โดย อัษฎางค์ ยมนาค
FRUS Historical Documents:
ตุลาคม เดือนที่มหาอำนาจมีอำนาจเหนือตุลา
สถานการณ์การเมืองและนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็นในช่วงปี 1969-1972 มีส่วนสร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 !
“Foreign Relations of the United States, 1969-1976, Volume I: Foundations of Foreign Policy, 1969-1972” เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (U.S. Department of State) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดหนังสือที่เรียกว่า “Foreign Relations of the United States” (FRUS) series presents the official documentary historical record of major U.S. foreign policy decisions and significant diplomatic activity. ที่บันทึกและเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์
ฉบับปี (1969-1972) ครอบคลุมนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐในยุคประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐกำลังมีบทบาทสำคัญในหลายเหตุการณ์ เช่น สงครามเวียดนาม การเริ่มต้นสานสัมพันธ์กับจีน และการเจรจาลดอาวุธนิวเคลียร์กับสหภาพโซเวียต (SALT I)
เนื้อหาในเล่มนี้มีความสำคัญในการศึกษาพื้นฐานของนโยบายต่างประเทศสหรัฐในช่วงเปลี่ยนแปลงของสงครามเย็น (Cold War) ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ของโลก
อาจกล่าวได้ว่าสหรัฐอเมริกามีบทบาททางอ้อมที่มีส่วนในการเงื่อนไขให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
แม้ว่าสหรัฐจะไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์นี้ก็ตาม นโยบายและการสนับสนุนของสหรัฐในช่วงสงครามเย็นได้มีส่วนสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย และสร้างสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่เหตุการณ์เดือนตุลา
การสนับสนุนรัฐบาลทหารไทย:
ตลอดช่วงสงครามเย็น สหรัฐให้การสนับสนุนรัฐบาลทหารไทยเป็นพันธมิตรหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ การสนับสนุนนี้ทำให้รัฐบาลทหารไทยสามารถกดดันและควบคุมกลุ่มที่มีแนวคิดซ้ายหรือกลุ่มนักศึกษาได้ และเสริมสร้างอำนาจของรัฐบาลฝ่ายขวา ซึ่งต่อมาก็ใช้เป็นข้ออ้างในการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วงในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม
นโยบายสงครามเย็นและการต่อต้านคอมมิวนิสต์:
สหรัฐมีนโยบายชัดเจนในการป้องกันการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้สหรัฐให้การสนับสนุนรัฐบาลไทยที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างแข็งขัน การสนับสนุนนี้ทำให้กลุ่มที่ถูกมองว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือแนวคิดซ้ายถูกกดดันอย่างมาก ในขณะที่กลุ่มฝ่ายขวาที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลได้รับการสนับสนุน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งภายใน
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังสงครามเวียดนาม:
ภายหลังการถอนกำลังของสหรัฐออกจากเวียดนามในปี 1973 และการลดบทบาทของสหรัฐในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการปิดฐานทัพสหรัฐในไทยในปี 1975 ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลไทย ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ถูกบันทึกไว้ในเอกสาร Foreign Relations of the United States (FRUS) โดยเฉพาะในเอกสารที่ครอบคลุมช่วงปี 1973-1976 ซึ่งมีการกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ในบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐภายใต้สงครามเย็นและการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในเอกสาร FRUS ได้บันทึกว่า สหรัฐได้ติดตามเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในแง่ของการเมืองภายในที่เกี่ยวข้องกับความพยายามในการยับยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ สหรัฐมีความกังวลว่าความไม่มั่นคงทางการเมืองในไทยอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ในภูมิภาค โดยเฉพาะหลังจากการถอนกำลังทหารจากเวียดนามและการปิดฐานทัพในไทยในปี 1975
เอกสารยังระบุถึงการปฏิบัติของรัฐบาลไทยที่มีลักษณะต่อต้านการประท้วงของนักศึกษาและประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาอำนาจของรัฐบาลฝ่ายขวาที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐในช่วงนั้น
การเงียบของสหรัฐต่อเหตุการณ์ 6 ตุลาคม:
อย่างไรก็ตาม สหรัฐเลือกที่จะไม่แทรกแซงโดยตรงในเหตุการณ์นี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในระดับนานาชาติและการสูญเสียความสัมพันธ์ทางการเมืองกับรัฐบาลไทยในช่วงนั้น แม้ว่าสหรัฐจะติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม สหรัฐเลือกที่จะไม่แทรกแซงหรือแสดงท่าทีชัดเจนต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น เนื่องจากสหรัฐยังคงต้องการรักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทยและป้องกันไม่ให้ไทยเข้าสู่การเมืองฝ่ายซ้าย
