โดย อัษฎางค์ ยมนาค
”ขบวนการล้มเจ้าในออสเตรเลีย“
สื่ออังกฤษพาดหัวข่าวว่า
พระเจ้าชาร์ลส์เสด็จเยือนออสเตรเลียเพื่อพบกับการประท้วงต่อต้านระบอบกษัตริย์
King Charles visit to Australia to be met by anti-monarchy protests
ในขณะที่ “ออสเตรเลียเตรียมจัดการลงประชามติเกี่ยวกับการยุติความสัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์อังกฤษ”
“Australia is set to hold a referendum on breaking ties with the British monarchy.”
อย่างไรก็ดี ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ที่มีประชากรนับถือศาสนาและพูดภาษาที่หลากหลายแตกต่างกัน จากหลากหลายเชื้อชาติจากทั่วโลกอยู่อาศัยปะปนกัน แต่ชาวออสเตรเลียกับมีความเป็น “อนุรักษ์นิยม” ที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของอังกฤษที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกซีกโลก
หนึ่งในเหตุผลหลักที่ชาวออสเตรเลียเลือกที่จะยังคงระบบกษัตริย์เอาไว้คือ ”ความไม่ไว้วางใจในนักการเมือง“
รวมถึงความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าชาวออสเตรเลียเชื่อว่า
“ระบบกษัตริย์ช่วยให้การปกครองมีเสถียรภาพตลอดหลายทศวรรษ” และมีคำกล่าวว่า “ถ้ามันไม่เสียหาย ทำไมต้องแก้ไข”
ผู้ประท้วงต่อต้านระบอบกษัตริย์จะพบกับพระเจ้าชาร์ลส์ในการเยือนออสเตรเลียครั้งแรกในฐานะประมุขแห่งรัฐของพระองค์
พระเจ้าชาร์ลส์และพระราชินีคามิลล่าเริ่มการเยือนออสเตรเลีย 5 วันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเดินทางไกลในต่างประเทศครั้งแรกของพระองค์นับตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง
แอนโทนี่ อัลบาเนส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียมีเป้าหมายที่ยาวนานในการลงประชามติเกี่ยวกับการยกเลิกความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษและออสเตรเลียจะกลายเป็นสาธารณรัฐ
โดยในการหาเสียงเลือกตั้งในปี 2022 ที่เขาชนะการเลือกตั้ง เขาไม่ได้พูดถึงนโยบายการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่นโยบายหลักที่เขาเน้นในการหาเสียงส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การสร้างงาน และการดูแลสุขภาพ ซึ่งถูกใจประชาชนจนทำให้เขาชนะการเลือกตั้ง
ต่อมาเมื่อแอนโทนี่ อัลบาเนส เป็นนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย แล้วถึงได้เผยว่าเขามีเป้าหมายในการลงประชามติให้ลงประชามติเพื่อยุติความสัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์อังกฤษ และเปลี่ยนออสเตรเลียให้เป็นสาธารณรัฐ
อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวถูกระงับหลังจากชาวออสเตรเลียปฏิเสธแผนการที่จะให้สิทธิทางการเมืองแก่ชนพื้นเมืองอย่างท่วมท้นในการลงประชามติที่จัดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว
ในปี 2023 รัฐบาลของแอนโทนี่ อัลบาเนส ได้จัดให้มีการลงประชามติการให้สิทธิทางการเมืองที่มากขึ้นแก่ชาวอะบอริจิน ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย แต่ชาวออสเตรเลียปฏิเสธข้อเสนอนั้น ทำให้ประชามตินั้นล้มไป
ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า หากมีการจัดประชามติเรื่องการเปลี่ยนแปลงเป็นสาธารณรัฐในอนาคต นโยบายนี้ของนายกรัฐมนตรีแอนโทนี่ อัลบาเนส อาจต้องเผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน และมีแนวโน้มสูงว่าจะแพ้การลงประชามติ
เนื่องจากประชาชนยังคงมีความระมัดระวังในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ และจากผลประชามติครั้งก่อนที่ถูกปฏิเสธอย่างท่วมท้น
ในปี 1999 ออสเตรเลียได้จัดการลงประชามติเพื่อถามประชาชนว่าควรเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐหรือไม่ โดยแทนที่พระมหากษัตริย์อังกฤษด้วยประธานาธิบดีที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม ผลการลงประชามติแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ 54.87% โหวต “ไม่” ซึ่งทำให้สถาบันกษัตริย์ยังคงเป็นประมุขของรัฐต่อไป
เหตุผลหลักที่คนออสเตรเลียยังคงสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ในช่วงเวลานั้น ได้แก่:
