ข้อเท็จจริงกรณี ร.8 และ ร.9
“ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน”
(ด้วยภาษาชาวบ้านเพื่อการเข้าถึง)
กรณีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 และข่าวบิดเบือนเพื่อให้ร้ายในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างที่เด็กรุ่นใหม่วัย 5G เข้าใจว่าผู้หลักผู้ใหญ่ไม่เคยรู้ไม่เคยได้ยิน และตนเองตาสว่างเพราะได้รับการเบิกเนตร จากข้อมูลที่บิดเบือนเหล่านั้น ซึ่งถูกใช้มาตลอดเวลากว่า 70 ปี
ย้ำว่าข้อมูลบิดเบือนที่เด็กๆ เพิ่งรู้นั้นไม่ใช่เพิ่งถูกเปิดเผยในยุคนี้ แต่มันถูกนำมาใช้โจมตีให้ร้ายรัชกาลที่ 9 มามากกว่า 70 ปีแล้ว
มีผู้คนมากมายออกมาให้ข้อเท็จจริงทั้งหมดไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งแล้ว แม้แต่ผมเองก็เขียนไม่รู้กี่ครั้งแล้วเช่นกัน แต่สุดท้ายข้อมูลให้ร้ายชุดเดิมๆ ก็กลับมาพร้อมกับผู้คนที่แตกตื่นว่าได้รับการเบิกเนตรเหมือนเดิมทุกครั้ง
…………………………………………………………………….
วันนี้จะเรียบเรียงเพื่อชี้แจงใหม่ซ้ำอีกครั้ง
•1 สมเด็จย่า ไม่มีความต้องการให้พระโอรสเป็นพระมหากษัตริย์ และ ม.จ.อานันทมหิดล ก็ไม่มีพระราชประสงค์จะเป็นพระมหากษัตริย์
ความตอนหนึ่งจากหนังสือ”เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์” พระนิพนธ์ ของสมเด็จพระพี่นางฯ ระบุว่า
“เมื่อหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลคณะราษฎร์ เข้าเฝ้าเพื่อขอให้รับราชสมบัติต่อจากรัชกาลที่ 7 แต่ ม.จ.อานันทมหิดล ปฏิเสธ”
ซึ่งเป็นไปตามลักษณะนิสัยของราชสกุลมหิดล ที่รักสงบและสมถะ ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะยุ่งเกี่ยวกับราชบัลลังก์และการเมือง
•2 ในหลวงรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 เป็นพี่น้องที่สนิทสนมรักใคร่กันยิ่งตั้งแต่เกิดจนโต
ไม่มีเหตุผลที่พี่น้องที่มาจากครอบครัวที่รักสงบและสมถะ รวมทั้งเป็นพี่น้องรักใคร่สนิทสนมกันยิ่ง ที่สำคัญไม่มีความต้องการในอำนาจ จะเข่นฆ่ากันเพื่ออำนาจ
•3 ไม่เคยมีเรื่องในหลวงรัชกาลที่ 8 จะสละราชบัลลังก์เพื่อเป็นประธานาธิบดี เพราะทรงเป็นนักประชาธิปไตย
เด็กๆ สามกีบยุค 5G ผู้มีแต่เรื่องย้อนแย้ง ที่แสดงถึงความโง่เขลาเบาปัญญา
ระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการปกครองแบบสาธารรัฐที่มีประธานาธิบดีและไม่มีพระมหากษัตริย์
ลองดูประเทศอังกฤษ ซึ่งต้นแบบประชาธิปไตยของโลก ก็มีพระมหากษัตริย์
แล้วเอาที่ไหนมาพูดว่า รัชกาลที่ 8 เป็นนักประชาธิปไตยถึงขั้นจะสละราชเพื่อเป็นประธานาธิบดี
พระมหากษัตริย์ที่เป็นนักประชาธิปไตย ไม่จำเป็นต้องลาออกเพื่อเป็นประธานาธิบดี ถึงจะเรียกว่าเป็นนักประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงว่าต้องเป็นประเทศแบบสาธารณรัฐเท่านั้น เพราะแม้แต่ประเทศต้นแบบประชาธิปไตย อย่างเช่นประเทศอังกฤษ ก็มีพระมหากษัตริย์
เรื่องในหลวงรัชกาลที่ 8 จะสละราชบัลลังก์เพื่อเป็นประธานาธิบดี นี่มีแต่คนโง่เขลาเบาปัญญาเท่านั้นที่จะถูกคนฉลาดแต่ขี้โกงหลอกเอาได้
•4 คนที่ปล่อยข่าวด้วยคำว่า เคยรักในหลวงรัชกาลที่ 9 และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่พอเบิกเนตรแล้วตาสว่างได้รู้ความจริง ก็หมดรักนั้น คือความตอแหลของคนที่ไม่เคยรักและหวังดี