ดังนั้น แม้ว่าสหรัฐจะไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุโดยตรง แต่การสนับสนุนทางทหารและนโยบายการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของสหรัฐในช่วงสงครามเย็นมีส่วนสำคัญที่สร้างเงื่อนไขให้เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เกิดขึ้น
บทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงและตีความในหลายมิติ โดยเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายทั้งทางการเมือง ทหาร และฝ่ายอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่สามารถชี้ให้เห็นถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายแง่มุม ดังนี้:
บทบาททางสัญลักษณ์:
พระมหากษัตริย์ในช่วงนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ซึ่งทรงเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน และทรงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีของชาติ และทรงดำรงพระองค์อยู่เหนือการเมือง โดยแสดงความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งถูกบัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มนักศึกษา ฝ่ายขวา และรัฐบาลทหารเพิ่มสูงขึ้น ความเป็นกลางทางการเมืองของในหลวงรัชกาลที่ 9 กลับสร้างปัญหาให้กับพระองค์ เนื่องจากแต่ละฝ่ายพยายามดึงพระองค์ลงมาสู่การเมือง ด้วยการแอบอ้างพระมหากษัตริย์ ทั้งฝ่ายรัฐบาลทหาร และฝ่ายประชาชนและนักศึกษาที่เป็นฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์
ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นั้น เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงและมุมมองที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์โดยทั้งฝ่ายรัฐบาลทหารและกลุ่มนักศึกษา รวมถึงการใช้ความจงรักภักดีต่อสถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง
ความเป็นกลางของพระมหากษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชกรณียกิจในการรักษาความสงบและความมั่นคงของประเทศ โดยทรงพยายามหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมในความขัดแย้งทางการเมือง อย่างไรก็ตาม การที่สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกแอบอ้างจากทั้งสองฝ่ายทำให้เกิดการตีความว่าพระองค์ทรงมีบทบาททางการเมืองโดยทางอ้อม ซึ่งในบางครั้งทำให้ประชาชนหรือฝ่ายต่าง ๆ มองว่าพระองค์ทรงอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง การแอบอ้างนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มความซับซ้อนของความขัดแย้ง
การแอบอ้างจากฝ่ายรัฐบาลทหาร
ฝ่ายรัฐบาลทหารในช่วงนั้นมักใช้ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการควบคุมกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มที่ถูกมองว่ามีแนวคิดซ้ายหรือคอมมิวนิสต์ สถานการณ์นี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประชาชนบางกลุ่มที่มองว่าสถาบันพระมหากษัตริย์สนับสนุนรัฐบาลทหาร
การแอบอ้างของฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์
ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรม ฝ่ายซ้ายหรือกลุ่มนักศึกษาบางส่วนก็ใช้เรื่องนี้ในการบิดเบือนหรือสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันเพื่อสร้างแรงสนับสนุนทางการเมืองจากประชาชน สิ่งนี้ทำให้สถานการณ์ยิ่งซับซ้อนและทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเผชิญกับความเข้าใจผิดจากหลายฝ่าย
สหรัฐอเมริกาผู้รักษาผลประโยชน์ที่แอบอยู่ในมุมมืด
สหรัฐสนับสนุนรัฐบาลทหารไทยในช่วงสงครามเย็น เนื่องจากต้องการรักษาผลประโยชน์ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การที่สหรัฐอเมริกาวางเฉยต่อการที่รัฐบาลทหารของไทยที่ใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม ย่อมหมายถึง การสนับสนุนรัฐบาลทหารไทยของสหรัฐอเมริกาอย่างเงียบๆ
ในขณะเดียวกัน สหรัฐก็ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในไทยอย่างใกล้ชิด โดยพยายามหลีกเลี่ยงการแทรกแซงเรื่องภายในของไทยโดยตรง
การแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์จากทั้งสองฝ่ายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เหตุการณ์ 6 ตุลาคมมีความซับซ้อนมากขึ้น และนำไปสู่ความขัดแย้งในเชิงสัญลักษณ์ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่า การวางตัวเป็นการทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ไทยกลับถูกมองโดยฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์ว่า รัฐบาลทหารการใช้ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เป็นแรงจูงใจในการกดดันกลุ่มที่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์
และฝ่ายซ้ายหรือคอมมิวนิสต์ใช้เรื่องดังกล่าวนี้เอาเรื่องนี้ไปต่อยอดเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้นักศึกษาและประชาชนเข้าใจสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างผิดๆ ด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริง
ทั้งที่ผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลทหารที่แท้จริงคือ สหรัญอเมริกา!