1. ความมั่นคงและเสถียรภาพ
ผู้สนับสนุนสถาบันกษัตริย์เชื่อว่าระบบปัจจุบันที่มีพระมหากษัตริย์อังกฤษเป็นประมุขมีความมั่นคงและเสถียรภาพ การเปลี่ยนแปลงเป็นสาธารณรัฐอาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง
2. ไม่พึงพอใจต่อโมเดลของสาธารณรัฐที่เสนอ
ประชาชนบางส่วนไม่พอใจกับโมเดลที่เสนอให้ประธานาธิบดีได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐสภา แทนที่จะเป็นการเลือกตั้งโดยตรง ทำให้บางคนที่สนับสนุนสาธารณรัฐเลือกโหวต “ไม่” เพื่อคัดค้านโมเดลนี้
3. ความเคารพในประเพณีและประวัติศาสตร์
ชาวออสเตรเลียบางส่วนยังคงรู้สึกว่าการมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ของประเทศ
การลงประชามติในครั้งนั้นทำให้เห็นว่าประเด็นนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมออสเตรเลีย
และแล้วในปีนี้ 2024 การลงประชามติของออสเตรเลียเพื่อยุติความสัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์อังกฤษถูกพูดถึงอีกครั้ง เนื่องจากนายกรัฐมนตรีแอนโทนี่ อัลบาเนส มีแนวคิดสนับสนุนให้ออสเตรเลียเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ
โดยมีประธานาธิบดีที่เป็นชาวออสเตรเลียแทนที่จะมีพระมหากษัตริย์อังกฤษเป็นประมุข ซึ่งเป็นนโยบายที่เขาเคยเสนอไว้ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม แผนการนี้ถูกเลื่อนออกไปหลังจากรัฐบาลแพ้การลงประชามติเกี่ยวกับสิทธิของชาวอะบอริจินในปี 2023
สาเหตุที่มีการกลับมาพูดถึงการลงประชามติอีกครั้งในปีนี้ส่วนหนึ่งมาจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งทำให้การสนทนาเกี่ยวกับความเหมาะสมของการมีสถาบันกษัตริย์ในออสเตรเลียกลับมาอยู่ในกระแส
นอกจากนี้ การเสด็จเยือนของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และพระราชินีคามิลลาในเดือนตุลาคม 2024 ทำให้การอภิปรายเรื่องสาธารณรัฐในออสเตรเลียกลับมาเป็นประเด็นสำคัญอีกครั้ง ขบวนการที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเช่น Australian Republican Movement (ARM) ก็ได้ใช้โอกาสนี้เพื่อกระตุ้นให้มีการพิจารณาอนาคตของสถาบันกษัตริย์ในประเทศนี้ต่อไป
ระหว่างการเยือนเสด็จเยือนออสเตรเลียของพระเจ้าชาร์ลส์ พระองค์จะพบกับ Professor Georgina Long และ Professor Richard Scolyer ซึ่งได้รับการเสนอชื่อให้เป็นชาวออสเตรเลียแห่งปี 2024 เพื่อเป็นเกียรติแก่งานสําคัญของพวกเขาเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนัง ซึ่งเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดของออสเตรเลีย
การเสด็จเยือนของพระเจ้าชาร์ลส์ จะมีการประท้วงโดย Graham Smith ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์กร Republic จากสหราชอาณาจักร เขาจะนำการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ขนาดเล็กในกรุงแคนเบอร์ราและซิดนีย์ในสัปดาห์หน้า
Graham Smith กล่าวว่า “ผมมาออสเตรเลียเพื่อพูดถึงเหตุผลว่าทำไมสหราชอาณาจักรควรเลิกสถาบันกษัตริย์ และเพื่อท้าทายการประชาสัมพันธ์ของราชวงศ์ ผมไม่ได้มาที่นี่เพื่อบอกให้ออสเตรเลียเป็นสาธารณรัฐ แต่เพื่อพูดคุยกับชาวออสเตรเลียและสื่อมวลชนอังกฤษเกี่ยวกับการเติบโตของขบวนการสนับสนุนสาธารณรัฐในสหราชอาณาจักร และความล้มเหลวครั้งใหญ่ของสถาบันกษัตริย์อังกฤษ”
สังเกตมั้ยว่า คนที่เป็นผู้นำหรือคนที่ยั่วยุให้เกิดการต่อต้านระบบกษัตริย์เป็นคนจากประเทศอังกฤษ ไม่ใช่คนออสเตรเลีย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2024 ระหว่างที่ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 เสด็จเยือนรัฐสภาออสเตรเลียในกรุงแคนเบอร์รา วุฒิสมาชิก ลิเดีย ธอร์ป (Lidia Thorpe) ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองชาวอะบอริจินและเป็นวุฒิสมาชิกอิสระ ได้ประท้วงอย่างเปิดเผยต่อต้านสถาบันกษัตริย์ โดยตะโกนว่า “คุณไม่ใช่กษัตริย์ของเรา” และเรียกร้องให้พระองค์ขอโทษต่อความอยุติธรรมทางประวัติศาสตร์ที่เกิดจากการล่าอาณานิคมของอังกฤษ รวมถึงการยึดครองที่ดินของชาวอะบอริจิน