แต่เป็นการกล่าวอ้างเพื่อโน้มน้าวให้คนที่เคยรักในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเทิดทูนสถาบันฯ เปลี่ยนใจไปกับข้อมูลที่บิดเบือนให้ร้ายที่มันจะเล่าในบรรทัดต่อๆ ไป ด้วยความต้องการจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น
19 สิงหาคม 2489 วันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ และมีความในพระราชหฤหัยที่จะสละราชสมบัติ
แต่แล้วมีประชาชนมาเฝ้าส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก พร้อมเสียงร้องอันเป็นที่มาของจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์อันสำคัญจากประชาชนตัวเล็กๆ
“ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน”
ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนจากคนไทยว่ามีความเคารพรัก เทอดทูนและมีความไว้เนื้อเชื้อใจต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่าสถาบันการเมืองและรัฐบาล
เป็นตัวบ่งชี้ทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนยิ่งว่า ประชาชนที่อยู่ร่วมสมัยในเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 รู้อยู่เต็มอกทุกคนว่า ในหลวงรัชกาลที่ 8 ถูกฆาตกรรมเพราะ”การเมือง”
ไม่ใช่เรื่องน้องฆ่าพี่อย่างที่บิดเบือนให้ร้าย 2 พี่น้องที่เป็นพระมหากษัตริย์จากครอบครัวที่รักสงบและสมถะ ที่สนิทสนม รักใคร่กลมเกลียวกันอย่างยิ่ง
“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ฉันเคยคิดว่า ฉันจะไม่ห่างจากพี่ตลอดชีวิต แต่มันเป็นเคราะห์กรรม ไม่คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น“
พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ ๙ จากบันทึกของพระพินิจชนคดี เรื่อง”เมื่อข้าพเจ้าบินไปสืบกรณีสวรรคตที่สวิตเซอร์แลนด์” ภายหลังจากที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคตอย่างไม่มีใครคาดคิดเมื่อช่วงเช้าของวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ราชสกุลมหิดลตกอยู่ในความเศร้าโศกอย่างหาที่สุดมิได้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ต้องเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในทันทีอย่างไม่มีใครคาดคิดเช่นกัน
เป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความรักและความผูกพันที่มีต่อกันระหว่างน้องชายกับพี่ชาย ที่สนิทสนม รักใคร่กันยิ่งตั้งแต่เกิดจนโต
ความโศกเศร้าและความหวาดกลัวต่อสถานการณ์ทางการเมือง ที่แก่งแย่งชิงดีถึงขนาดเกิดคดีฆาตกรรมพระมหากษัตริย์ ที่ทำให้พระองค์ต้องสูญเสียพี่ชายอันเป็นที่รักยิ่ง ทำให้ทรงไม่คิดจะครองราชบัลลังก์ แต่ด้วยภาวะจำยอมทำให้ทรงคิดในพระราชหฤทัยตลอดเวลาว่าอยู่เพียงในตำแหน่งเพื่อรักษาการในระยะสั้นๆ ในช่วงพระราชพิธีบรมศพเท่านั้น
แต่สิ่งที่ทำให้พระองค์เปลี่ยนพระทัย คือเสียงและความรู้สึกของประชาชน ผู้ที่ต้องการที่พึ่งพิง
“ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน”
เสียงจากตัวแทนประชาชน ที่มาเฝ้ารอส่งเสด็จจำนวนมากมายมหาศาล บ่งบอกอะไรกับเรา?
ลองอ่านประวัติศาสตร์ต่อไปนี้ ที่จะทำให้เราเห็นถึงความรัก ความศรัทธา ความเทิดทูน ความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมากกว่าความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนต่อรัฐบาลและฝ่ายการเมือง
…………………………………………………………………….
“ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน”
เป็นข้อความในพระราชนิพนธ์ “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชนิพนธ์ในรูปแบบบันทึกประจำวันตั้งแต่เสด็จจากประเทศไทย เพื่อไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ก่อนเสด็จออกเดินทาง ๓ วัน จนถึงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙
ทรงพรรณนาความรู้สึกของพระองค์ยามจากเมืองไทย
วันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙…
“วันนี้ถึงวันที่เราจะต้องจากไปแล้ว พอถึงเวลาก็ลงจากพระที่นั่งพร้อมกับแม่ แล้วก็ไปขึ้นรถยนต์ ตลอดทางที่รถพระที่นั่งแล่นผ่านฝูงชนที่มาส่งเสด็จอย่างล้นหลาม ได้ทอดพระเนตรเห็นประชาชนที่แสดงความจงรักภักดี
บางแห่งใกล้จนทอดพระเนตรเห็นดวงหน้าและแววตาชัด ที่บ่งบอกถึงความเสียขวัญอย่างใหญ่หลวง ทั้งเต็มไปด้วยความรักและห่วงใย
อันเป็นภาพที่ทำให้อยากรับสั่งกับเขาทุกคน ถึงความหวังดีที่ทรงเข้าพระทัย และขอบใจเขาเช่นกัน
ขวัญของคนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าขาดกำลังใจ ถ้าขวัญเสีย มีแต่ความหวาดระแวง ประเทศจะมีแต่ความอ่อนแอและแตกสลาย
ตามถนนผู้คนช่างมากมายเสียจริงๆ ที่ถนนราชดำเนินกลาง ราษฎรเข้ามาใกล้จนชิดรถที่เรานั่ง กลัวเหลือเกินว่า ล้อรถของเราจะไปทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง
รถแล่นฝ่าฝูงคนไปได้อย่างช้าที่สุด
ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง ตามทางที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงโห่ร้องถวายพระพรได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ เข้าพระกรรณ์ ว่า….
“ในหลวง อย่าละทิ้งประชาชน”
อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า
“ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้”
เสียงนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พระองค์ท่านทรงนึกถึงประชาชนอยู่ตลอดเวลา
เป็นที่น่าประหลาดว่า ต่อมาอีกประมาณ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพบชายที่ร้องตะโกนทูลพระองค์ไม่ให้ทิ้งประชาชนนั้นเป็น “พลทหาร” และในปัจจุบันเขาออกไปทำนาอยู่ในต่างจังหวัด
เขากราบบังคมทูลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ไม่ทรงทิ้งราษฏร เขาทูลว่าตอนที่เขาร้องไปนั้น…เขารู้สึกว้าเหว่และใจหาย ที่เห็นพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปจากเมืองไทย กลัวจะไม่เสด็จกลับมาอีก….
เขาดีใจมากที่ได้เฝ้าฯ อีก กราบบังคมทูลถามว่า…
“ท่านคงจำผมไม่ได้ ผมเป็นคนร้องไม่ให้ท่านทิ้งประชาชน”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า “เราน่ะหรือที่ร้อง”
“ใช่ครับ ตอนนั้นเห็นหน้าท่านเศร้ามาก กลัวจะไม่กลับมา จึงร้องไปเหมือนคนบ้า”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบ “นั่นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา”
ตลอดรัชกาลถึง 70 ปี ที่ทรงงานหนักเพื่อชาติและประชาชน ผลงานของพระองค์ขจรขจายไปทั้งทั้งโลก
ทรงมีพระราชดำรัสกับผู้ใกล้ชิดเสมอว่า การจะทำอะไรให้กับประชาชน ต้องจำหลักไว้เสมอว่า “ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ” หมายถึงต้องเข้าใจในปัญหาอย่างแท้จริง เข้าถึงประชาชนที่จะได้รับการช่วยเหลือ และได้รับความเห็นชอบยินยอมพร้อมใจที่จะร่วมกันทำ จากนั้นจึงเริ่มพัฒนา งานทุกอย่างจึงสัมฤทธิผล
จะหาแผ่นดินใดในโลก ที่พระราชาผู้เป็นพระประมุขของชาติ ทรงงานหนักยิ่งกว่าข้าแผ่นดิน
จะหาแผ่นดินใดในโลก ที่พระราชากับราษฎรสามารถอยู่ใกล้ชิดกันได้ เล่าสุขเล่าทุกข์ยากถวายได้ อย่างไม่มีอะไรมากั้นกีดขวางเช่นนี้
…………………………………………………………………….
อัษฎางค์ ยมนาค