ประเด็นที่รัฐบาลใช้ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เป็นแรงจูงใจในการกดดันกลุ่มที่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้ายนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำในสมัยปัจจุบันในแผ่นดินของในหลวงรัชกาลที่ 10 โดยฝ่ายซ้ายก็ปลุกระดมกันว่า รัฐบาลใช้ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เป็นแรงจูงใจในการกดดันกลุ่มของตน ซึ่งชี้ให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์อยู่เบื้องหลังรัฐบาลทหารหรือ รัฐบาล คสช.ทั้งที่พระมหากษัตริย์ทรงวางพระองค์อยู่เหนือการเมืองและวางพระองค์เป็นกลางทางการเมือง
เมื่อมองย้อนประวัติศาสตร์กลับไปจะพบว่า สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในสถานะที่เรียกว่า กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง ทั้งที่อยู่เหนือการเมืองแล้ว เป็นกลางทางการเมืองแล้ว แต่ยังไม่วายถูกแอบอ้างและถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการของทั้งสองฝ่าย
เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงพระองค์ตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด กล่าวคือ ทรงดำรงพระองค์อยู่เหนือการเมืองและเป็นการทางการเมือง แต่ยังไม่วายจะถูกฝ่ายต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง
ในภาพรวม การมีบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ส่วนใหญ่เป็นในเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง ซึ่งถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายอนุรักษ์นิยมและกลุ่มที่ต่อต้านฝ่ายซ้าย โดยไม่เคยพบหลักฐานใดๆ เลยว่า พระองค์มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันนั้น
ที่สำคัญเหตุการณ์เดือนตุลายังถูกการเมืองฝ่ายซ้ายในปัจจุบันซึ่งมีรัฐบาลสหรัญอเมริกาแอบสนับสนุน ได้นำเหตุการณ์เก่านั้นกลับมาหากิน โดยพยายามโยงว่า พระมหากษัตริย์อยู่เบื้องหลังรัฐบาลทหาร
ทั้งที่ผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารตัวจริงในยุคนั้นคือ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่ปัจจุบันแอบสนับสนุนฝ่ายซ้ายไปแล้ว
เห็นภาพนั้นกันหรือยัง เข้าใจกันหรือยัง
ไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในภูมิภาคไหนก็ตาม สหรัฐอเมริกา จะรักษาผลประโยชน์ทางการเมืองของตนด้วยการสนับสนุนรัฐบาล สนับสนุนฝ่ายขวาหรือฝ่ายซ้ายก็ได้ ขอแค่เพียงฝ่ายไหนสามารถรักษาผลประโยชน์ทางการของตนในภูมิภาคไว้ได้เท่านั้น
เห็นภาพนั้นกันหรือยัง เข้าใจกันหรือยัง
ไม่ว่าจะเป็นตุลาคมในสมัยรัชกาลที่ 9 หรือ ตุลาคมในสมัยรัชกาลที่ 10 สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง ด้วยการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายต่างๆ โดยผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ที่แอบสนับสนุนอยู่เบื้องหลังเป็นคนเดียวกัน นั้นคือ รัฐบาลอเมริกัน
#อัษฎางค์ดอทคอม #HistoricalPathways
#ThaiGeopoliticalShift #thenewgeopoliticalarena