การประท้วงของธอร์ปสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของชาวอะบอริจิน ที่ต้องการการยอมรับอธิปไตยของพวกเขา และการเรียกร้องให้มีกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลออสเตรเลียกับชาวพื้นเมือง
ธอร์ปเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนของชาวอะบอริจินที่มีบทบาทมาอย่างยาวนาน และมักแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการล่าอาณานิคมและความจำเป็นในการจัดทำสนธิสัญญา
จากข้อมูลล่าสุดในปี 2024 มีแนวโน้มว่าชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนให้ประเทศรักษาระบบกษัตริย์ไว้มากกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นสาธารณรัฐ การสำรวจจาก Roy Morgan Research แสดงให้เห็นว่า 60% ของชาวออสเตรเลียสนับสนุนการรักษาสถาบันกษัตริย์ ในขณะที่ 40% ต้องการให้ประเทศกลายเป็นสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง
เหตุผลหลักที่ชาวออสเตรเลียจำนวนมากยังคงสนับสนุนระบบกษัตริย์ได้แก่
1. ความมั่นคงและเสถียรภาพ
ชาวออสเตรเลียเชื่อว่าระบบกษัตริย์ช่วยให้การปกครองมีเสถียรภาพตลอดหลายทศวรรษ และมีคำกล่าวว่า “ถ้ามันไม่เสียหาย ทำไมต้องแก้ไข”
2. ความไม่ไว้วางใจนักการเมือง
ผู้สนับสนุนหลายคนไม่มั่นใจในนักการเมืองที่จะแนะนำระบบสาธารณรัฐ และไม่ต้องการให้ประเทศจบลงเหมือนบางประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูง
3. ประเพณีและประวัติศาสตร์
สถาบันกษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์และประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย การเปลี่ยนแปลงเป็นสาธารณรัฐถูกมองว่าเป็นการยุติความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม
ระบบการปกครองของออสเตรเลีย เป็นแบบที่มีกษัตริย์อังกฤษเป็นประมุขเป็นระบบที่เรียกว่า ราชอาณาจักรภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)
ซึ่งออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพอังกฤษ (Commonwealth Realm) โดยมี พระมหากษัตริย์อังกฤษ เป็นประมุขของรัฐ แต่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มี รัฐสภา เป็นศูนย์กลาง และ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ
องค์ประกอบสำคัญของระบบนี้คือ:
1. พระมหากษัตริย์: สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของรัฐ แต่พระองค์ไม่ได้มีบทบาทในการบริหารประเทศโดยตรง การใช้อำนาจของพระองค์ต้องดำเนินการผ่าน ผู้สำเร็จราชการ (Governor-General) ซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลีย
2. รัฐสภาและนายกรัฐมนตรี: ออสเตรเลียมีการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย โดยมีรัฐสภาสองสภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสภา นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลได้รับการแต่งตั้งจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
3. บทบาทของผู้สำเร็จราชการ: ผู้สำเร็จราชการเป็นผู้ลงนามในกฎหมายและตัดสินใจในเรื่องสำคัญตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์มีบทบาทในลักษณะพิธีการเท่านั้น
ระบบนี้เป็นการผสมผสานระหว่าง การมีสถาบันกษัตริย์ ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงและประวัติศาสตร์ กับ การปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้งรัฐบาล
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของออสเตรเลียในอดีตเคยเป็นทั้งชาวอังกฤษและชาวออสเตรเลีย แต่ในยุคหลังๆ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลีย ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นอิสระและเอกลักษณ์ของประเทศที่มากขึ้น
ส่วนผู้สำเร็จราชการคนก่อนหน้านี้ (ก่อนเดือนกรกฎาคม 2024) คือ นายพลเดวิด เฮอร์ลีย์ (David Hurley) ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2019 และเป็นชาวออสเตรเลียที่มีประวัติทางการทหารที่โดดเด่น เขาเคยเป็นผู้บัญชาการกองทัพและเคยร่วมชั้นเรียนที่ Royal Military College, Duntroon ในออสเตรเลีย ร่วมกับ ในหลวงรัชกาลที่ 10 ของไทย
