราชเจ้า ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ หลังจากที่ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว
ทีนี้เข้าใจคำว่า “อำนาจทางพิธีการ“ ของพระมหากษัตริย์หรือยัง
………………………………………………………………………….
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขไม่ว่าจะเป็นประเทศใดในโลก และไม่ว่าจะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร ก็มีหลักการเดียวกันทั้งโลกนั่นคือ ผู้เลือกคณะรัฐมนตรี คือ รัฐสภา (วุฒิสภาและสภาผู้แทนฯ)
ผู้เลือกศาลหรือตุลาการ คือ รัฐสภา (วุฒิสภาและสภาผู้แทนฯ)
ส่วนผู้ที่เลือกผู้แทนราษฎร(ส.ส.) วุฒิสมาชิก(สว.) ซึ่งเป็นสมาชิกของรัฐสภา คือประชาชน
ดังนั้นอธิบายวิชากฎหมายเบื้องต้น ซึ่งมีสอนในชั้นมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ซ้ำให้พอลได้ทบทวน
………………………………………………………………………….
พอล ได้คำตอบแล้วหรือยังว่า ””องค์กร”ที่อำนาจมาก (ซึ่งพอลหมายถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)แต่ “ประชาชนไม่ได้เลือก ตามที่พอลบ่นออกมา
ความจริงแล้ว ใครเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
คำตอบคือ วุฒิสมาชิก เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
โดยที่ วุฒิสมาชิก (ตามวิธีการสรรหาในปัจจุบัน) ประชาชนเป็นคนเลือกเข้าสภาอีกที
ดังนั้น คำตอบสุดท้ายของสมการนี้คือ ประชาชนก็เป็นผู้เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นั่นเอง
………………………………………………………………………….
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ส่วนใหญ่ในโลก ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยโดยตรง แต่เป็นระบบตัวแทนระบบตัวแทนก็คือ ประชาชน เลือกผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก เข้าไปทำงานการเมืองและบริหารราชการแผ่นดินแทนประชาชน
แล้ว…ผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก ซึ่งทำหน้าที่ในรัฐสภา ก็เป็นผู้เลือกคณะรัฐมนตรีและศาล แทนประชาชน
ดังนั้น คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาและตุลาการในศาล ซึ่งเป็น 3 องค์กรที่มีอำนาจมากที่สุด(เนื่องจากเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทยทุกคน) โดยใช้อำนาจดังกล่าวนั้นแทนประชาชนทุกคน
………………………………………………………………………….
เข้าใจหรือยังว่า….
ประชาชนเลือกผู้แทนฯ
ผู้แทนฯ เลือกรัฐมนตรีและศาล
เลือกได้แล้วจึงทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย
*พระมหากษัตริย์มีอำนาจและหน้าที่ เพียงแค่ลงชื่อหรือเซ็นชื่อรับรองเท่านั้น
**พระมหากษัตริย์ ไม่มีอำนาจเลือกใครมาทำงานการเมืองหรือบริหารราชการแผ่นดินเลย
***ผู้มีอำนาจเลือกใครมาทำงานการเมืองหรือบริหารราชการแผ่นดินคือ ประชาชนอย่างเราๆ ทุกคน
“คำว่าบริหารราชการแผ่นดิน“ ก็รวมถึงการเลือกคนมาทำงานบริหารราชการแผ่นดิน เช่น คณะรัฐมนตรีและศาลด้วยนั่นเอง”
………………………………………………………………………….
สรุป
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นระบบตัวแทน กล่าวคือ ประชาชนเลือกผู้แทนไปใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนในการบริหารราชการแผ่นดินดิน
ขั้นตอนคือ
1. ประชาชนเลือกผู้แทนไปเป็น สส.และ สว. ไปทำงานในรัฐสภา2. สมาชิกรัฐสภา (สส.และ สว.) เป็นผู้ทำหน้าที่แทนประชาชน คัดเลือกนายกรัฐมนตรี รัฐบาลและศาล รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ เช่น กกต.ได้รับการแต่งตั้งจากวุฒิสภา และอย่าลืมว่า วุฒิสภามาจากประชาชนและทำหน้าที่แทนประชาชน
………………………………………………………………………….
ดังนั้น…
สิ่งที่พอล ภัทรพล โพสต์ รวมทั้งประชาชนคนอื่นๆ ที่เข้าใจเหมือนพอลว่า…
“นักการเมืองควรเกิดและตายทางการเมือง ด้วยมือของประชาชน ไม่ใช่องค์กรอิสระที่ประชาชนไม่ได้เลือก”
หรือที่บอกว่า…
“ที่น่า ยุบที่สุดคือ องค์กรที่มีอำนาจมาก แต่ประชาชนไม่ได้เลือก“
จงรู้ไว้ว่า…
”ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ เช่น กกต.ได้รับการแต่งตั้งจากวุฒิสภา และอย่าลืมว่า วุฒิสภามาจากประชาชนและทำหน้าที่แทนประชาชน“
………………………………………………………………………….