ปัจจุบัน ผู้สำเร็จราชการของออสเตรเลียคือ Samantha Mostyn ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการคนที่ 28 ของออสเตรเลีย และเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2024 โดยเธอเข้ามาแทนที่ นายพลเดวิด เฮอร์ลีย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2019
ส่วน นิวซีแลนด์ ประเทศบ้านพี่เมืน้องของออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศในเครือจักรภพเช่นกัน ก็มีการอภิปรายเกี่ยวกับการยกเลิกสถาบันกษัตริย์เช่นกัน แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวที่แข็งขัน เท่ากับบางประเทศในเครือจักรภพ เช่น ออสเตรเลียหรือแคนาดา
ทั้งนี้นิวซีแลนด์ยังคงรักษาระบบกษัตริย์อังกฤษไว้อย่างเหนียวแน่นภายใต้ระบบประชาธิปไตยของประเทศ
มีแนวโน้มว่านโยบายประกาศตัวเป็นสาธารณรัฐของเขา อาจแพ้การลงประชามติ เนื่องจากประชาชนยังคงมีความระมัดระวังในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ และจากผลประชามติครั้งก่อนที่ถูกปฏิเสธอย่างท่วมท้น
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเป็นสาธารณรัฐต้องการแรงสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากประชาชน และความไม่ไว้วางใจในนักการเมืองอาจเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระดับนี้
สรุป
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ ที่มีประชากรนับถือศาสนาและพูดภาษาที่หลากหลายแตกต่างกัน จากหลากหลายเชื้อชาติจากทั่วโลกอยู่อาศัยปะปนกัน แต่ชาวออสเตรเลียกับมีความเป็น “อนุรักษ์นิยม” ที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของอังกฤษที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกซีกโลก
สาเหตุหนึ่งของความเป็นอนุรักษ์นิยมของชาวออสเตรเลียที่จงรักภักดีต่อระบบกษัตริย์คือ
”ความไม่ไว้วางใจในนักการเมือง“
The ongoing republican movement in Australia has been a significant topic of discussion, particularly in light of Prime Minister Anthony Albanese’s long-standing ambition to hold a referendum on severing ties with the British monarchy.
Although Albanese’s administration has focused on economic and healthcare reforms, the republican agenda remains a key element of his vision for Australia’s future.
In October 2024, anti-monarchy protests are expected to coincide with King Charles III’s visit to Australia. The protests, led by figures like Graham Smith, CEO of the UK-based organisation Republic, aim to challenge the relevance of the monarchy in contemporary society. Smith’s demonstrations are planned to take place in Canberra and Sydney, and while he acknowledges that he is not trying to tell Australia to become a republic, his goal is to bring attention to the growing republican sentiment both in the UK and Australia .
Historically, Australia has held a referendum on becoming a republic in 1999, where 54.87% of voters rejected the move to replace the monarchy with a locally appointed president.
One of the main reasons Australians chose to retain the monarchy at the time included a lack of trust in politicians, as well as a strong belief in the stability and continuity provided by the monarchy.
Despite this historical result, the idea of holding another referendum is gaining attention, particularly following Queen Elizabeth II’s passing. However, Prime Minister Albanese’s plans to pursue the referendum were paused after a 2023 referendum on Indigenous political rights was overwhelmingly rejected, raising concerns that a republican referendum may face similar opposition .
The republican debate in Australia continues to reflect the nation’s complex relationship with its colonial history and evolving national identity, with significant attention from both domestic and international observers.